Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2554
การทำแท้งอย่างเสรี ลดจำนวนผู้ที่ทำแท้งลงได้จริงหรือ             
โดย ศศิภัทรา ศิริวาโท
 


   
search resources

Law




การอนุญาตให้มีการทำแท้งได้อย่างเสรีนั้นเป็นเรื่องที่มีการโต้แย้งกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในทุกประเทศ และเป็นแบบนี้มานานแล้ว เพราะการทำแท้งนั้นเป็นการขัดต่อหลักศีลธรรมและจริยธรรม แต่ละประเทศก็มีความเห็นที่ต่างกันออกไป บางประเทศอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างเสรี เช่น นิวซีแลนด์ จีน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ อเมริกา เป็นต้น

การทำแท้งในบางประเทศก็อนุญาตให้ทำได้ ในช่วงอายุครรภ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีการกำหนดอายุครรภ์ที่ต่างกันไป เช่น ฝรั่งเศสกำหนดไว้ว่าอายุครรภ์ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ สิงคโปร์กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 24 สัปดาห์ หรืออย่างสเปนที่เมื่อตอนต้นเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เพิ่งจะผ่าน กฎหมายอนุญาตให้มีการทำแท้งได้ถ้าตั้งครรภ์ไม่เกิน 14 สัปดาห์ และยังอนุญาตให้เด็กที่มีอายุ 17 ปี สามารถทำแท้งได้โดยที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจาก พ่อแม่ แต่ถ้าหากว่ามีอายุครรภ์เกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้นี้จะไม่สามารถทำแท้งได้ มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าผิดกฎหมาย นอกเสียจากว่าการตั้งครรภ์จะทำให้ผู้เป็นแม่ถึงแก่ชีวิตจึงจะทำแท้งได้

ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่การทำแท้งถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ เช่นผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จากการข่มขืน หรือการตั้งครรภ์จะทำให้คนเป็นแม่ถึงแก่ชีวิต ก็จะสามารถทำแท้งได้ เช่นประเทศไทย ไอร์แลนด์ บราซิล และชิลี เป็นต้น

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้สำรวจจำนวนผู้หญิงที่ทำแท้งทั้งในประเทศที่ให้มีการทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายและในประเทศที่ห้ามทำแท้ง พบว่าจำนวน ผู้ที่ทำแท้งนั้นไม่ได้แตกต่างกันเลย แต่มีความแตกต่างกันมากในเรื่องของความปลอดภัย ในประเทศที่มีการทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายมีจำนวนผู้เสียชีวิต น้อยมาก ในขณะที่ประเทศที่การทำแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมายมีจำนวนผู้เสียชีวิตค่อนข้างมาก เพราะต้องมีการลักลอบทำ จึงทำให้วิธีการและขั้นตอนในการทำแท้งในประเทศเหล่านี้ค่อนข้างอันตราย(1)

จากข้อมูลการทำแท้ง 3 ปีย้อนหลังในแต่ละประเทศ พบว่าประเทศที่มีการทำแท้งมากที่สุดเมื่อปี 2550 คือกรีนแลนด์ มีจำนวนทั้งหมด 51.1% จากจำนวนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งหมด ถัดมาปี 2551 รัสเซียมีจำนวนทั้งหมด 44.7% และล่าสุดปี 2553 อินเดียมีผู้ทำแท้งถึง 699,298 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากที่สุดในโลก และเวียดนามมาเป็นอันดับสองที่จำนวน 688,029 คน (จำนวนตัวเลขเหล่านี้เป็นจำนวนที่ได้มาจากเคสที่มีการรายงานว่ามีการทำแท้งเกิดขึ้น ไม่ได้นับรวมถึงคนที่ไปทำแท้งเถื่อน และไม่ถูกจับได้)

เป็นที่น่าสังเกตว่าเวียดนามซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลกและเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับไทยเรานั้น มีอัตราการทำแท้งที่สูงเกือบจะเท่ากับอินเดียที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลกเลย

ดูๆ ไปแล้วการทำแท้งอาจจะดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายถึงทำให้มีคนเป็นจำนวนมากตัดสินใจไปทำแท้งกันในแต่ละปี แต่การจะทำแท้งก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ง่ายอย่างที่เราเห็นหรือได้ยินกันมา ต่อให้เป็นประเทศที่มีการอนุญาตให้ทำแท้งได้ ก็ยังมีกฎระเบียบและขั้นตอนอีกมากมายกว่าที่จะได้รับอนุญาต

อย่างเช่นนิวซีแลนด์ที่กฎหมายอนุญาตให้มีการทำแท้งได้ ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร ซึ่งผู้ที่ทำแท้งจะต้องทำตาม 5 ขั้นตอนนี้คือ

1. ทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองและได้รับการยืนยันจากแพทย์

เมื่อคิดว่าตัวเองอาจจะตั้งครรภ์จะต้องไปซื้อ อุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์มาทดสอบ ถ้าหากผลการทดสอบออกมาว่ามีการตั้งครรภ์จะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง หรือจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบการตั้งครรภ์เลยก็ได้

2. ไปพบแพทย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

หลังจากที่ได้รับการยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์จริงๆ แพทย์จะสอบถามผู้ที่ตั้งครรภ์ว่าต้องการที่จะ เก็บเด็กเอาไว้หรือไม่ หากต้องการที่จะเก็บเด็กเอาไว้ก็จะแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพ แต่ถ้าหากว่าต้อง การเอาเด็กออก แพทย์ก็จะถามถึงเหตุผลของการทำแท้ง หรือแพทย์อาจจะเป็นคนแนะนำให้เอาเด็กออก เพราะเห็นว่าสุขภาพของคนเป็นแม่อาจจะไม่เหมาะแก่การตั้งครรภ์และอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ไม่ว่าจะเลือกทางไหนผู้ที่ตั้งครรภ์ก็จะต้องได้รับการตรวจเช็กเลือดและตรวจเช็กทุกอย่างสำหรับการตั้งครรภ์เหมือนตามปกติ

การพูดคุยกับแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องตั้งครรภ์ นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะคนที่คิดจะทำแท้ง จะต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด เพราะการทำ แท้งในช่วงระยะต้นของการตั้งครรภ์ (ไม่เกิน 12 สัปดาห์) เป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุด

3. มีใบรับรองจากแพทย์อย่างน้อย 2 คนว่าเห็นด้วยกับการแท้งในครั้งนี้ และหนึ่งในสองคนนี้จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางสูตินรี

เมื่อได้รับใบรับรองจากแพทย์ผู้ยืนยันการตั้งครรภ์ว่าเห็นด้วยกับการทำแท้งครั้งนี้ คนไข้จะต้องได้รับใบรับรองอีกครั้งหนึ่งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางสูตินรี แต่ถ้าแพทย์คนใดคนหนึ่งไม่เห็นด้วย คนไข้อาจจะลองไปพบแพทย์คนที่สาม แต่ถ้าไม่มีแพทย์คนใดเห็นด้วย ก็จะไม่สามารถทำแท้งได้

4. ส่งตัวคนไข้ไปยังคลินิกเฉพาะหรือโรงพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำแท้งได้

เมื่อคนไข้ได้ใบรับรองครบ 2 ใบแล้ว แพทย์ผู้ที่รับรองจะนัดหมายวันและเวลา เพื่อส่งตัวคนไข้มาพบ Counseling (ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านเราก็เป็นนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์) ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง ถ้าหากว่าคนไข้มีการตั้งครรภ์ไม่ถึง 12 สัปดาห์ จะถูกส่งตัวไปที่คลินิก แต่ถ้าหากว่ามีการตั้งครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์จะถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาล

5. ได้รับการรับรองจาก Counseling หรือผู้ให้คำปรึกษาเฉพาะทาง

ทันทีที่คนไข้ถูกส่งมาที่คลินิกหรือโรงพยาบาล คนไข้จะต้องไปพบกับ Counseling ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับนักจิตวิทยา ที่ให้คำปรึกษาในการหาทาง ออกที่ไม่ใช่การทำแท้ง ถ้าหากยังยืนยันว่าต้องการทำแท้งก็จะต้องอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ต้องการที่จะตั้งครรภ์ และ counseling จะคอยสังเกตว่าคนไข้อยู่ในสภาพอารมณ์ที่พร้อมจะทำแท้งหรือไม่ สุดท้าย เมื่อ Counseling เห็นด้วยกับการทำแท้งในครั้งนี้ การทำแท้งจึงจะมีขึ้นได้

เมื่อทำครบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว คนไข้จะสามารถทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายของนิวซีแลนด์ โดยคนไข้จะต้องนัดพบแพทย์ครั้งสุดท้าย เพื่อพูดคุยถึงวิธีการและขั้นตอนที่จะใช้ในการทำแท้ง นัดหมายวันและเวลาที่จะทำแท้ง และจะต้องมีการตรวจเช็กร่างกายครั้งสุดท้ายก่อนที่จะมีการทำแท้งเกิดขึ้น

เมื่อการทำแท้งเสร็จสิ้นลง คนไข้จะได้รับคำแนะนำวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ และจะต้องกลับไปพบแพทย์เพื่อเช็กร่างกายอีกครั้งว่าไม่มีปัญหาอะไร หลังจากที่มีการทำแท้งเกิดขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์(2)

สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำแท้งนั้น คนนิวซีแลนด์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย แต่ถ้าเป็นคนต่างชาติ ค่าใช้จ่ายในการทำแท้งอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 เหรียญนิวซีแลนด์ (ประมาณ 23,240-46,480 บาท)

ถึงแม้ว่าการทำแท้งจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ จำนวนผู้หญิงที่ไปทำแท้งมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม จากสถิตินิวซีแลนด์พบว่า จำนวนของผู้หญิงที่เคยทำแท้งตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปมีน้อย เรียกได้ว่ามีไม่ถึงครึ่งหนึ่งเลยด้วยซ้ำที่ผู้หญิง ที่เคยทำแท้งมาแล้วครั้งหนึ่งจะกลับไปทำอีกครั้ง (ตัวเลขสถิตินี้นับรวมจำนวนผู้หญิงทั้งหมดที่ไปทำแท้ง โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นคนนิวซีแลนด์หรือคนต่างชาติ)

นิวซีแลนด์น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้รัฐบาลจะผ่านกฎหมายให้มีการทำแท้ง อย่างเสรีได้ แต่การทำแท้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และคนที่เคยทำแท้งมาแล้วก็ใช่ว่าจะกลับมาทำแท้งอีกเรื่อยๆ ผู้เขียนเชื่อว่า คงไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ตัดสินใจไปทำแท้งแล้วไม่มีความรู้สึกผิดอยู่ในใจ ดังนั้น การที่แต่ละประเทศจะอนุญาตให้มีการทำแท้งได้อย่างเสรีหรือไม่นั้นคงไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่การป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อมนี่แหละคือสิ่งสำคัญที่สุด

พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญในการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในเรื่องของการป้องกันการตั้งครรภ์ เพราะสาเหตุหลักๆ ที่หลายคนตั้งท้องเมื่อยังไม่พร้อมก็เพราะขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการป้องกันการตั้งครรภ์

องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า การที่จะลดจำนวนผู้ที่ทำแท้งลงได้นั้นไม่ใช่การอนุญาตให้มีการทำแท้งได้อย่างเสรี แต่จะต้องทำให้คนในสังคมสามารถหาอุปกรณ์การคุมกำเนิดได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงยางอนามัย หรือยาคุมกำเนิด หรือวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่นๆ

แต่วิธีนี้คงไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เพราะอุปกรณ์การคุมกำเนิดในบ้านเรานั้นหาซื้อได้ง่ายมาก แต่ก็ยังมีคนไปทำแท้งเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะเด็กวัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในเรื่องการป้องกันรึเปล่า ถึงทำให้คนจำนวนมากเลือกหาทางออกด้วยการทำแท้ง

ถ้าเราลองหันมามองในประเทศอื่นดูบ้าง ก็จะเห็นได้ว่าวิธีขององค์การอนามัยโลกนั้นได้ผล เช่นนิวซีแลนด์มีการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ตามสื่อประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับหรือโปสเตอร์ที่มีอยู่ในทุกคลินิกและโรงพยาบาล หรือ เว็บไซต์ของรัฐบาลและองค์กรต่างๆ เช่น Family Planning และ Stay Safe New Zealand

นอกจากนี้คนนิวซีแลนด์ได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกฎหมายการทำแท้ง (Abortion Law Reform Association of New Zealand หรือ ALRANZ) ขึ้นมา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลออกนโยบายให้คนนิวซีแลนด์สามารถไปขอรับคำปรึกษาและการใช้อุปกรณ์การป้อง กันการตั้งครรภ์ฟรี ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยาคุมกำเนิด หรือการรับประทานยาคุม เพราะว่าที่นิวซีแลนด์เมื่อต้องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม จะต้องไปพบแพทย์ก่อนเพื่อตรวจเช็กร่างกายว่าเหมาะกับการป้องกันประเภทไหน เช่น ถ้าต้องการจะรับประทานยาคุมกำเนิดจะต้องตรวจเช็กความดันว่าปกติหรือไม่ ประวัติครอบครัวมีการเป็นโรคกรรมพันธุ์หรือไม่ และจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้นจึงจะสามารถซื้อยาคุมได้

ถ้าหากว่านโยบายนี้มีออกมาเมื่อไร อัตราการตั้งครรภ์ทั้งที่ยังไม่พร้อมและจำนวนผู้ที่ไปทำแท้งในแต่ละปีก็น่าจะลดลงได้

ดังนั้น การที่แต่ละประเทศจะให้ทำแท้งได้อย่างเสรีหรือไม่นั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการลด จำนวนผู้ที่ไปทำแท้งลง แต่การป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อมต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญ

ข้อมูลอ้างอิง
(1) Rosenthal, Elisabeth. (2007) Legal or Not, Abortion Rates Compare in The New York Times, http://www.nytimes.com/2007/10/12/world/12abortion.html?_r=2&oref=slogin
(2) Abortion Services in New Zealand. (2010), http://www.abortion.gen.nz/index.html   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us