การร่วมมือกันระหว่างจีอี ซิลิโคนส์กับชิน เอทสุ เพื่อสร้างโรงงานผลิตซิลิโคนในไทย
นับเป็นการลงทุน ครั้งสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับทั้งสอง และ การลงทุนครั้งนี้ยังทำให้การลงทุนครั้งที่ผ่านมาดูเล็กไปถนัดตา
เมื่อประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมา ผู้บริหารของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ
นำโดยสถาพร กวิตานนท์ เลขาธิการบีโอไอ มีโอกาสเดินทางไปนิวยอร์ก เพื่อเยี่ยมชมโรงงาน
ผลิตพลาสติกของจีอี พลาสติกส์
การเดินทางไปครั้งนั้น จุดมุ่งหมายของ บีโอไอ คือ พบปะผู้บริหารของจีอี
ซิลิโคนส์ ซึ่ง เป็นแผนกธุรกิจของจีอี พลาสติกส์ เพื่อเชิญชวน ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยทางด้านอุตสาห-กรรมซิลิโคน
นอกจากนี้คณะผู้บริหารของบีโอไอยังมี โอกาสพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชิน
เอทสุ เคมิคอล เจ้าของธุรกิจซิลิโคนเบอร์หนึ่งของญี่ปุ่น และอันดับสี่ของโลก
ซึ่งจีอี ซิลิโคนส์ และชิน เอทสุ กำลังมองหาประเทศแถบเอเชีย แปซิฟิกในการขยายฐานการผลิตซิลิโคน
"ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา เราได้พบปะอย่างใกล้ชิดกับผู้บริหารทั้งสองบริษัท"
สถาพรบอก
โครงการสร้างโรงงานผลิตซิลิโคนของจีอี ซิลิโคนส์และชิน เอทสุ ในไทยถูกปิดเป็นความ
ลับมาตลอดระยะเวลาของการเจรจากับบีโอไอ ถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจาก
สื่อมวลชนเป็นอย่างมาก
"ตลอดเวลาที่ประสานงานกัน เราภูมิใจ ที่สามารถเก็บข้อมูลการเกิดโครงการนี้ได้ตามที่
ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนตัดสินใจได้โดยอิสระ ปราศจากการเฝ้าติดตาม
ของสื่อมวลชน" สถาพรบอก และว่า "เราพยา ยามผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นในไทย"
ความคิดริเริ่มซึ่งได้รับแรงผลักดันที่สำคัญ ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา
หลังจากเยือนประเทศไทยของอดีตประธานกรรมการ จีอี จอห์น เอฟ เวลซ์
ในที่สุด จีอี ซิลิโคนส์และชิน เอทสุ ตัด สินใจจับมือกันสร้างโรงงานผลิตซิลิโคนในไทย
ภายใต้ชื่อ บริษัทเอเชีย ซิลิโคนส์ โมโนเมอร์ จำกัด มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ
255 ล้าน เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,500 ล้านบาท) นับเป็นโรงงานแห่งแรกที่เกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิกที่
ใหญ่ที่สุดและเป็นครั้งแรกที่ชิน เอทสุ เข้ามาลงทุนในไทย
"การตัดสินใจของจีอีที่จะเข้ามาตั้งโรงงานในเมืองไทยได้รับแรงสนับสนุนจากขนาดธุรกิจที่จีอีมีอยู่ในไทย
ตลอดจนความเชื่อมั่นในเสถียรภาพระยะยาวของประเทศและ ความสามารถของคนไทย"
วิลเลี่ยม ดริสโคล จูเนียร์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป จีอี ซิลิโคนส์กล่าว
นอกจากนี้เขายังได้แสดงความยอม รับบทบาทของบีโอไอในการดึงดูดการลงทุนโครงการนี้มาสู่ประเทศไทย
บริษัทร่วมทุนดังกล่าวมีชื่อว่าเอเชีย ซิลิ โคนส์ โมโนเมอร์ เป็นการร่วมทุนของจีอีและโตชิบา
ถือหุ้นร่วมกัน 50% และชิน เอทสุ เคมิ คอล ถือหุ้น 50%
ในวันเปิดตัวโครงการดังกล่าว ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทุกแขนงทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากเป็นโครงการขนาดใหญ่แล้วยังเป็นโครงการที่เกิดขึ้นในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทยอีกด้วย
"เมื่อพิจารณาเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม ตลอดจนความสะดวกสบายในคมนาคมขนส่งทำให้เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งในการตัดสินใจลงทุน"
โฮซามุ ฮิอุระ กรรมการผู้จัดการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปแผนกซิลิโคนของชิน
เอทสุกล่าว และว่า "การตัดสินใจลงทุน ในโครงการขนาดใหญ่ระดับนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น
ไม่ง่ายนัก"
ซิลิโคนเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานในระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตเชิงอุตสาหกรรมของยุค
อนาคต เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวันของมนุษย์อาจจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซิลิโคน
กันอยู่ทุกวัน โดยไม่ทันตระหนักว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีซิลิโคนเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
ซิลิโคนดังกล่าวมีอยู่ตั้งแต่ในแชมพูสระ ผม กาวที่ติดแสตมป์และแผ่นสติ๊กเกอร์
รวมทั้งใช้ทำจุกขวดนมเด็กและเครื่องสำอาง ไปจนถึงแผ่นฝาด้านนอก กระสวยอวกาศ
รองเท้ามนุษย์อวกาศ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโครงการร่วมทุนนี้จึงเกิดขึ้น "ขณะนี้การเติบโตของซิลิโคนในภูมิ
ภาคเอเชียประมาณ 10% ต่อปี ซึ่งนับว่าสูงมาก ส่วนทั่วโลกความต้องการซิลิโคนประมาณ
7,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี" ดริสโคล จูเนียร์บอก
ซิลิโคนเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรม หลายแขนง ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซิลิโคนจึงมีความหลากหลาย
และอุตสาหกรรมซิลิ โคนก็มีอัตราการเติบโตที่สม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น
"ในเอเชียของเรามีความต้องการซิลิโคน อยู่สูงมาก คาดว่าการเติบโตของความต้องการ
จะยังคงอยู่ในอัตราที่สูงในระดับตัวเลขสองหลัก ต่อไปในอนาคต" โอซามุกล่าว
โครงการร่วมทุนครั้งนี้จะมีการใช้เทคโน โลยีล่าสุดจากกลุ่มจีอีและชิน เอทสุ
โดยโครง การดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในโครงการที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน
ซึ่งวัตถุดิบที่ผลิตจากโรงงานร่วมทุนแห่งนี้เกือบทั้งหมด จะนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องของหุ้นส่วนทั้งสองในเอเชีย
กระนั้นก็ดี ด้วยศักยภาพของการดำเนิน ธุรกิจทั้งจีอีและชิน เอทสุ สามารถที่จะลงทุนด้วยตัวเอง
แต่การจับมือกันครั้งนี้ทั้งสองพิจารณาแล้วได้ประโยชน์มากกว่าที่ต่างคนต่างลงทุน
โดยเฉพาะหากพิจารณาเม็ด เงินลงทุนนับว่าเป็น ตัวเลขที่สูงมาก
อีกทั้ง หากตลาดซิลิโคนเติบโตไปตามที่ ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ หมายความว่าจะต้องมีการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นและต้องใช้เทคโน
โลยีที่สูงมาก จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้ ต้นทุนต่ำที่สุด
อย่างไรก็ตาม การขยายการลงทุนต่อไป ในอนาคตทั้งสองฝ่ายเป็นเรื่องลำบากที่จะตั้งเป้า
ในสถานการณ์ปัจจุบัน "ขึ้นอยู่กับการเติบโตของตลาด แต่ถ้าให้คาดการณ์ตอนนี้คงอีก
5 ปี ข้างหน้า" ดริสโคล จูเนียร์กล่าว
ขณะที่ชิน เอทสุ ยังไม่สามารถที่จะคาด การณ์ถึงเรื่องการขยายในอนาคต เพราะการเข้ามาลงทุนในไทยเป็นครั้งแรก
และไม่ใช่มาคนเดียวแต่ได้หุ้นส่วนที่แข็งแกร่งอย่างจีอี ถือว่า เป็นความโชคดีของชิน
เอทสุ อย่างมาก
"ปัจจุบันไม่มีแผนการจะขยายการลงทุน เรากำลังรอโอกาส" โอซามุบอก
ชิน เอทสุ เคมิคอล ถือกำเนิดขึ้นในปี 2469 โดยเริ่มจากการเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยเคมีก่อน
จากนั้นเริ่มต้นผลิตซิลิโคนในเชิงอุตสาหกรรม ตามด้วยผลิตโพลีไวนีลคลอไรด์และซิลิคอนสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
จาก นั้นได้ขายธุรกิจออกไปในวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนา
คมผ่านสื่อนำแสง
ปัจจุบันมีบริษัทในเครือทั้งสิ้น 116 บริษัท มีฐานการผลิตหลักอยู่ในญี่ปุ่น
อเมริกา สกอต แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ มียอดขายรวม
679,859 ล้านเยน (ประมาณ 6,400 ล้านเหรียญสหรัฐ) มีกำไรสุทธิ 48,229 ล้านเยน
(ประมาณ 455 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ด้านจีอี ซิลิโคนส์เป็นแผนกธุรกิจมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐของจีอี
พลาสติกส์ ซึ่ง เป็นผู้ผลิตซิลิโคนรายใหญ่ของโลก มีผลิตภัณฑ์ กว่า 4,000
ชนิด สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ใช้ซิลิโคนทุกประเภท
ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกของจีอี ซิลิโคนส์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น
มีกิจการซึ่งดำเนิน งานภายใต้บริษัทจี โตชิบา ซิลิโคนส์ เป็นการ ร่วมทุนระหว่างจีอีและโตชิบา
คอร์ปอเรชั่น