|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

ปัญหาที่ท้าทายที่สุดของมวลมนุษยชาติ คือการลดความยากจนและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก หรือปัญหาโลกร้อน หลายประเทศเห็นว่าการสร้างความเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นกุญแจสำคัญที่จะลดความยากจนได้ แต่ขณะเดียวกันความต้องการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green house gas: GHG) ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติม ปัญหาโลกร้อนและจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเศรษฐกิจได้ จากจุดประสงค์แต่แรกของการสร้างความเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจก็เพื่อหวังจะขจัดความยากจน แต่กลับกลายเป็นการเร่งให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอันมีสาเหตุจากการที่โลกร้อนขึ้น ทั้งยังส่งผลกระทบต่อไปถึงความมั่นคงด้านอาหารของโลก จึงกลายเป็นวงจรอุบาทว์
ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะสร้างความเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการปรับตัวรับมือกับปัญหาโลกร้อน และการออกมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยลดปัญหา ส่วนอีกหนทางหนึ่งคือ การหาแหล่งพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานที่มาจากซากพืชซากสัตว์หรือฟอสซิลทั้งหลายซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกร้อนโดยตรง
พลังงานจากซากพืชซากสัตว์สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ปัจจุบันมีความพยายามแทนที่ด้วยการสร้างพลังงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ (geo-thermal) ขึ้นมาเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทน ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป ส่วนในตอนนี้ ผู้เขียนจะเริ่มต้นด้วยพลังงานนิวเคลียร์กับการตั้งคำถามว่า พลังงานนิวเคลียร์สามารถจะเป็น พลังงานทางเลือก เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานจากซากพืชซากสัตว์ซึ่งสร้างปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริงหรือไม่
ความต้องการใช้พลังงานในไทยเพิ่ม สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศทั่วโลก ในรายงาน “Thailand Power Report Q2 2010” ฉบับล่าสุดระบุว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยระหว่างปี 2008-2013 จะเพิ่มขึ้น 9% ส่งผล ให้ไทยกลายเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิ ด้วยเหตุนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (EGAT) จึงต้องสำรวจหาแหล่งพลังงานทางเลือก เพื่อจะนำมาใช้แทนแหล่งพลังงานดั้งเดิมอย่างน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น
รัฐบาลไทยเองก็ยอมรับว่าไทยมีปัญหาด้านพลังงานมานานหลายปีแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2005 ไทยได้อนุมัติ “แผนพลังงานแห่งชาติ” ซึ่งเรียกร้องให้ไทย แสวงหาแหล่งพลังงานที่หลากหลาย ด้วยการส่งเสริมพลังงานทางเลือกและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการอนุรักษ์พลังงาน
ส่วนหนึ่งของแผนการเสาะหาพลังงานทางเลือกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ก็คือการเสนอให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ เพื่อสนองตอบความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2009 ไทยลงนามบันทึกความเข้าใจกับ China Guangdong Nuclear Power Group และ CLP Holding Company ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์จนถึงปี 2012 ความร่วมมือครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อปูทางสำหรับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดใช้ ได้ในปี 2020 หรือ 2021 ไทยไม่ได้เป็นเพียงประเทศเดียวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong sub-region) ที่หวังจะแก้ปัญหาพลังงานด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งในอนุภูมิภาคนี้ ที่มีแผนจะสร้างโรงงานนิวเคลียร์ 10 แห่งในอนาคตระยะยาว
ทำไมพลังงานนิวเคลียร์จึงมักได้รับความสนใจจากผู้กุมอำนาจการตัดสินใจ ว่าเป็นพลังงานทางเลือกของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานนิวเคลียร์ได้มาจากการทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นหรือฟิวชั่นที่นิวเคลียสของอะตอม ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดจากการยิงนิวเคลียสของอะตอม สามารถสร้างพลังงานได้มหาศาลภายในเวลาเพียงสั้นๆ จึงไม่น่าประหลาดใจที่เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงานเป็นสัดส่วนสูงในประเทศพัฒนาแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในยุโรปประมาณ 30% ของพลังงานที่ใช้ในยุโรปได้มาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และถือเป็นพลังงานทางเลือกภายในยุโรปที่สามารถ ทดแทนการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียและตะวันออกกลางที่แพงขึ้นตลอดเวลาซ้ำยังไม่มีความแน่นอน
โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ใช้ในด้านพลเรือนมีการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และเป็นมรดกมาจากการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางทหาร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี 1939-1945 การแข่งขันกันสร้างอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงสุด เพื่อจะเอาชนะในสงครามโลก ได้เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง โดยมีเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น เป็นฝ่ายตรงข้าม ด้วยการทำลายล้าง 2 เมืองของญี่ปุ่น คือนางาซากิ และฮิโรชิม่า ด้วยระเบิดนิวเคลียร์จนสิ้นซากในเดือนสิงหาคม 1945 เท่านั้น จึงสามารถทำให้ผู้นำทางการเมืองและการทหารของญี่ปุ่นยอม ศิโรราบเป็นชาติสุดท้ายใน 3 ชาติมหาอำนาจฝ่ายอักษะ เป็นการยุติสงคราม โลกครั้งที่ 2 ที่เกิดการสู้รบทั้งในยุโรป แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก
ต้องใช้เวลาอีกมากกว่า 2 ทศวรรษ กว่าที่เทคโนโลยีนิวเคลียร์จะสามารถนำมาใช้ในทางสันติได้ การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในด้านพลเรือนเริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 และปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ 44 แห่งทั่วโลกที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ในขณะที่ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ประเทศอย่างอังกฤษและสวีเดน ยังต้องทบทวนการตัดสินใจใหม่อีกครั้ง จากที่เคยละทิ้งพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีราคาค่อนข้างถูกหลังจากที่คืนทุนแล้ว
ในเยอรมนี ซึ่งชาวเยอรมันถึง 2 ใน 3 คัดค้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพราะเห็นว่าอันตรายเกินไป แต่ก็ยังมีกลุ่มการเมืองที่อยู่ในรัฐบาลเยอรมนีชุดปัจจุบัน ที่ต้องการให้ยืดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไปอีก เมื่อ 10 ปีก่อน รัฐบาลเยอรมนีและภาคการพลังงานของเอกชนได้ยอมตกลงว่าจะใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่มีอยู่ไปจนถึงวันสิ้นอายุขัยไปตามวงจรชีวิตของมันเท่านั้น และจะไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่อีก แต่ความต้องการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เยอรมนีตั้งไว้อย่างสูง ทำให้รัฐบาลเยอรมนี กำลังคิดจะยืดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้นานกว่าที่เคยคิดไว้
อย่างไรก็ตาม เกิดคำถามว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นวิธีที่สะดวกง่ายดายในการแก้ปัญหาพลังงานและปัญหาโลกร้อนได้จริงหรือ
หากพิจารณาโดยผิวเผิน พลังงานนิวเคลียร์ดูเหมือนจะมีข้อดีหลายประการ คือช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และเป็นข้ออ้างที่ถูกอ้างถึงบ่อยครั้ง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ และในปริมาณมากด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก แต่ความจริงได้พิสูจน์แล้วว่า เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่ๆ นั้น หาได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากพอที่จะแก้ปัญหาโลกร้อนได้ ข้อมูลจากองค์กรสิ่งแวด ล้อม Greenpeace UK ระบุว่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 10 เตาที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รุ่นใหม่ล่าสุด จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอังกฤษได้เพียง 4% เท่านั้นภายในปี 2024
และหากพิจารณาให้ลึกลงไปจะพบว่า เทคโนโลยีนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีทางตัน และสร้างปัญหาได้มากกว่าแก้ปัญหาพลังงาน เพราะต้นทุนค่าก่อสร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แพงขึ้นเรื่อยๆ เกิดการสะสมของกากกัมมันตรังสี มีช่องว่างระหว่างความปลอดภัยกับการประกันภัย มีปัญหาเรื่องการแพร่กระจายนิวเคลียร์ และการรื้อถอดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีค่าใช้จ่ายสูงมาก และยังเพิ่มปัญหากากกัมมันตรังสี
ยิ่งกว่านั้นในแง่ของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมักถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการสนับ สนุนเทคโนโลยีนิวเคลียร์เสมอ ก็ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากเท่ากับที่ผู้สนับสนุนเทคโนโลยีนิวเคลียร์กล่าวอ้าง และที่สำคัญคือปัญหาด้านความปลอดภัย ที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสีนิวเคลียร์ซึ่งมีอันตรายสูง
การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Tschernobyl ในยูเครนเมื่อปี 1986 แสดงให้เห็นว่า มีคนหลายร้อยล้านคนต้องเดือด ร้อนเมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา ซึ่งทำให้คนหลายพันคนเสียชีวิตเพราะมะเร็ง เมืองหลายเมืองที่อยู่ใกล้กับ Tschernobyl ต้องอพยพประชาชน ออกไปทั้งหมดและไม่สามารถอยู่อาศัยได้ตลอดกาล แม้กระทั่งสถานที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงหลายพันกิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ระเบิดก็ยังพบกัมมันตภาพรังสี ในระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิตในพืชผัก เนื่องจากลมพัดกัมมันตภาพรังสีอันตรายไปทั่วทุกส่วนของยุโรป ไม่มีใครรู้สึกปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อีกทั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายครั้ง ทั้งในฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น นั่นแสดงว่า แม้แต่ประเทศที่ก้าวหน้ามากที่สุด ก็ยังไม่สามารถจะป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้นได้ โลกเราเพียงแต่โชคดีเท่านั้น ที่ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่มีอันตรายมาก เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นที่ Tschernobyl
นอกจากอันตรายจะมาจากภายในแล้ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังอาจได้รับอันตรายจากภายนอก ได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ อย่างเช่นแผ่นดินไหว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ หรือภัยจากการก่อการร้าย ซึ่งมีความเป็นไปได้ หลังจากที่เราได้เห็นการเกิดเหตุวินาศกรรมช็อกโลก “9/11” ในสหรัฐฯ รวมทั้งเป็นการเพิ่มจำนวนประเทศที่มีวัสดุนิวเคลียร์ในครอบครอง ซึ่งอาจนำไปใช้สร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้
จริงอยู่ที่พลังงานที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ มีราคาถูกกว่าพลังงานจากซากพืชซากสัตว์ แม้กระทั่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ ในตลาดโลก แต่การตั้งราคาขายพลังงานนิวเคลียร์ได้ละเลยหลายอย่างไป
ในอดีตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ละแห่ง ต้องใช้เวลาถึง 20 ปีกว่าจะคืนทุนค่าก่อสร้างจากการขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการก่อสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก
ปัจจุบันฟินแลนด์ซึ่งอยู่ในยุโรปเหนือ กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก โรงงานดังกล่าวยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสร้างเสร็จ แต่ค่าก่อสร้างแพงขึ้นกว่าสมัยก่อนสองเท่าเป็น 3,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งๆ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ยิ่งกว่านั้น ค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการสร้างพลังงานนิวเคลียร์ยังไม่ได้ถูกบวกเข้า ไปอย่างเหมาะสม ในการตั้งราคาขายไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังงานนิวเคลียร์ ขยะนิวเคลียร์ ซึ่งมีอันตรายสูง จะต้องถูกกักเก็บเป็นเวลา ถึงหลายๆ ล้านปี เพื่อปกป้องมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสี ค่าใช้จ่ายในการเก็บกักขยะนิวเคลียร์ในระยะยาวจะต้องกลายไปเป็นภาระของคนรุ่นหลัง
เมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา จึงสรุปได้ว่าการลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากจะอันตรายและมีค่าใช้จ่ายแสนแพงแล้ว ยังเป็นการเบี่ยงเบนออกจากทางแก้ปัญหาที่แท้จริง ซึ่งได้แก่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และการกระจายอำนาจในการผลิตพลังงาน (Decentralized energy)
|
|
 |
|
|