Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538
ซอฟท์แวร์เกม             
โดย วรสิทธิ ใจงาม
 


   
search resources

Software




ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์กำลังสนใจไปที่ซอฟต์แวร์เพื่อการทำงาน กรือกรณีมัลติมีเดียก็มักจะนึกถึงซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา แต่ซอฟต์แวร์ที่ยิ่งใหญ่แท้จริงและเป็นอนาคตของโลกวิทยาการ อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากนั้น คือ ตลาดซอฟต์แวร์ "เกม" ซึ่งในไทยก็เป็นตลาดที่ใหญ่มาก แต่ดูเหมือนว่ายักษ์ใหญ่ยังให้ความสนใจน้อยมาก เพราะคู่ต่อกรมีเยอะเหลือเกิน!

ว่ากันว่า ในปีหนึ่งๆ ตลาดวิดีโอเกมที่เล่นกับทีวีในอเมริกาสามารถทำเงินได้มากกว่ายอดขายตั๋วของหนังฮอลลีวู้ดทุกเรื่องรวมกันเสียอีก ซึ่งจากยอดขายทั่วโลกในปีที่ผ่านมานับคร่าวๆ ไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์

ภาพยนตร์ทุกเรื่องของฮอลลีวู้ด หลังจากที่ฉายผ่านโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว จะแปรรูปออกมาเป็นเกมมากมายเกือบทุกเรื่องที่ทำเงินและทำรายได้ต่อเนื่องระยะยาว

เกมวิดีโอเกือบทั้งหมดเป็นเกมออริจินัลหรือเรียกกันว่าเกมของแท้ๆ กันเลย จะหาเกมก๊อบปี้เช่นที่เมืองไทยที่มีอยู่ดาษดื่นนั้นยากมาก

ตลาดเกมนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือซอฟต์แวร์เกมที่เล่นสำหรับคอมพิวเตอร์และสำหรับเล่นกับทีวี

แน่นอนที่ซอฟต์แวร์เกมสำหรับทีวีหรือวิดีโอเกมนั้นมีตลาดที่ใหญ่มหาศาลเพราะเป็นสินค้าประจำครัวเรือน เพียงซื้อเครื่องเล่นมาติดตั้งเพิ่มเข้าไปก็เล่นได้ขณะที่ซอฟต์แวร์เกมก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะความตื่นตัวในเรื่องมัลติมีเดียที่ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่สามารถใช้ได้สารพัดประโยชน์ ทั้งเพื่อการศึกษาการทำงานและเพื่อความบันเทิงคือเล่นเกม

ฮาร์ดแวร์สำหรับเล่นวิดีโอเกมพัฒนาไปมาก และแตกต่างกันตามผู้ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตทีวีรายใหญ่ ทั้งโซนี่ พานาโซนิค ฟิลิปส์ และผู้ผลิตซอฟต์แวร์ดั้งเดิม เช่น เซก้า นินเทนโด้ และอาตาริ

การประเมินตัวเลขของวิดีโอเกมในไทยทำได้ลำบากค่อนข้างมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นสินค้าหนีภาษี ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้นำเข้าที่หลากหลายไม่ปรากฏตัวชัดเจนและยังไม่มีผู้ค้ารายใหญ่แท้จริง

โดยเฉพาะยังไม่มีผู้นำเข้าที่ได้รับลิขสิทธิ์จากต่างประเทศเลย หรือหากจะมีก็ยังครองตลาดได้เล็กมากเพราะได้รับผลกระทบจากซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

ย่านแรกที่เปิดตลาดเกมอยู่ที่สะพานเหล็ก ต่อมาคอมพิวเตอร์อาตาริเริ่มเข้ามาทำตลาด ซึ่งในขณะนั้นฮาร์ดแวร์ราคาประมาณ 7,000 กว่าบาทพร้อมๆ กับเกมที่มีราคาตั้งแต่ 1,000-2,000 บาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสำหรับการเล่นเกมตลาดจึงยังไม่แพร่หลายมากนัก

จากนั้นมาไม่กี่ปีก็มียี่ห้ออื่นๆ ตามมาอีกมาก ซึ่งทั้งหมดเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ โดยเป็นการลักลอบนำเข้าแบบผิดกฎหมายเกือบทั้งสิ้น

ในปี 2530 เริ่มมีการนำเข้าเกมของนินเทนโด้และเซก้า เข้ามาในประเทศไทย ขายเกมในราคาประมาณ 4,200 บาท ตลาดเริ่มฮิตมากขึ้น จากนั้นปี 2532 บริษัทแฟมิลี่เริ่มผลิตวิดีโอเกม และตั้งราคาต่ำกว่านินเทนโด้ประมาณ 1,000 กว่าบาท แต่ความนิยมสูงสุดก็ยังอยู่ที่นินเทนโด้และเซก้า เนื่องจากมีเกมที่น่าสนใจกว่าค่ายอื่น

เครื่องเล่นเกมที่ราคาลดต่ำลงมากมีส่วนสำคัญทำให้ตลาดเกมเติบโตอย่างรวดเร็ว ราคาเครื่องเล่นเกมแบบธรรมดาที่สุดที่เคยตั้งราคาที่ 3,000-4,000 บาท หาซื้อได้ในราคาเพียง 900-1,000 บาทราคาตลับเกมตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไปแล้วแต่ความนิยม

ตลาดเกมพลิกโฉมครั้งใหญ่เมื่อ 5 ปีที่แล้วเมื่อซอฟต์แวร์เกมแปรรูปออกมาเป็นแผ่นดิสเกตต์ จากที่เคยขายเป็นตลับ บางตลับที่มีความจุเมกะไบต์มากราคาอาจสูงถึง 2,000 บาท

แต่เมื่อกลับกลายเป็นแผ่นดิสก์ซึ่งเป็นก๊อบปี้ละเมิดลิขสิทธิ์ราคาขายเพียง 40-70 บาท เพียงแต่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเล่นเกม ซึ่งราคาประมาณ 10,000-12,000 บาท อันเป็นการลงทุนครั้งเดียว แต่คุ้มค่าเพราะเล่นเกมได้ไม่สิ้นสุด

เครื่องที่ใช้เล่นกับแผ่นดิสเกตต์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ FR 420 ของบริษัทแฟมิลี่ บริษัทคนไทย แต่ผลิตเพียงฮาร์ดแวร์ ตัวซอฟต์แวร์ยังไม่ได้เป็นผู้นำเข้าลิขสิทธิ์ เครื่องรุ่นซูเปอร์นินเทนโด้ และของเซก้าบางรุ่นซึ่งมีทั้งรุ่นนำเข้าและประกอบในไทยซึ่งไม่เคยปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ผลิต

มีแต่การบอกว่ามาจากคลองถม รวมทั้งตัวซอฟต์แวร์ที่ร้านค้าส่วนใหญ่ก็บอกว่ามาจากคลองถมเช่นกัน

เกมพัฒนาออกไปมากขึ้น ปี พ.ศ.2538 พานาโซนิคเริ่มนำเข้า 3DO เข้าสู่ตลาดราคาเครื่องประมาณ 10,000 ขึ้นไป แต่เกมซึ่งเป็นแผ่นซีดีรอมยังมีราคาสูงประมาณ 1,000-2,000 บาท และเกมยังมีให้เลือกน้อย ส่วนที่ดีที่สุดคือ ลักษณะเกมเหมือนจริงและเร้าใจผู้เล่นมาก จนอาจจะเป็นความนิยมในอนาคต

แหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่ย่านคลองถม มาบุญครอง และศูนย์การค้าต่างๆ ร้านแห่งหนึ่งในมาบุญครอง ขายเครื่องเล่นเกมซูเปอร์ 32 บิต ซึ่งเป็นเครื่องที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งสำหรับเล่นเกมแผ่นดิสก์ราคาเครื่องละ 12,000 บาทได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ เฉลี่ยวันละ 5-7 เครื่องส่วนแผ่นเกมขายได้แบบสบายๆ

วงจรสินค้าซอฟต์แวร์เกมหนึ่งๆ จะอยู่ระยะไม่เกิน 6 เดือน กลยุทธ์การขายคือออกเกมให้ทันและเร็วก่อนคนอื่นเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงตลาด

เมื่อพูดถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ ผู้ขายวิดีโอเกมรายหนึ่งย่านสะพานเหล็กกล่าวว่า "จับก็จับไป ไม่เห็นกลัวเลย ก็อยากรู้เหมือนกันว่าหลัง 21 มีนาคม นั้นจะเป็นยังไง"

ไม่เพียงเธอเท่านั้น อีกกว่า 40 ร้านในย่านดังกล่าว กับอีก 4 ร้านที่ย่านคลองถม รวมทั้งอีก 12 ร้านที่ตึกมาบุญครอง ก็กล่าวเช่นเดียวกันกับเธอ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าที่ผ่านมาบ้านเรายังไม่มีบริษัทใดเป็นตัวแทนจำหน่ายเกมวิดีโออย่างถูกต้องเลย ฉะนั้นจึงไม่มีผู้เสียหายที่จะมาร้องทุกข์และก็ยังไม่มีผู้ค้ารายใดสนใจที่จะขายเกมวิดีโอชนิดที่เป็นลิขสิทธิ์เพียวๆ กันแต่กต่างจากกรณีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่มีกลุ่มบีเอสเอเป็นผู้ติดตามเรื่องลิขสิทธิ์

ตลาดวิดีโอเกมที่ผ่านมาจึงเป็นตลาดก๊อบปี้ทั้งหมด และเป็นตลาดที่กอบโกยเงินได้ง่ายเสียเหลือเกินเพียงแค่ซื้อเกมลิขสิทธิ์มา 1 เกม ประมาณ 1,000 บาทก็สามารถก๊อบปี้ขายได้เป็นหมื่น

ขณะที่ในสหรัฐฯ จะทำได้ลำบาก เพราะห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายเครื่องแปลงที่สามารถที่สามารถก๊อบปี้เกมส์ชนิดไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นตลับหรือเป็นแผ่นซีดีแต่เมืองไทยไม่ห้าม

จากกรณีที่ตลาดเกมเป็นตลาดที่มีการก๊อบปี้กันเกือบทั้งหมดนั้น ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวว่า ทางทรมทรัพย์สินและตำรวจเศรษฐกิจก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ แต่เป็นเพราะว่าที่ผ่านมาไม่มีผู้มาร้องทุกข์ว่าเป็นผู้เสียหาย

"เราก็หนักใจเหมือนกัน ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หากฟ้องก็เป็นในลักษณะฟ้องคนเดียวคือเราแล้วหากไม่มีเจ้าทุกข์มาช่วยฟ้องด้วยเพื่อพิสูจน์ว่า สินค้านี้เป็นสินค้าเลียนแบบเหล่านี้เป็นเรื่องปวดหัว พลาดพลั้งไปก็มีสิทธิ์โดนฟ้องกลับได้ยุ่งเหมือนกัน" รอ.สุชาติกล่าว

อย่างไรก็ตาม ร.อ.สุชาติเชื่อว่าระบบการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จะทำให้เกิดการกระตุ้นให้คนสร้างงานมากขึ้น เช่นที่ฮ่องกงก่อนที่จะมีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กว่า 70% จะเป็นการส่งเงินเป็นค่าลิขสิทธิ์ให้ต่างประเทศทั้งหมด แต่เมื่อมีกฎหมายลิขสิทธิ์บังคับใช้ปรากฏว่าการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในฮ่องกง กลับมีมากกว่าค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายให้ต่างประเทศเสียอีกนี่จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดว่า กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นตัวส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์งานมากขึ้น

แต่แม้ว่ากฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับแล้ว ในเรื่องเกมก็ยังดูเป็นเรื่องที่คาดการณ์กันยากว่าจะออกมาในรูปแบบใด

นอกเหนือจากการดำเนินการทางด้านกฎหมายหนทางหนึ่งในเรื่องเกมคือต้องระบุโทษสำหรับผู้ที่นำเข้าเครื่องแปลงที่สามารถก๊อบปี้เกมจากตลับ จากซีดีหรือจากที่ใดก็แล้วแต่ลงสู่แผ่นดิสเกตต์ 3 นิ้วให้รุนแรงหรือห้ามนำเข้า

แต่บทบาทที่แท้จริงอยู่ที่บริษัทเอกชนเจ้าของลิขสิทธิ์เองที่ผ่านมาบริษัทต่างชาติเหล่านี้มองตลาดไทยเป็นตลาดที่เล็กมาก จึงไม่ให้ความสำคัญนัก

แต่นับจากนี้อาจจะมีความเคลื่อนไหวที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลง

มีกระแสข่าวว่าบริษัทผู้ผลิตอย่าง โซนี่ พานาโซนิค และอีกหลายเจ้าเริ่มสนใจที่จะทำการจัดจำหน่ายและหาตัวแทนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

กรณีที่อาจไม่แตกต่างจากการ์ตูนญี่ปุ่นคือบริษัทคนไทยเองที่กำลังแสวงหาลิขสิทธิ์เพื่อเข้าสู่ตลาดแห่งนี้

บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ เริ่มออกข่าวว่า บริษัทได้ดำเนินการขอลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายเกมที่ขายดีเป็นอันดับสองในสหรัฐฯ คือ "เซก้า" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเจรจาขอเป็นตัวแทนเกมค่ายนินเทนโด้ที่ขายดีที่สุดในโลกอีกด้วย"

ซึ่งหากเป็นจริง ภารกิจของมีเดีย ออฟ มีเดียส์ ที่เหนื่อยยิ่งกว่าการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์คือการออกสงครามสู้กับผู้ละเมิดทั้งหลาย

"ผมคงไม่ใจร้ายฟ้องร้องเขาทันทีหรอก เพราะอย่างไรก็คนไทยด้วยกัน เราคงต้องเรียกมาเจรจาว่าจะเป็นตัวแทนจำหน่ายเราก็ต้องเลิกขายเกมเซก้าและนินเทนโด้ที่เรากำลังเจรจาขอเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ ส่วนค่ายอื่นๆ ก็ดูว่าจะเริ่มเหมือนกับเรา ฉะนั้นผู้ค้าที่แต่เดิมขายเกมก๊อบปี้นั้นจะทำไม่ได้แล้ว ต้องหันมาขายเกมลิขสิทธิ์อย่างเดียว ไม่เช่นนั้นหากดื้อขายและทำการก๊อบปี้อยู่อีกละก็ คงต้องดำเนินคดีทางกฎหมายกันซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย" ไพรัตน์ เสนาจักร์ ผู้บริหารคนหนึ่งของ มีเดีย ออฟ มีเดียส์ กล่าว

คำขู่ของไพรัตน์จะได้รับความสนใจมากน้อยเพียงใดอยู่ที่ว่า มีเดีย ออฟ มีเดียส์ ได้รับลิขสิทธิ์มาจริงหรือไม่และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

การช่วงชิงโอกาสที่ดีที่สุดครั้งนี้ของ มีเดีย ออฟ มีเดียส์ คือออกข่าวก่อนคู่แข่งรายอื่นๆ ที่อาจจะตามมา

ซึ่งหากเป็นจริงนักเล่นเกมคงหมดยุคซื้อเกมแผ่นละ 40 บาทต่อไปได้อีกแล้ว !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us