|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ทีพีไอโพลีน” ทุ่ม 2 พันล้านบาท รุกโครงการพลังงานทดแทนจากขยะ โรงปุ๋ยชีวภาพ โครงการผลิตน้ำมันจากยางและพลาสติกใช้แล้ว และธุรกิจสำรวจผลิตปิโตรเลียม ที่ล่าสุดบริษัทลูก “ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์” ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบนบก แปลง L29/50
วานนี้ (8 ก.พ.) น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีลงนามให้สัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบก จำนวน 2 สัมปทานใน 2 แปลงสำรวจ แก่ผู้ได้รับสัมปทานดังนี้ คือ แปลงสำรวจหมายเลข L14/50 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ เลย และ พิษณุโลก ให้แก่บริษัท JSX Energy Holdings Limited และแปลงสำรวจหมายเลข L29/50 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และ ชัยภูมิ ให้แก่บริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ จำกัด
นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้ 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของบริษัทย่อย เพื่อใช้ในโครงการพลังงานทดแทนจากการคัดแยกขยะมาเผาลดการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากขยะ โครงการผลิตน้ำมันจากยางและพลาสติกใช้แล้ว (Pyrolysis) รวมไปถึงการสำรวจปิโตรเลียมที่ได้รับสัมปทานในแปลง L29/50 ของบริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 99%
โดยแหล่งเงินทุนมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งงบลงทุนในปีนี้จะสูงกว่าปีก่อนที่ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 พันล้านบาท บางโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อาทิ โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ส่วนการลงทุนสำรวจปิโตรเลียมนั้น จะวางหลักค้ำประกันการรับสัมปทานเป็นวงเงิน 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 165 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเจาะสำรวจเป็นเวลา 3 ปี หลังจากรับรู้ปริมาณสำรองน้ำมันในแปลงดังกล่าวหากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็จะพัฒนาได้ก่อนกำหนด
ทั้งนี้ บริษัทมีความมั่นใจว่าแปลงสัมปทาน L29/50 มีศักยภาพด้านปิโตรเลียมสูงกว่าแปลงอื่นๆ โดยเบื้องต้นจะว่าจ้างบริษัทเข้าไปศึกษาทางธรณีวิทยาและสำรวจวัดความสั่นสะเทือนต่อไป โดยยังไม่มีแผนจะหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุนในโครงการนี้
นางอรพิน กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ส่วนรายได้ในปีนี้จะเติบโตจากปีก่อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับราคาปูนซีเมนต์และเม็ดพลาสติก LDPE ที่ผูกพันกับราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ของบริษัทอยู่ที่ 9ล้านตัน/ปีเท่าเดิม เช่นเดียวกับกำลังผลิตเม็ดพลาสติก LDPE 1.3 แสนตัน/ปี
อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานจากโครงการพลังงานทดแทนประมาณ 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าไปได้ 500 ล้านบาท และมีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพเข้ามาหลังจากเริ่มทำตลาดในปี 2554
ทั้งนี้ โครงการพลังงานทดแทนจากขยะมาผลิตไฟฟ้าและโครงการผลิตปุ๋ยจากขยะจะใช้เงินลงทุนรวม 2 พันล้านบาท และโครงการผลิตน้ำมันจากพลาสติกและยางใช้แล้ว เงินลงทุนรวม 700-800 ล้านบาท
รายงานข่าวจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แจ้งว่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานในแปลงสำรวจทั้ง 2 แปลงมีข้อผูกพันที่ต้องลงทุนสำรวจในช่วงระยะเวลา 3ปีแรก (2554-2556) คือ ศึกษาธรณีวิทยา ประมวลผลข้อมูล การสำรวจวัดความไหวสั่นสะเทือนสองมิติเป็นระยะทาง 100 กม.และเจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรัฐจะได้รับเงินผลประโยชน์พิเศษในรูปของโบนัสการลงนาม เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในไทย และทุนการศึกษาและอบรม เป็นเงินอีก 5.1 ล้านบาท ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมครั้งนี้ เป็นการให้สัมปทานครั้งสุดท้ายที่เปิดให้ยื่นขอสัมปทานรอบที่ 20
|
|
|
|
|