Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
กรุงเทพฯ เปลี่ยนได้             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
search resources

Environment
เมธาคุณ ตุงคะสมิต, ดร.




เมื่อคนที่อยู่กรุงเทพฯ ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ สาธารณูปโภคที่ใช้ไม่ใช่ของคนกรุงเทพฯ แต่ปัญหามากมายรุมเร้าอยู่ในเมืองใหญ่เมืองนี้ แล้วอย่างนี้ชีวิตในกรุงเทพฯ จะเปลี่ยนไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้ไหม หากเริ่มต้นคิดถึงปัญหาอาจจะทำให้หลายคนท้อก่อนเห็นทางแก้ แต่การหาทางออกด้วยนวัตกรรมสังคมอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ว่า “กรุงเทพฯ เปลี่ยนได้...ไม่ยากเลย”

“ตอนนี้คนกรุงเทพฯ มีความขัดแย้งในใจตัวเองทุกคนเลย ใจหนึ่งก็โหยหาชีวิตหรูหราสะดวกสบาย ขณะเดียวกันก็โหยหาชีวิตที่มันเป็นธรรมชาติ ความขัดแย้งตัวนี้นี่แหละที่จะทำให้เกิด Social change หรือ Social Innovation” ดร.เมธาคุณ ตุงคะสมิต นักวิชาการและนักวางกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (วิสาหกิจของ กทม.) อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญประจำและคณะทำงานพัฒนาศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง กรุงเทพมหานคร ฉายภาพคนกรุงเทพฯ ที่หลายคนคงพยักหน้าตาม

ดร.เมธาคุณเป็นคนทำงานด้านสิ่งแวด ล้อมรุ่นใหม่ที่เข้าไปมีบทบาทต่อการขับเคลื่อน กรุงเทพมหานครผ่านการวางนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง ขณะเดียวกันงานประจำจากการเป็นอาจารย์ด้านนวัตกรรมสังคมที่ทำอยู่นั้น ทำให้เขาเลือกใช้แนวคิดบนหลักการที่ไม่ซับซ้อนเพื่อเป็น Change agent ที่ค่อยๆ เปลี่ยนกรุงเทพฯ สู่สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเดิมในบริบทของสังคมความขัดแย้งในใจก็ไม่ต่างอะไรกับความขัดแย้งเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วไป ที่ทำให้เกิดผลทั้งด้านบวกด้านลบ ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเหล่านี้มักจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ด้านใดด้านหนึ่งเสมอ และเมื่อนำมารวมกับนิยามในเชิงนวัตกรรมสังคม หรือการดำเนินงานภายใต้สภาพและบริบทที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่ทางออกในระดับที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอุดมการณ์หรือการบังคับด้วยกฎหมายการชั่งน้ำหนักความขัดแย้งก็คือกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

การมองการแก้ปัญหาแบบนวัตกรรมสังคมเป็นแนวทางที่ ดร.เมธาคุณหยิบมาใช้ในการวางกลยุทธ์เปลี่ยนสังคม โดยนำมาใช้ร่วมกับทฤษฎี Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งนิยมใช้กันในวงการธุรกิจต่างๆ มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ปัญหาของสังคม โดยจะต้องให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่ายโดยสมัครใจ

ทฤษฎีนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยปริญญาเอกของเขาเมื่อปี 2546 ซึ่งเลือกทำกรณีศึกษาเกี่ยวกับขยะที่จังหวัดภูเก็ต เขาค้น พบว่า ความรู้สึกมีส่วนได้ส่วนเสียของผู้บริโภค หรือคนในชุมชน ยิ่งเล็ก ยิ่งใกล้ชิด ก็ยิ่งสร้าง จิตสำนึกที่ดีต่อผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนสูงขึ้น ดังนั้นถ้าจะมองว่าเมื่อทุกคนมีบทบาทของการเป็นผู้บริโภคในตัว นั่นเท่ากับทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรธุรกิจต่างๆ เพียงแต่ว่า แต่ละคนจะอยู่ในบทบาทที่ต่างกัน เช่น ภาคเอกชน ราชการ นักการเมือง นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน จุดร่วมของการเป็นสเต๊กโฮลเดอร์ นี่แหละที่จะกลไกในการเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆ ในสังคม

“ทางเดียวที่กำหนดทิศทางขององค์กร ธุรกิจได้คือ สเต๊กโฮลเดอร์ ในอดีตสเต๊กโฮลเดอร์ที่เข้มแข็งที่สุดคือนายทุน เพราะเป็นยุคใครถือเงินใหญ่สุด แต่ตอนนี้แค่ถือเงินไม่พอต้องเป็นคนที่ถือเงินแล้วบอกได้ด้วยว่า นอกจากจะทำธุรกิจให้กำไรแล้วเขาต้องเป็นคนดีและรับผิดชอบต่อธุรกิจของตัวเอง การบริหารสเต๊กโฮลเดอร์ให้ดีทุกฝ่ายต้องก้าวไปด้วยกัน”

ดร.เมธาคุณค่อนข้างเชื่อมั่นในการใช้ธุรกิจหรือกลไกทางเศรษฐศาสตร์เป็นตัวนำในการเปลี่ยนแปลงสังคม นั่นเพราะว่าเกือบทุกส่วนในสังคมทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเม็ดเงินจากธุรกิจที่กระจายออกไปยังส่วนต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ขยะที่เหลือทิ้งออกมาจากชุมชน ก็เริ่มต้นมาจากระบบของธุรกิจเช่นกัน

จากประสบการณ์การทำงานปีเศษใน กทม. ทำให้ ดร.เมธาคุณเชื่อว่าการเปลี่ยน แปลงกรุงเทพฯ เริ่มต้นได้ด้วยแนวทางเดียว กันนี้เช่นกัน เขาจึงเริ่มต้นเปลี่ยนกรุงเทพฯ สู่เมืองสีเขียวตามแนวของผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครคนปัจจุบัน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ด้วยเรื่องขยะ ภายใต้บทบาทที่เขามีอยู่ในฐานะ นักวางกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม

ขยะคือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถเป็นตัวประจาน กทม.ได้ตั้งแต่ระบบการจัดการไปถึงการสะท้อนคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ปัจจุบัน กทม.มีปริมาณขยะวันละประมาณ 10,000 ตัน และกำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ นอกเหนือจากอีกหลายเรื่องใน กทม.ที่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันทีละนิด ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุง ระบบขนส่งมวลชน การจัดผังเมือง และงานศึกษาวิจัยเรื่องต่างๆ

“ปัญหาของ กทม.ไม่ได้อยู่ที่ผู้บริหาร แต่อยู่ที่อำนาจในการบริหารจัดการ กทม. เป็นแหล่งรวมสาธารณูปโภคมากมาย แต่ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา ขนส่งมวลชน ทุกอย่างไม่ได้อยู่ในอำนาจการจัดการของ กทม.เลย สิ่งที่ดีที่สุดของ กทม.คือคน คน กทม.ตั้งแต่ระดับรากหญ้ามีอิทธิพลสูง ไม่ได้เป็นแค่รากหญ้าประเภทใช้แรงงาน แต่มีการศึกษาและต้องการสังคมที่ดีขึ้น และจำนวนไม่น้อยมีพื้นฐานในการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวตามสภาพถูกบังคับโดยเศรษฐกิจ ทำให้ต้องประหยัด เลือกสรร และปรับสภาพแวดล้อมของตัวเองให้ดีเพื่อความเป็นอยู่ที่เหมาะสม เมื่อเราสื่อสารให้เข้าใจประโยชน์ที่จะได้ถึงตัวเขาได้ ก็จะสามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงได้ การสื่อสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก”

งานสิ่งแวดล้อมที่ ดร.เมธาคุณเริ่มต้นด้วยเรื่องเดิมๆ อย่างขยะ เขาเริ่มด้วยการสื่อสารด้วยวิธีคิดง่ายๆ ไปยังชุมชนเป้าหมาย ต่างๆ ซึ่งอาจจะดูง่ายเกินไปด้วยซ้ำในสายตา นักบริหารจัดการที่เคยทำกันมา แต่เขาให้ประเด็นสำคัญว่า อยู่ที่ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องที่คนเข้าใจได้จริงได้ดีแค่ไหน

“เรื่องขยะพูดกันมาเยอะ แต่ผมก็เลือก จัดสัมมนาเรื่องขยะ กทม.เป็นงานแรก เอาชุมชนมาฟัง บอกเขาถึงปัญหาขยะ ถ้าไม่แยก ขยะเปียกจากขยะแห้งเขาจะฝังรวมกันหมด สุดท้ายก็เกิดก๊าซเรือนกระจก เชื่อไหมว่า ยังมีคนไม่เข้าใจ มีชุมชนบอกว่าเขาไม่รู้มาก่อน ถ้าบอกอย่างนี้ว่ามันสำคัญอย่างไรที่ต้องทำเขาก็ทำแล้ว ที่ผ่านมาส่วนใหญ่บอกให้ reuse recycles เขาไม่เข้าใจ”

และเพื่อไม่ต้องให้คิดเยอะปฏิบัติได้ทันที ดร.เมธาคุณให้หลักการง่ายๆ ในการจัดการขยะรอบตัวพวกเขาว่า “อันไหนที่ใช้ได้ เก็บไว้ใช้ ที่ขายได้เก็บไว้ขาย ที่ต้องทิ้งแยกทิ้งสองถัง แห้งกับเปียก”

เป็นความง่ายที่การจัดการแต่แทรกหัวใจความสำเร็จในเชิงเศรษฐศาสตร์ไว้ให้เห็น โดยไม่ต้องคิดถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการคัดแยกขยะ

“นี่คือหลักการที่ผมพูดกับชุมชน เพราะผมคิดว่าจะทำเรื่องขยะให้ยั่งยืนได้ ต้องได้ตังค์ ขั้นตอนต่อไป เมื่อเราจะพูดเรื่องการคัดแยกขยะถ้าคน กทม.ไม่ถนัดที่จะสื่อสาร เราก็เอาท์ซอสจ้างผู้เชี่ยวชาญมาจัดนิทรรศการเรื่องคัดแยกขยะตอกย้ำอีกที เท่านั้นก็ทำให้การสื่อสารได้ผลมากขึ้น กทม.ก็ได้ภาพของการสื่อสารกับคน กทม.ที่ทันสมัยในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย”

กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องขยะ กทม.ไม่ได้หยุดแค่ชุมชน แต่ภายใต้อำนาจการดำเนินงานของกรุงเทพธนาคม ซึ่งมีอำนาจบริหารจัดการโครงการภายใต้งบประมาณที่มีมูลค่าโครงการไม่เกินพันล้านบาท กำลังนำมาซึ่งการแก้ปัญหาขยะก้อนใหญ่ของกทม.อย่างเป็นระบบเพิ่มขึ้นด้วย

ที่ผ่านมา ครัวเรือนใน กทม.ที่แยกขยะ ด้วยตัวเอง ซาเล้งและนักคุ้ยขยะบวกกับพนักงานเก็บขยะกว่าพันคนที่กระจายเก็บขยะ ทั่ว กทม.รวมกัน สามารถลดปริมาณขยะ กทม.ลงไปได้ 1,000 ตัน จากปริมาณขยะทั้งหมดใน กทม.เฉลี่ยวันละ 10,000 ตัน เรียกว่า 1,000 ตันแรกนั้นผันไปเป็นรายได้ให้กับสเต๊กโฮลเดอร์ เป็นขยะที่มีมูลค่า เพิ่มโดยตรง คิดแล้วไม่ต่างจากการเป็นสินค้า ที่เพิ่มเงินในกระเป๋าให้กับคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่ง ดร.เมธาคุณประเมินว่าใน กทม.มีคนที่หากินอยู่กับขยะนับหมื่นคนเลยทีเดียว แต่ปริมาณขยะอีกวันละ 9,000 ตันที่เหลือ มีทั้งปัญหาและมูลค่าที่ กทม.ต้องจัดการในขั้นตอนต่อไป

กทม.มีหน้าที่ตั้งแต่เริ่มต้นขนส่งขยะคือจากแหล่งกำเนิดขยะมาสู่โรงจัดการขยะ ขยะจำนวนนี้ถูกแบ่งเป็น 2 สาย แต่ละสายมีบริษัทรับเหมากำจัดดูแลอยู่ด้วยอัตราค่าจ้าง กำจัดจาก กทม.ตันละ 500 บาท ด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำบวกกับสัมปทานในการรับกำจัด ระยะสั้นครั้งละ 5 ปี ขยะ กทม.จึงถูกจำกัดรูปแบบกำจัดไว้แค่การฝังกลบ และทำให้ขยะ อินทรีย์ซึ่งมีปริมาณสูงกลายเป็นเชื้อหมักชั้นดี ที่นอกจากส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งบริเวณพื้นที่ฝังกลบและบริเวณใกล้เคียงที่ลมพัดไปถึง ยังเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซมีเทนที่ส่งผลกระทบต่อโลกร้อนมากยิ่งกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า

“ผมมองว่าธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุด แต่มันสร้างงานและสร้าง ประโยชน์ให้กับคนที่เกี่ยวข้อง เหมือนซาเล้งที่มีมานานเพราะเขาเห็นโอกาสจากการขายของเก่าเราเพียงแค่เอากลไกเศรษฐศาสตร์มานำหน้าขยายผล วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดต่อทุกฝ่าย ผู้บริโภคได้ สังคมโดยรวมได้ กลไกเศรษฐศาสตร์ที่ดีของยุคนี้ต้องเป็น win-win เท่านั้น ไม่มี win-lose”

นั่นคือบทสรุปแนวคิดที่ ดร.เมธาคุณนำมาขยายผลต่อกับการบริหารจัดการขยะ เมื่อโจทย์มีว่า กทม.ต้องการให้การคัดแยกขยะ ปลายทางมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่จ่ายเท่าเดิม จะมีอะไรจูงใจให้ผู้รับกำจัดยอมลงทุนกับกองขยะ ของ กทม.มากกว่าแค่การฝังกลบ

“เราเริ่มจากเจรจากับผู้รับเหมาราคาเดิม แต่ให้แยกและจัดการขยะเพิ่มขึ้นมากกว่าฝังกลบ ทุกอย่างอย่างเดียว อะไรที่จะทำให้เขายอมทำ ถ้าสัมปทานแค่ 5 ปีทำให้เขาไม่มั่นใจที่จะลงทุนสร้างโรงคัดแยก กทม.ก็ไม่อยากจ่ายเพิ่ม ในขั้นต้น จึงลงตัวที่เราจะขยายอายุสัมปทานจาก 5 ปีให้นานขึ้น ส่วนเขาก็มีงานเพิ่มประสิทธิภาพขยะ”

การเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้นของปลายทาง ขยะจาก กทม. กำลังจะเปลี่ยนให้มีการคัดแยก สูงขึ้นโดยการลงทุนโรงคัดแยกขยะของผู้ได้รับสัมปทาน เป้าหมายเพื่อคัดแยกขยะที่สามารถนำ มาปั้นก้อนเพื่อเป็นพลังงานความร้อนจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งมีกฎหมายระบุให้เป็นผู้กำจัดขยะแทนเตาเผาขยะจากกระบวนการผลิตปูนที่ต้องใช้อุณหภูมิในการเผาไหม้สูง

“โรงปูนก็เป็นอีกสเต๊กโฮลเดอร์ที่เขาต้อง หาขยะมาเป็นเชื้อเพลิงส่วนหนึ่ง แต่ติดข้อแม้ว่าไม่มีบทบาทในการขนส่งขยะ หรือแม้แต่จะพูดว่า ขนขยะจากที่อื่นมาเผาในโรงปูน ก็จะเกิดความขัดแย้งกับชุมชนใกล้เคียงทันที เราเรียกโรงปูน 3 แห่งมานั่งคุย ทุกคนยินดีหากได้ขยะปั้นก้อนมา เป็นเชื้อเพลิง นั่นเท่ากับ win-win ทุกฝ่าย โรงขยะคัดแยกมีรายได้เพิ่มจากขยะปั้นก้อนที่ขายเป็นเชื้อเพลิง มีระยะเวลาสร้างรายได้อย่างมั่นคง โรงปูนมีเชื้อเพลิงที่เอาไปเคลมคาร์บอนเครดิตได้อีก คนกรุงเทพฯ ก็ไม่ต้องวุ่นวายประท้วงเพราะไม่จำเป็นต้องมีเตาเผาขยะ ผู้ว่าฯ กทม.เองซึ่งหาเสียงว่าจะทำให้ กทม.เป็นเมืองปลอดขยะ ก็มีแนวโน้มจะเป็นจริงได้และไม่ใช่แค่การเอาขยะ ไปทิ้งที่อื่น”

ทั้งหมดนี้คือทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียง่ายๆ ที่ ดร.เมธาคุณนำมาใช้จัดการขยะ เพื่อเปลี่ยน กทม.สู่เมืองสีเขียว โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ระดับบุคคลผู้อยู่อาศัยที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดในเมือง ไปสู่แหล่งรวมขยะกองโตที่ปลายทาง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในแบบง่ายๆ ที่เขาเชื่อว่ากลยุทธ์ที่ให้ประโยชน์กับทุกฝ่ายนั่นเองคือแก่นแท้ของการแก้ปัญหาในแบบนวัตกรรมสังคมที่เห็นผลและจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us