|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเรื่องปกติที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหรือแม้แต่ยักษ์ระดับประเทศ ถูกบังคับให้ต้องกำหนดไว้เป็นหนึ่งในนโยบายการดำเนินงานควบคู่ไปกับการทำกำไร ภาพกิจกรรมของแต่ละองค์กรที่ออกมา บางแห่งก็เป็นไปเพื่อสังคมโดยแท้ แต่บางแห่งก็กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องได้ผลที่ไปกันได้กับการดำเนินธุรกิจด้วย แต่อย่างไรก็ต้องถือเป็นผลพลอยได้ต่อโลกที่ส่งผลต่อการยืดอายุธุรกิจให้ดำเนินอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไปพร้อมๆ กัน
นโยบายเพื่อการดำเนินธุรกิจยั่งยืน (Sustainable Living Plan) เพิ่งถูกบรรจุเข้ามาเป็นนโยบายหลักของยูนิลีเวอร์ทั่วโลก พร้อมกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมานี้ เป็นนโยบายที่ออกมาเพื่อเป็นบท สรุปให้กับแนวทางการดำเนินงานแทนที่ ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility) ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องคำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ให้มีความชัดเจน และจับต้องได้
ปัจจุบันประมาณการได้ว่า เกือบ 1 ใน 3 ของครัวเรือนทั่วโลก ใช้ผลิตภัณฑ์ ซักผ้าของยูนิลีเวอร์ หรือคิดแล้วมีอัตราการซักล้างราวๆ 1.25 แสนล้านครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงมาช้านาน แต่เพียงแค่คิดว่าหากทำให้ทุกคนซักล้างน้อยลง ก็เท่ากับยืดอายุของโลกใบนี้ไปได้มหาศาล
แต่ในทางตรงข้ามบริษัทผู้ผลิตย่อม ต้องการขยายอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ตรรกะง่ายๆ นี้จึงดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เดินสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคยักษ์ใหญ่กับการประกาศนโยบายเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่าง ยั่งยืน ที่พ่วงเอาประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้เป็นหัวข้อใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การได้คิด ย่อมดีกว่าไม่คิดที่จะทำอะไรเลย ไม่ว่าช้าหรือเร็วกว่านี้
มร.บาวเค่อ ราวเออร์ส ประธานกรรมการบริษัท กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย กล่าวว่า ยูนิลีเวอร์ก็ตระหนัก ในเรื่องนี้ดีและเข้าใจว่า แม้บริษัทจะต้องการการเติบโตในเชิงธุรกิจ แต่วิธีการที่จะได้มาซึ่งการเติบโตนั้นจะต้องพัฒนาขึ้นภายใต้วิธีการใหม่ในการทำธุรกิจที่ต้องแน่ใจแล้วว่า และต้องไม่ใช่การเติบโตที่เพิ่ม ภาระให้กับโลกใบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดำเนินงานภายใต้ความพยายามที่จะลดการใช้ทรัพยากรของโลกที่มนุษย์ใช้กันอย่างเกินพอให้น้อยลง
“หลังจากเริ่มแผนดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน แนวทางคือเราจะทำให้สังคมอยู่อย่างยั่งยืนด้วยผลิตภัณฑ์แต่ละแบรนด์ได้อย่างไร และในตัวองค์กรเราก็พยายาม กลับมามองเรื่องความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จากที่เราใช้ทรัพยากรของโลกไปมากแล้ว และตระหนักว่าจากนี้ไปเราจะโตต่อไปไม่ได้ หากไม่หยุดที่จะใช้ทรัพยากร ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของเรา”
แผนการธุรกิจยั่งยืนที่ยูนิลีเวอร์ประกาศใช้พร้อมกันทั่วโลก กำหนดแนวทางว่า จะต้องบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ไว้ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) ดังนี้
หนึ่ง-มีแผนที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีประชากรประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ 2 พันล้านคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ยูนิลีเวอร์ทั่วโลก
สอง-ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการผลิตลง 50% และ
สาม-จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้มากขึ้น
ภายใต้แนวทางนี้ วิธีการที่เหลือขึ้น อยู่กับโรงงานผลิตและการดำเนินงานของยูนิลีเวอร์ในแต่ละประเทศว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่จะดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย ตามแต่บริบทของแต่ละประเทศ
แม้จะเพิ่งประกาศแผนทั่วโลก แต่ยูนิลีเวอร์ไทยก็ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมกับโรงงานผลิตในไทยมาแล้วหลายปีก่อนหน้านี้ (ดูแนวทางเพื่อสิ่งแวดล้อมโลกของยูนิลีเวอร์ไทย) ในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้น้ำ ลดของเสีย และ ลดการใช้ทรัพยากรไปพร้อมๆ กัน
สิ่งที่บริษัทดำเนินงานอาจจะเป็นเรื่องของการดำเนินงานเบื้องหลัง ซึ่งในอีกมุมหนึ่งก็มองได้ว่าเป็นความจำเป็นทาง ธุรกิจ เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ล้วนบีบคั้นให้บริษัทต่างๆ ทำกำไรได้น้อยลงแต่ ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ต้องหาวิธีประหยัดในหลายๆ รูปแบบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตีความจากมุมมองของแต่ละคน
แต่สิ่งที่ถูกต้องและสามารถใช้เป็นตัววัดผลได้ดีที่สุด ก็คือ ผลลัพธ์ของการดำเนินงานนั้นๆ ควรเป็นผลที่ Win-win ทั้งกับตัวองค์กรและผู้บริโภค
ความพยายามลดต้นทุนที่ผู้บริโภคไทยสัมผัสได้ของยูนิลีเวอร์ โดยมากสะท้อน ออกมาในรูปแบบของการปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ซักล้างที่ปรับเป็นสูตรเข้มข้นเพื่อให้ผู้บริโภคลดการใช้และลดปริมาณน้ำที่ใช้ซักล้าง การดีไซน์หีบห่อ หรือแพ็กเกจจิ้งใหม่เพื่อลดการใช้พลาสติกในการผลิตบรรจุภัณฑ์และทำให้สินค้าที่บรรจุภายในถูกใช้จนแทบไม่เหลือตกค้าง เป็นต้น
ในปัจจุบันตลาดสินค้าคอนซูเมอร์โดยรวมมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่กว่าจะได้มาก็ต้องทำตลาดกันแบบหืดขึ้นคอ สำหรับยูนิลีเวอร์ มร.บาวเค่อก็ยังยืนยันว่าในปีนี้ ยูนิลีเวอร์ก็คาดว่าจะสร้างอัตราเติบโตให้กับบริษัทได้ประมาณ 5% เช่นกัน
แต่เป้าหมายในทางกลับกันของการลดต้นทุนการดำเนินงานและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเด็นปัญหาที่ผ่านมาหรือแม้แต่เป้าหมายที่ตั้งไว้ต่อไปข้างหน้า ดูหมือนว่ายูนิลีเวอร์มีตัวเลขที่ต้องทำให้ได้มากกว่าเป้าอัตราการเติบโตเสียอีก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ตัวเลขเป็นไปตามเป้าหมายครบทุกด้านนั่นเอง
|
|
|
|
|