Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ตำนาน TESCO เริ่มต้นจาก "ใบชา"             
 

   
related stories

เทสโก้ โลตัส การปรับตัวของ ค้าปลีกข้ามชาติ

   
www resources

Tesco Homepage

   
search resources

Tesco




ชื่อของเทสโก้ อาจจะเริ่มคุ้นหูผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้น หลังจาก ที่บริษัทค้าปลีกจากประเทศอังกฤษรายนี้ได้เข้ามาซื้อหุ้นกว่า 75% ใน "โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์" จากกลุ่มซีพี เมื่อปี 2541 แต่สำหรับผู้คนบนเกาะอังกฤษ ตลอดจนภาคพื้นยุโรป เทสโก้ คือ บรรษัทยักษ์ใหญ่ ที่ทรงอิทธิพลรายหนึ่งในวงการค้าปลีกเลยทีเดียว

จุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน เกิดขึ้นไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้ง ที่ 1 สิ้นสุดลง โดยใน ปี 1919 แจ็ค โคเฮน (Jack Cohen) นำเงินเบี้ยหวัดจากการที่เขาได้เข้าร่วมในสงครามมาเปิดร้านขายของชำใน ย่านอีสต์เอนด์ของลอนดอน ก่อน ที่ในปี 1924 เขาจะผลิตชายี่ห้อเทสโก้ (TESCO Tea) ออกวางจำหน่าย ซึ่งชื่อ TESCO นี้ก็ได้มาจากการนำอักษรตัวแรกจาก T.E. Stockwell ซึ่งเป็นซัปพลายเออร์ใบชา และ CO จากชื่อ Cohen มาผสมกัน และในช่วงปลายทศวรรษ ที่ 1920 ชื่อ TESCO นี้ก็แพร่หลายในฐานะชื่อร้านขายของชำ หลังจาก ที่ Cohen เปิดร้านของชำในย่านอื่นๆ ของลอนดอน

การค้า ที่เริ่มขยายตัวขึ้น ทำให้ Cohen จัดตั้งบริษัท Tesco Stores จำกัดในปี 1932 และในช่วงเวลาตลอดทศวรรษ ที่ 1930 ร้านค้าในเครือ TESCO ก็มี เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 100 แห่งทั่วกรุงลอนดอน

ความสำเร็จอย่างรวดเร็วของ Cohen ส่งผลให้บรรดาซัปพลายเออร์หลายรายร่วมกันเชิญเขาไปเยือนสหรัฐอเมริกา ในปี 1935 ซึ่งโอกาสนี้เอง ที่ Cohen ได้เห็น และเรียนรู้เกี่ยวกับ ซูเปอร์มาร์เก็ตแบบบริการตัวเอง (self-service supermarkets) ที่แพร่หลายในอเมริกาขณะนั้น แต่เป็นของแปลกใหม่สำหรับร้านค้าในยุโรป

Cohen เดินทางกลับอังกฤษ พร้อมกับแผนที่จะเปิดร้านในแบบ "กองให้สูง-ขายให้ถูก" (pile it high and sell it cheap) ที่เขาได้พบเห็นมา แต่ก็ต้องชะงักไปชั่วขณะ เพราะสงครามโลกครั้ง ที่ 2 กำลังอยู่ในช่วงตัดสินชี้ขาดผลแพ้ชนะ

หลังสงครามสงบลง ร้านในแบบอเมริกันภายใต้ชื่อของ TESCO ก็ถือกำเนิดขึ้นในปี 1947 และในปีเดียวกันนั้น เอง Tesco Stores Limited ก็แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนในชื่อ Tesco Stores Holdings โดยภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากนั้น คือ ในปี 1950 ร้านค้าแบบบริการตัวเองของ TESCO ก็ขยายมากขึ้นถึง 20 สาขา

ตลอดช่วงทศวรรษ ที่ 1950 และ 1960 นั้น การเติบโตของ TESCO เกิดขึ้นโดยผ่านวิธีการซื้อกิจการของผู้ประกอบการรายอื่น นับตั้งแต่การซื้อกิจการ 70 แห่งของ Williamsons ในปี 1957, การซื้อกิจการ 200 แห่งของ Harrow ในปี 1959, การซื้อกิจการ 212 แห่งของ Irwin ในปี 1960, การซื้อกิจการ 97 แห่งของ Charles Phillips ในปี 1964 และการซื้อกิจการของ Victor Value ในปี 1968 (ต่อมาขายให้กับ Bejam Group ในปี 1986)

ช่วงต้นของทศวรรษ ที่ 1970 สถานการณ์การแข่งขันในวงการค้าปลีก ที่หนักหน่วงขึ้นประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ ที่ถดถอยได้ส่งผลกระทบต่อการประกอบการของ TESCO ไม่น้อย กระทั่งในปี 1977 มาตรการหั่นราคาได้ส่งผลให้ยอดการจำหน่ายของ TESCO ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้เป็นที่น่าพึงพอใจ บทสรุปจากการตัดราคาจำหน่ายทำให้ TESCO มุ่งพัฒนาผลิตสินค้าราคาต่ำด้วยแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งแม้ในช่วงเวลาขณะนั้น รายได้จากสินค้าเหล่านี้จะมีสัดส่วนในระดับ ที่ต่ำกว่า 1 ใน 5 ของรายได้จากการขายทั้งหมด แต่สินค้าเหล่านี้คือ แหล่ง ที่มาของรายได้กว่า 40% ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ TESCO ยังปิดสาขา ที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างรายได้ พร้อมกับการเปิด ซูเปอร์สโตร์ สาขาใหม่ๆ ที่ผนวกเอาสถานีบริการน้ำมันเข้าไปด้วย

TESCO รุกเข้าสู่ ไอร์แลนด์ด้วยการซื้อกิจการของ Three Guys ในปี 1979 (ขายทิ้งไปในปี 1986) และใน ปี 1983 Tesco Stores Holdings ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เหลือเพียง TESCO

ความพยายาม ที่จะแสวงหาตลาดใหม่ๆ ส่งผลให้ ในปี 1992 TESCO ขยายการลงทุนไปสู่ร้านค้าขนาดเล็กในเขตชุมชนเมืองในชื่อ TESCO Metro และในปีต่อมาได้เข้าซื้อกิจการร้านค้า 97 แห่งในฝรั่งเศสจาก Catteau (ต่อมาขายให้กับกลุ่ม Promodes ในปี 1997)

ในปี 1994 Tesco เข้าซื้อกิจการ 57 แห่งในสกอตแลนด์ และพื้นที่ตอนบนของอังกฤษจาก William Low พร้อมกับการขยายตัวเข้าสู่ยุโรปตะวันออกด้วย การซื้อหุ้น 51% ในบริษัท Global ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ร้านสะดวกซื้อ 43 แห่งในฮังการี และในปีเดียวกันนั้น เอง Tesco Express ซึ่งเป็นร้าน ที่ผสมระหว่างร้านสะดวกซื้อกับสถานีบริการน้ำมันก็ได้รับการแนะนำเข้าสู่ตลาด

การรุกคืบเข้าสู่ยุโรปตะวันออกของ Tesco ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการซื้อกิจการ 31 แห่ง ในโปแลนด์จาก Savia ในปี 1995 และการซื้อกิจการ 13 แห่งของ Kmart ในสาธารณรัฐเชค และสโลวะเกีย ในปี 1996

Tesco กลับเข้ามาในไอร์แลนด์อีกครั้งในปี 1997 ด้วยการซื้อกิจการ 109 แห่งในไอร์แลนด์เหนือ และสาธารณรัฐไอร์แลนด์ จาก Associated British Food ในปีเดียวกันนั้น เอง Tesco ได้เริ่มผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจบริการด้านการเงินด้วยการร่วมทุนกับ Royal Bank of Scotland

ในปี 1998 Tesco เริ่มขยายการลงทุนเข้าสู่เอเชียแปซิฟิก ด้วยการซื้อหุ้น 75% ของโลตัส ในประเทศไทยจากกลุ่มซีพี ซึ่งขณะนั้น มีสาขาจำนวน 13 แห่ง แต่ปัจจุบันขยายสาขาเพิ่มเป็น 24 แห่ง และมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 50 สาขาภายในช่วงเวลาไม่นานจากนี้ โดยปัจจุบัน Tesco ถือหุ้นในสัดส่วน 93% ส่วน ที่เหลืออีก 7% เป็นของกลุ่ม ซี.พี.

นอกจากนี้ Tesco ได้บรรลุข้อตกลง ที่จะร่วมมือกับกลุ่ม Samsung พัฒนาไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ ชื่อ Homeplus ในเกาหลีใต้ และในช่วงต้นปีที่ผ่านมา Tesco ได้ประกาศแผนที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่ไต้หวัน พร้อมกับเพิ่มจำนวนสาขาในสาธารณรัฐเชค และ สโลวะเกีย อีก 3 เท่าของ ที่มีอยู่ในขณะนี้ และแยกธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ tesco.com ออกเป็นอีกบริษัทหนึ่งด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us