Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2554
RTI Act ความโปร่งใส และอำนาจตรวจสอบในมือประชาชน             
โดย ติฟาฮา มุกตาร์
 


   
search resources

Law




Right to Information Act กฎหมายว่าด้วยสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นกลไกประชาธิปไตยที่สำคัญของอินเดีย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนแม้ตาสีตาสาสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำงานของรัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตและปากท้องของตน นับจากแรกคลอดเมื่อห้าปีก่อน กฎหมายนี้ได้คืนสิทธิและอำนาจแก่คนตัวเล็กๆ นับหมื่นทั่วอินเดีย แต่ขณะเดียวกันก็มีคนไม่น้อยถูกฆ่าและข่มขู่เพราะหาญกล้าเรียกร้อง ‘สิทธิที่จะรู้’ ในสิ่งที่พึงรู้

ในสังคมประชาธิปไตยหลายประเทศ ความโปร่งใสและกลไกการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากในแวดวงนักวิชาการและปัญญาชน แต่ในอินเดีย กฎหมายฉบับสำคัญนี้ถือกำเนิดจากการชุมนุมประท้วงของชาวไร่ชาวนาและแรงงานรับจ้างในรัฐราชสถาน ในปี 1996 การประท้วงครั้งนั้นนำโดย Mazdoor Kisan Shakti Sangathan (MKSS) องค์กรระดับรากหญ้าที่ชาวบ้าน ผนึกกำลังกันขึ้น เพราะถูกหน่วยงานรัฐปฏิเสธที่จะแจกแจงการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

คำถามของชาวบ้านที่มาชุมนุมประท้วงล้วนเป็นเรื่องปากท้อง เช่นว่าทำไมตนจึงไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ ทำไมศูนย์แม่และเด็กในหมู่บ้านจึงไม่มีอาหารและยาแจกให้ตามโควตาที่รัฐบาลประกาศ ทำไมหมู่บ้านของตนจึงไม่มีถนนราดยาง ไฟฟ้า และ แหล่งน้ำดื่มเช่นหมู่บ้านอื่นๆ ทำไมที่ดินจัดสรรสำหรับคนยากจนจึงตกไปอยู่ในมือเศรษฐี เป็นต้น พวกเขาตั้งคำถาม ทวงถามข้อมูลและสิทธิที่จะรู้ เพราะสำหรับพวกเขาสิทธิที่จะรู้สำคัญต่อสิทธิที่จะมีชีวิต ดังท่อนหนึ่งจากบทเพลงที่มีผู้แต่งขึ้นในการประท้วงครั้งนั้นว่า “ความหิวโหยของข้ามีสิทธิที่จะรู้ ทำไมธัญญาหารเป็นภูเขาเหล่ากา ถูกกักเก็บเน่าในโกดัง ทั้งที่ข้าไม่มีข้าวสักกำมือไว้ประทังหิว...”

นิกิล จักราวรตี นักข่าวเจนสนามที่ไปร่วมสังเกตการณ์ มองการชุมนุมครั้งนั้นว่าเป็นขบวนการ เรียกร้องสิทธิที่สำคัญที่สุดนับแต่อินเดียเป็นเอกราช และเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราชครั้งที่สอง เพื่อเปิดโปงการฉ้อฉลปล้นสะดมโดยชาวอินเดียกันเอง มิใช่โดยเจ้าจักรวรรดินิยมเช่นครั้งก่อน

การชุมนุมเรียกร้องดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการ นักกฎหมาย และแวดวงสิทธิมนุษยชน ทั้งต่อยอดไปสู่การรณรงค์เรียกร้องระดับชาติ (National Campaign for the People’s Right to Information) ทำให้มีการยกร่างบทบัญญัติ ใหม่ว่าด้วยสิทธิในข้อมูล กระทั่งผ่านสภากลายเป็นกฎหมายบังคับใช้ที่เรียกว่า RTI Act ในเดือนตุลาคม 2005

ตลอดห้าปีที่ผ่านมา การใช้สิทธิตาม RTI Act นำชัยชนะมาสู่การเคลื่อนไหวของประชาชนหลายต่อหลายครั้ง ตัวอย่างเช่น คำร้องขอดูข้อมูลที่ส่งผล ให้โครงการห้างสรรพสินค้าพันล้านอันอื้อฉาวใกล้ทัชมาฮาลของ Mayawati ผู้ว่าการรัฐอุตตรประเทศ ต้องพับไป คำร้องในคดีโกงอสังหาริมทรัพย์โดยบริษัทในเครือ Satyam ที่ต่อโซ่ไปสู่การจับกุมผู้บริหาร และกลายเป็นคดีโกงที่สะเทือนแวดวงบรรษัท ของอินเดีย หรือโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ในรัฐกัวที่ต้องเป็นหมันเพราะคำร้องให้มีการตรวจสอบเรื่องการใช้ที่ดินสาธารณะ

นอกจากนี้ ชาวบ้านในหลายพื้นที่ก็มีโอกาสได้ตั้งคำถามในเรื่องที่ตนพึงรู้ แต่ไม่เคยได้รับคำตอบ จากหน่วยงานราชการ เช่น ค่าแรงที่ตนพึงได้จากโครงการประกันการจ้างงานในชนบท โควตาธัญญาหารราคาถูกจากร้านของรัฐบาล (Ration Shop) ไปจนถึงการทวงถามรถจักรยานสำหรับลูกสาว ที่รัฐพิหารมีโครงการแจกฟรีแก่เด็กผู้หญิงที่จบชั้นประถม 8 เป็นต้น

ขณะเดียวกันก็มีคนเล็กคนน้อยมากมายที่ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหอกใช้สิทธิในข้อมูลตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลต่างๆ ในตำบลบ้านของตน ตัวอย่างเช่น ราเชศ เมารยา เจ้าของสวนผักในหมู่บ้านเล็กๆ ในรัฐอุตตรประเทศ ใช้ความรู้และความกล้ายื่นคำร้องหลายสิบครั้ง จนทำให้หมู่บ้านของเขามีถนนราดยาง หญิงม่าย 23 คนได้รับเงินบำนาญเต็มอัตราจากรัฐ คนยากจนหลายครอบครัว มีที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการเคหสงเคราะห์อินทิรา

สำหรับ Jawaja เมืองเล็กๆ ในรัฐราชสถาน ชื่อของสุชีลาเป็นที่ขยาดแก่หน่วยงานรัฐหลายแห่ง หญิงแรงงานรับจ้างลูกสองวัย 46 ปีผู้นี้เป็นสมาชิก ของ The Barefoot College กว่าสี่ปีที่ผ่านมา เธอ เป็นหน่วยกล้าตายยื่นเรื่องร้องเรียนตามสิทธิใน RTI Act เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่ชาวบ้านละแวกใกล้ มาแล้วกว่า 100 ครั้ง ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยในหมู่บ้านมักยักยอกเงินช่วยเหลือที่รัฐมอบแก่หญิงตั้งครรภ์ หลังจากสุชีลายื่นเรื่องขอดูการใช้จ่ายงบของศูนย์อนามัย คนไข้ทุกรายก็ได้รับการรักษาพร้อมหยูกยาฟรีอย่างที่ควรจะเป็น และ หญิงตั้งครรภ์ก็ได้รับเงินช่วยเหลือเต็มก้อน เมื่อสองปีก่อน สุชีลาได้รับเชิญไปร่วมการประชุม Global Summit ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และเธอตั้งคำถามต่อที่ประชุมว่าทำไมประเทศ ประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกาจึงไม่มีกฎหมายที่ประกันสิทธิแก่ประชาชนเทียบเท่ากับ RTI Act ของอินเดีย

อย่างไรก็ตาม บทเรียนจาก RTI Act ใช่มีแต่ชัยชนะและความโปร่งใส มีคนจำนวนไม่น้อยถูกข่มขู่ กลั่นแกล้ง ใส่ความ จนถึงถูกฆ่าเพราะใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้

ลำพังปี 2010 ที่ผ่านมา มีนักเคลื่อนไหวและชาวบ้านถูกสังหารถึง 9 ราย ซึ่งทุกรายมีรูปการณ์บ่งชัดว่า การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในข้อมูลของ พวกเขาไปขัดผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจ นักการเมือง และผู้ทรงอิทธิพลท้องถิ่น ส่วนคนที่ไม่เป็นข่าว และการฆ่าถูกบิดรูปคดีให้เป็นเรื่องอื่น เชื่อว่ายังมีอีกมาก

หลังประกาศใช้มากว่าห้าปี รัฐบาลกลางของ อินเดียพบว่า ยังมีการบ้านต้องทำอีกมาก ประการแรกคือการสร้างความตระหนักและเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์จาก RTI Act แก่ประชาชน สอง ปรับแก้กฎหมายเพื่ออุดช่องโหว่และขยายขอบข่ายอำนาจการตรวจสอบให้ครอบคลุมกรมกองที่อาจได้รับการยกเว้นในฉบับปัจจุบัน ซึ่งประการหลังนี้ นักกิจกรรม และนักรณรงค์ด้านสิทธิมองว่ารัฐบาลมีเจตนา แอบแฝงที่จะแก้เพื่อลดอำนาจของกฎหมายเสียมากกว่า

อีกประเด็นที่สื่อมวลชนของอินเดียเริ่มตั้งคำถามกันมากคือ กฎหมายดังกล่าวควรครอบคลุมองค์กรภาคเอกชน หรือภาคเอกชนที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับรัฐบาลในการแปรรูปหน่วยงานรัฐต่างๆ มากน้อยแค่ไหน

ในประเด็นนี้ Wajahat Habibullah ประธานคณะกรรมการกลางฝ่ายข้อมูล (Chief Information Commissioner: CIC) กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องน่าวิตก เพราะหลายกรณีที่ผ่านมา CIC และศาลสูงในหลาย รัฐก็ตัดสินตรงกันว่า หน่วยงานรัฐที่แปรรูปไปจนถึงบริษัทที่เข้ามารับเหมาหรือรับช่วงงานสาธารณะ ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของ RTI Act และมีหน้าที่ให้ข้อมูลเมื่อมีการร้องขอ ดังนั้นในทางปฏิบัติ การแปร รูปหน่วยงานรัฐจะยิ่งเป็นการขยายอำนาจตรวจสอบ และการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน

เมื่อมองโดยภาพรวม RTI Act ถือเป็นกลไกสำคัญแก่การสร้างสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ทุกกระบวนขั้น จึงเชื่อได้ว่า แม้จะมีอุปสรรคและแรงเสียดทานจากบรรดาข้าราชการและนักการเมือง ชาวอินเดียที่ต่างเหนื่อยล้ากับวัฒนธรรมการคอร์รัปชั่น คงไม่ยอมปล่อยอำนาจตรวจสอบที่ได้มาให้หลุดมือไปง่ายๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us