Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
ก้าวเข้าสู่...สังคมคาร์บอนต่ำ             
โดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร
 


   
search resources

Environment




สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society มีความหมายตรงตัว ไม่ได้ซับซ้อนอะไร กล่าวคือ เป็นสังคมที่ใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ (เชื้อเพลิงส่วนใหญ่อยู่ในรูปของคาร์บอน) โดยอาศัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงและพลังงานทดแทนใหม่ๆ เข้ามาแทนที่การใช้พลังงานแบบเดิมๆ แต่ยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดี

แนวคิดนี้ญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มและกำลังเป็นผู้นำในการปฏิบัติ รวมทั้งชักชวนประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศลูกหม้อในเอเชียให้เจริญรอยตามไปด้วย

เป็นที่รู้กันอยู่ว่า ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้นำเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในเอเชีย สิ่งที่ ญี่ปุ่นทำมิใช่มุ่งหวังแค่ผลด้านสิ่งแวดล้อม เท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายครอบคลุมไปถึงเศรษฐกิจการค้าของตนด้วย ญี่ปุ่นหวังว่าสังคมคาร์บอนต่ำจะต้องมีผลเปลี่ยนแปลงสังคมและวิถีชีวิตของชุมชนใหญ่น้อยของโลกในอนาคตข้างหน้า โดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำ ด้านเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ที่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางพลังงานใหม่ๆ ของญี่ปุ่นไปอีกหลายสิบปี ก่อนจะสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตนเองขึ้นมาได้ หรืออาจจะทำไม่ได้เลยเพราะมัวแต่ทะเลาะกันในสภาฯ

ญี่ปุ่นวางเป้าหมายการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำไว้ในเบื้องต้นว่า จากนี้ถึงปี 2020 จะเป็นช่วงทำความเข้าใจกับแนว คิดการบริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะมีการลดก๊าซได้เพียง 25% จากระดับในปี 1990

เป้าหมายระยะกลางจากปี 2020 ถึงปี 2030 เพิ่มการลดก๊าซเป็น 40% และก้าวกระโดดเป็น 80% ภายปี 2050 สำหรับเป้าหมายในระยะยาว ซึ่งจะเป็นจุดที่ประชาชนรุ่นใหม่มีความรู้ฝังอยู่ในจิตสำนึกโดยสมบูรณ์ และด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็น ชาติหนึ่งที่ไม่เคยยอมแพ้อะไรง่ายๆ และมีฐานการพัฒนาที่ล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นๆ อยู่หลายขุม จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป้าหมายที่วางไว้ คงเป็นไปได้ตามเป้า

หลายเรื่องที่ญี่ปุ่นพัฒนาและเป็นฐานที่ดีสู่การพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ล้ำหน้ากว่าใคร ยกตัวอย่างเช่น

- อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและซีเมนต์ซึ่งใช้พลังงานสูงมาก แต่ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานโดยสามารถผลิตเหล็กได้ด้วยการใช้พลังงานน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ถึง 1-1.25 เท่า

- ญี่ปุ่นมีระบบขนส่งมวลชนประสิทธิภาพสูง แพร่ขยายครอบคลุมเป็นสัดส่วนถึง 46.7% ขณะที่ประเทศชั้นนำอื่นๆ มีอัตราครอบคลุมน้อยกว่า ได้แก่ เยอรมนี 20.7% ฝรั่งเศส 16.1% สหรัฐฯ 22.4% และอังกฤษ 13.1%

- มีอัตราการเติบโตของยอดขายรถประหยัดพลังงาน เช่น รถยนต์ไฮบริดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007

- ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (solar cells) รายใหญ่ที่สุดในโลก

- ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นประหยัดพลังงานได้สูงที่สุดในโลก

- ญี่ปุ่นใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในสัดส่วนถึงหนึ่งในสาม

- และที่ภาคภูมิใจสุดๆ คือการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนช่วยในการลดโลกร้อนของญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดการลดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 2.55 ล้านตัน ในช่วงปี 2005-2006

กลไกที่ผลักดันให้นโยบายการพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดได้จริง ญี่ปุ่นทำทั้งภาคบังคับและสมัครใจ

ในการบังคับใช้วิธีกำหนดให้ผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ส่งรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรัฐ และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้สู่สาธารณชน

ส่วนมาตรการจูงใจและเชิญชวนใช้วิธีออกมาตรฐานประหยัดพลังงาน เชิญชวนให้เกิดการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากทำไม่ได้รัฐบาลจะแนะนำช่วยเหลือ เท่าที่ผ่านมามาตรการนี้ทำให้เกิดการแข่งขันในทางคุณภาพ เช่น เครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพสูงขึ้นถึง 42% ตู้เย็น 55% จอทีวีและคอมพิวเตอร์ 73.6%

ในด้านการบริหารปกครอง ก็มีมาตรการที่จะให้ท้องถิ่นต่างๆ ลดก๊าซตาม สภาพภูมิประเทศและสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน ตัวอย่างเช่น ในระดับประเทศ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สิ่งแวดล้อมประกาศตัวต่อประชาคมโลกว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำในการลดโลกร้อน ไม่ว่า มติจาก Post Kyoto Protocol จะออกมาเป็นอย่างไร สร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง จากระดับผู้บริหารประเทศสู่ประชาชนทั่วไป จนเท่าที่ผ่านมามีกิจกรรมออกมาเป็นรายวัน มีอาสาสมัครเป็นผู้ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติที่ดี รวมทั้งมีหลายกิจกรรมที่เป็นไปในทางพอเพียงเช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำกันในประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Eco-life”

และที่น่าจับตามองคือ มาตรการ “Local production for local consumption” หรือโครงการผลิตในท้องถิ่นและใช้ในท้องถิ่น โดยรัฐให้การรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งพาตนเองได้ แตกต่างจากบ้านเราที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นการรับรองเพื่อส่งไปขายในเมืองใหญ่และเมืองนอก แต่มีแนวโน้มกลายมาเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของนักลงทุนที่ใช้แรงงานของท้องถิ่น ประโยชน์จึงตกอยู่ที่นักลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านท้องถิ่นก็ยังคงยากจนอยู่เหมือนเดิม

ถ้าเป็นในสังคมเอง แนวทางหลักจะเน้นไปที่เรื่องนวัตกรรมการ Recycle ของเสียต่างๆ การส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน การจัดโซนนิ่งการใช้ที่ดินและการสร้าง green buildings ภายใต้การรณรงค์ อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน เช่น ส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจแบบ small office และ home office อุปกรณ์ไฟฟ้าและยานพาหนะมีจอติดตั้งเพื่อแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน สร้างอิมเมจของครอบครัวทันสมัยที่มีการประหยัดพลังงานทุกรูปแบบและมีสวนผักอยู่บนหลังคา โดยประเมินว่าครอบครัวหนึ่งมีศักยภาพลดคาร์บอนได้ถึง 50%

หากมองย้อนกลับมาที่บ้านเรา

เมืองไทยกำลังทำอะไรกันอยู่ เมืองไทยมิใช่ด้อยน้อยหน้าญี่ปุ่นจน เกินไป เรามีพื้นฐานของสังคมที่พอเพียงอยู่แล้ว มีภูมิปัญญา มีทรัพยากรธรรมชาติ เหลือเฟือ และมีศูนย์รวมของการร่วมแรงร่วมใจคือสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณริเริ่มโครงการต่างๆ ขึ้นมามากมายที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อปวงชนอย่างแท้จริง

หากเราพยายามชูจุดแข็งเหล่านี้ควบคู่ไปกับการค้นคว้านวัตกรรมที่เหมาะสม เราก็อาจก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างภาคภูมิใจไม่น้อย ขอแต่เพียงมีเจตนา ที่มุ่งมั่น อย่ากล้าๆ กลัวๆ อิงกับการพัฒนา เศรษฐกิจแบบ GDP มากจนเกินไป เราก็คงจะเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้

อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของไทยในหลายๆ ด้านยังมีช่องว่าง โดยเฉพาะการที่เรายังไม่มีความจริงจังในการผันนโยบายออกมาเป็นการปฏิบัติจริง เรายังคงไม่กล้าใช้กฎหมายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และการใช้ที่ดินอย่างจริงจัง

ซึ่งต้นตอของปัญหาก็หนีไม่พ้นอุปสรรคแบบเดิมๆ คือ การแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง การขาดธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ผู้บริหารผู้ปกครอง และจริยธรรมของนักลงทุน ซึ่งยังมีจำนวน ไม่น้อยที่ออกมาทำ CSR ด้วยอารมณ์เพื่อสร้างภาพมากกว่าคิดถึงสิ่งแวดล้อมส่วนรวมอย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us