|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อโลกกำลังจะถูกเผาด้วยแผนการใช้เงินลงทุนพัฒนาเมืองถึง 25 ล้านล้านเหรียญ ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใน 40 เมืองใหญ่ทั่วโลก การลงทุนครั้งนี้ไม่เพียงแค่ความสบายของมนุษย์โลกแต่ผลการก่อสร้างจะนำมาซึ่งผลกระทบต่อโลกร้อนโดยตรง นั่นคือที่มาของการประชุม The First Sustainable Infrastructure Financing Summit ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการพูดคุยกันในรายละเอียดของการสนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภคในเมืองใหญ่ที่ไม่ก่อ ให้เกิดมลภาวะทั่วโลก ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง เริ่มต้นจากการหาแนวทางการดำเนินงานที่แต่ละเมืองจะต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันผ่านกรณีศึกษาของแต่ละเมือง
ในการประชุมประกอบด้วยกลุ่ม C40 หรือกลุ่มความร่วมมือของเมืองภาคีเพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกรุงเทพมหานครก็เป็นหนึ่งใน 40 เมืองใหญ่ทั่วโลกที่ร่วมมือกันแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวในครั้งนี้ด้วย โดยกรุงเทพ มหานครนำแนวทาง Public-Private Partnership และแนวทางการเร่งรัดกลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดโลกของกรุงเทพมหานครเข้าร่วมเสนอต่อที่ประชุม 40 เมืองใหญ่ที่กล่าวถึงมีประชากรรวมกันมากกว่า 400 ล้านคน แต่หากรวมประชากรที่ใช้ชีวิตในเมืองทั่วโลกจะมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งกลุ่มคน ในเมืองส่วนมากมีความต้องการใช้พลังงาน สูง เมื่อเป็นเช่นนี้หากมีแนวทางที่จะทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนในเมืองขึ้นได้ จากตัวอย่างเมืองที่มาระดมความคิดกันใน ครั้งนี้ ก็น่าจะมีผลต่อการลดภาวะโลกร้อน ของโลกนี้ลงได้ การประชุมครั้งนี้ยังคาดหวัง ด้วยว่า การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงและความยืดหยุ่นในการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นด้วยแนวคิดสีเขียว จะเป็นหนทางที่นำไปสู่การสร้างงาน ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มขึ้นในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย
การพัฒนาเมืองแต่ละแห่ง เริ่มต้นมักเกิดจากการระดมทุนตามแผนการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยเงินจากหลายภาคส่วนทั้งงบประมาณ กองทุนบำเหน็จบำนาญ เงินจาก อุตสาหกรรม ผ่านการแสดงบทบาทของเมืองและรัฐบาลเพื่อดำเนินงานอย่างเหมาะสม หากแต่หลายเมืองแสดงเพียงมุมมองระยะยาวที่สร้างความมั่นคงด้านการเมืองการบริหารปกครอง ทั้งที่ความจำเป็นที่แท้จริงนั้น ควรต้องคำนึงถึงความ เสี่ยงของเมือง ผลตอบแทนจากการลงทุน รวมทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของคนเมืองในระยะยาวมากกว่า
เป้าหมายการประชุมเพื่อความยั่งยืนด้านการเงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จึงถือเป็นแนวทางใหม่ที่ดึงดูดความสนใจจากเมืองใหญ่เข้าร่วมประชุม เมืองต่างๆ ที่เข้าร่วมมีทั้งเมืองจากประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเมืองจากทุกทวีปทั่วโลก อาทิ อัมสเตอร์ดัม กรุงเทพฯ เคปทาวน์ โคเปนเฮเกน โฮจิมินห์ จาการ์ตา โยฮันเนสเบิร์ก ลอนดอน นิวยอร์ก โตเกียว
การประชุมคาดหวังว่าจะเกิดความสำเร็จด้านการใช้พลังงานในเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ออกแบบ ลงทุน การนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อให้เกิดการอยู่อาศัยและกิจกรรมในเมืองที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน อาทิ เรื่องการอยู่อาศัย การขนส่ง การบริโภค ฯลฯ หรือกล่าวได้ว่ามีการคิดถึงผลกระทบต่อโลกร้อนอย่างครบวงจรในทุกกิจกรรมในเมือง
|
|
|
|
|