ธนาคารพาณิชย์ได้ประโยชน์หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลดลง และมีความพอใจหากดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ
เนื่องจากธนาคารปล่อยสินเชื่อได้น้อยมาก ขณะที่ฐานเงินฝากยังเติบโตอยู่
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ชี้ถึงความผิดปกติ บางอย่างที่ยังคงอยู่ของภาวะเศรษฐกิจ
อันนำมาสู่ปัญหาความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวลง ปัญหาการไหลเข้าของเงินฝาก
ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่คืบหน้า
ส่งผลให้ธนาคารต้องแบกรับต้น ทุนค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ตลอดจนภาระในการทำสำรองเผื่อการ
ด้อยค่าของมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันและการเสื่อมค่าของสินทรัพย์จัดชั้นในระดับสูง
ไม่คุ้มกับรายได้ดอกเบี้ยและไม่เพียงพอที่จะทำให้ธนาคารดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างปกติสุข
หลังจากธนาคารเอเชียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลงมาเหลือเพียง
1.75% นับเป็นอัตราต่ำที่สุดเป็นประวัติ การณ์จากนั้นธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากพร้อมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารขนาดใหญ่ลดลงอยู่ที่ระดับ
2% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในช่วงระดับ 7.25%-7.75% ซึ่งกระแสการปรับลดอัตราดอก
เบี้ยลง ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน ธุรกิจลูก หนี้ ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งฐานะทางการคลัง
ของรัฐบาล
การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำแสดง ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ
"โดยทฤษฎีแล้วไม่สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ และการปรับ ดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับลดต่อเนื่องจากครั้ง
ที่ผ่านมา ซึ่งการลดแต่ละครั้งเป็นการลดสภาพ คล่องที่มีอยู่" โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ประธาน กรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพอธิบาย
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเป็นการ ลดลงจากสภาพคล่องในระบบธนาคารที่ค่อน
ข้างมาก และสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง กับระบบธนาคารฟื้นตัวไม่เต็มที่
"ถ้ามองในแง่ มหภาค ภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นภาวะจำเป็นต่อ การฟื้นตัวเศรษฐกิจ"
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ แห่ง ซิตี้แบงก์กล่าว
เมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวไม่ดีนักหรือ หดตัวลง สิ่งที่จะต้องดำเนินการ
คือ ดำเนินนโยบายการคลังและการเงินแบบผ่อนคลาย นั่นหมายความว่าจะต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ
ผลที่ตามมาทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาภาวะดอกเบี้ยต่ำจะไม่กระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้ามีปัญหากับดักสภาพ
คล่อง ก็คือ ธนาคารยังมีปัญหาหรืออ่อนแออยู่
เช่นเดียวกัน ผลลบที่มีต่อระดับมหภาค ถ้าอัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำมาก
อาจจะมีผลต่อระดับการออมของประเทศ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในไทย คือ ระดับการออมไม่ได้ลดลงเพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นและประชาชนยังคงเลือกที่จะออมเงินมากกว่า
"ดังนั้น ปัญหาของประเทศตอนนี้ คือ ภาวะเงินฝืด" ดร.อนุสรณ์บอก
สำหรับทางด้านระดับจุลภาค ผลดีที่ เห็นเด่นชัดที่สุด ได้แก่ บรรดาภาคธุรกิจเพราะ
เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำจะทำให้ต้นทุนทางการเงิน ลดต่ำลงด้วย ซึ่งจะมีโอกาสขยายการลงทุนได้
มากขึ้น แต่ภาวะดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น เพราะขณะนี้ยังมีการผลิตล้นเกินในประเทศค่อนข้างมาก
ความจำเป็นในการลงทุน ใหม่ๆ จึงไม่เกิดขึ้น เพราะโดยปกติแล้วเมื่อดอก เบี้ยต่ำจะช่วยกระตุ้นการขยายการผลิตและการ
บริโภคในระดับหนึ่ง
ด้านลูกหนี้ธนาคาร จะได้ประโยชน์เมื่อ มีการลดดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้
เนื่องจาก ภาระของพวกเขาจะเบาลง เช่นเดียวกัน สถา-บันการเงินจะได้ประโยชน์ค่อนข้างชัดเจน
เมื่อ ลดดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ฐานเงินฝาก มีประมาณ 5 ล้านล้านบาท
แล้วลดดอกเบี้ย 0.50% ต้นทุนจะลดลงไปมากทีเดียว
ขณะที่การขยายสินเชื่อในปัจจุบันยังมีไม่มาก ฉะนั้นเมื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะทำให้รายได้ของธนาคารไม่ได้ลดลงไปมากและยังคงกำไรอยู่
แต่ธนาคารจะไม่ได้ประโยชน์ ในทันทีหลังประกาศลดอัตราดอกเบี้ย "เพราะเวลาลดดอกเบี้ยเงินฝาก
3 เดือน หรือ 6 เดือน จะต้องครบรอบก่อนถึงจะ take effect"
เมื่อมีการลดดอกเบี้ยจะบีบให้ประชาชน นักลงทุน พยายามแสวงหาการลงทุนอื่นๆ
นอก เหนือจากการฝากเงินไว้ที่ธนาคาร ซึ่งจะกดดัน ให้ทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ตลาดหุ้น ประกันภัย ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และจะช่วย บีบให้ระบบการเงินของประเทศที่พึ่งพิงระบบธนาคารค่อยๆ
ปรับเปลี่ยนไป
"ระดับอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตราสารหนี้เป็น ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่นักลงทุนต้องเข้าใจ
ว่าการลงทุนตราสารหนี้มีความเสี่ยง ไม่เหมือน กับการฝากเงิน" ธีระ ภู่ตระกูล
กรรมการ ผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์กล่าว
ที่สำคัญ รัฐบาลได้ประโยชน์ด้วย โดย เฉพาะในช่วงที่มีปัญหาหนี้สาธารณะค่อนข้าง
มาก เพราะสามารถออกพันธบัตรได้ในราคาที่ ถูกลง "แต่รัฐบาลไม่ควรปล่อยให้กลไกตลาด
ทำงานอย่างเดียว จะต้องมีมาตรการเชิงรุกมาก กว่านี้" ดร.อนุสรณ์กล่าว
หากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศปัจจุบันที่ให้อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ต่ำสุด
0.25% และดอก เบี้ยเงินฝากประจำ 3-6 เดือน ต่ำสุด 1.50% นั้น อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ไทยเสนอก็ยังนับว่าสูงกว่ามาก
ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย เกิดจากพื้นฐานธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่แสวงหา
กำไร ขณะเดียวกันก็จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย หากดูข้อเท็จจริงพบว่า
สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีฐานเงินฝากและเงินกู้มาก การเคลื่อนไหวอะไรก็จะมีผลกระทบต่อคน
จำนวนมาก ขณะที่ธนาคารต่างชาติมีฐานแคบกว่า และอาจจะคำนึงถึงลูกค้าน้อยกว่าธนาคาร
ท้อง ถิ่น อย่างไรก็ดี การลดดอกเบี้ยแต่ละครั้งขึ้นอยู่ กับนโยบาย การบริหารและโครงสร้างทางการ
เงินของแต่ละธนาคาร หากธนาคารไหนไม่ จำเป็นต้องพึ่งพิงการระดมเงินจากการฝากเงิน
แล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยจึงกระทำได้ง่าย
การลดดอกเบี้ยครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งสุด ท้าย ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างได้ผล
แต่ถ้าธนาคารประกาศลดดอกเบี้ยอีก หมายความว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาขนาดใหญ่
คือ กับดักสภาพคล่อง ซึ่งจะ เหมือนที่ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาอยู่ในขณะนี้
"ถ้าเป็นเช่นนั้น ให้รัฐบาลทบทวนการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจ
และหันมาเน้นมาตรการทางการคลัง เน้นการส่งออก เหมือนที่ญี่ปุ่นหันมาเน้นการใช้จ่ายภาครัฐ"
ดร.อนุสรณ์บอก
หากมองถึงการหาทางออกของธนาคาร พบว่าควรจะเพิ่มทุนมากกว่าลดดอกเบี้ย เพราะ
การเพิ่มทุน คือ Equity Financing ซึ่งจะทำให้ธนาคารแข็งแกร่งขึ้น และกระทำได้ง่ายกว่าเมื่อ
เทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารเลือกลดดอกเบี้ย ก็เป็นไปตามธรรมชาติของธนาคารหรือเจ้าของธนาคารที่พยายามหลีกเลี่ยงวิธีเพิ่ม
ทุน "ต้องเห็นใจเจ้าของธนาคารที่รักษาความ เป็นเจ้าของไว้" นายธนาคารแห่งหนึ่งบอก