Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
เอเอ็มซีแห่งชาติ สวรรค์ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

Banking and Finance




แนวความคิดการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติของหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก่อให้เกิดการวิพากษ์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะประสิทธิภาพ การดำเนินการ แต่ถ้าจะมองถึงผลดี ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ จะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล

นโยบายการจัดตั้งบริษัทบริหารสิน ทรัพย์แห่งชาติ (National AMC : เอเอ็มซีแห่งชาติ) ภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชิน วัตร เป็นความหวังของระบบสถาบันการเงินที่จะฟื้นตัวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการจัดการปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์ของซาโล มอน สมิธ บาร์นีย์ บริษัทในเครือซิตี้กรุ๊ป คาดการณ์ว่า กว่าเอเอ็มซีแห่งชาติจะทำงานได้ต้อง ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนที่รัฐบาลจะก่อตั้งและวางกรอบรายละเอียดการดำเนินการ ในระหว่างนี้ หากเกิดความล่าช้าทางด้านเครื่องมือในการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติจะทำให้เกิด moral Hazard ขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเป็น เช่นนี้จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจไทยจะทรุดลงไปอีกครั้ง หรือการปรับโครงสร้างหนี้ใน อนาคตเป็นไปอย่างล่าช้า

"หัวใจของการทำงานเอเอ็มซีแห่งชาติ คือ รัฐบาลจะต้องเลือกสรรคนที่มีความโปร่งใส ที่สุดเข้ามาทำงานในองค์กรนี้" บทวิเคราะห์ของซาโลมอน สมิธ บาร์นีย์กล่าวไว้

ถึงแม้ว่าเอเอ็มซีแห่งชาติจะถูกยกให้เป็น "ของขวัญ" กับธนาคารพาณิชย์ทางด้านการขายหนี้ NPLs ในราคาที่ไม่ใช่ราคาตลาด แต่เอเอ็มซีแห่งชาติใช่ว่าจะทำให้หนี้ NPLs ในระบบกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยทันทีทันใด

"เอเอ็มซีแห่งชาติเป็นเพียงหน่วยงานแยก NPLs ออกไปเท่านั้น"

เมื่อเอเอ็มซีแห่งชาติเกิดขึ้น ภาระหนึ่งที่รัฐบาลจะต้องแบก คือ ต้นทุนทางการเงิน ที่จะต้องนำไปซื้อ NPLs คาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 464 พันล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10%-20% ของจีดีพี

กระนั้นก็ตาม ซาโลมอน สมิธ บาร์นีย์แสดงความกังวลว่า หากเข้าไปซื้อ NPLs ทางบัญชีในราคา 100% "เป็นไปได้ที่จะเป็นภาระต่อการควบคุมด้านการขาดดุลทางการคลังของ ประเทศ"

ที่สำคัญ ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนถึง การดำเนินงานของเอเอ็มซีแห่งชาติกรณีการซื้อ หนี้ NLPs ว่าควรจะใช้วิธีใด ถ้ารับซื้อหนี้ในราคา มูลค่าตามบัญชีสุทธิ ธนาคารที่ได้รับประโยชน์ ด้านสัดส่วนการสำรองหนี้ลดต่ำลง ได้แก่ ธนา คารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยและธนาคารกรุงไทย

หาก NPLs ดังกล่าวถูกโอนไปตามราคา ตลาดธนาคารทั้งสามแห่งรวมถึงธนาคารเอเชีย จะได้รับบาดเจ็บมากที่สุด

ซิตี้กรุ๊ป เชื่อว่าธนาคารที่ได้ประโยชน์มากที่สุดถ้าหากเอเอ็มซีแห่งชาติเกิดขึ้น คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพ

"นี่คือของขวัญล้ำค่าที่สุด โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ที่จะได้ประโยชน์สูงสุด หาก พิจารณาในแง่ที่พวกเขาไม่มี capital securities ด้วยเหตุนี้การปรับปรุงสัดส่วนของมาร์จิ้นจึงทำได้ง่าย ตรงข้ามกับกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพที่ต้องแบกภาระต้นทุนจากการระดมทุน ในรูปแบบ Caps และ Slips"

ดังนั้น หากดูในแง่การเกิดขึ้นของเอเอ็ม ซีแห่งชาติจะช่วยให้ระบบธนาคารฟื้นตัวเร็ว แต่ ข้อเสียก็คือว่า ถ้าการทำงานไม่โปร่งใสจะมีปัญหาตามมาอย่างมากมาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us