Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
The Powerful Influencer             
โดย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

Role Model ก้าวปีที่ 11
ตัน ภาสกรนที ชีวิตใหม่ที่ “ไม่ตัน”
Mr.Power
Moral Character
The Leader
Mr.BANPU
บุรุษไร้คำนิยาม บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
กอบชัย จิราธิวัฒน์ สงบ สยบความเคลื่อนไหว
โชค บูลกุล ผู้นำสายพันธุ์ใหม่
ชฎาทิพ จูตระกูล ดอกไม้เหล็กแห่งค้าปลีก
CEO ทศวรรษหน้า Code of Conduct

   
search resources

ธนินท์ เจียรวนนท์




หากถามว่าในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้นำธุรกิจไทยคนใดที่ทรงอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดและมากที่สุด ผู้บริหารคนแรกในไม่กี่คนที่คนไทยส่วนใหญ่จะนึกออก คงหนีไม่พ้น “ธนินท์ เจียรวนนท์”

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า วันนี้อาณาจักรธุรกิจของเจ้าสัว ธนินท์ มีสินค้าและเครือข่ายบริการที่เข้าถึงสังคมไทยมากที่สุด หนำซ้ำยังครอบครองตลาดส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเกษตร และธุรกิจอาหาร ธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก และธุรกิจโทรคมนาคม ในนาม “ทรู คอร์ปอเรชั่น” ที่มีบริการพื้นฐานของสังคมสมัยใหม่ ได้แก่ บริการโทรศัพท์บ้าน บริการโทรศัพท์มือถือ บริการเพย์ทีวี (pay TV) และบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถสร้างระบบสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย

นอกจากนี้ ซีพียังมีเครือข่ายร้านค้าที่เข้าถึงผู้บริโภคที่มากและหลากหลายที่สุดที่ประกอบด้วย 7-11 มากกว่า 3 พันแห่งและเครือข่ายร้านค้าอย่างร้าน True shop, True Move shop, True Coffee shop, CP Fresh Mart แม้แต่ร้านเชสเตอร์กริลล์ และร้านเคลื่อนที่ไก่ย่างห้าดาว

จึงไม่น่าจะเป็นการกล่าวอ้างเกินจริงกับข้อสรุปที่ว่า ธนินท์เป็นผู้นำธุรกิจที่มีพลังและทรงอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คนในสังคมไทยอย่างลึกซึ้งและในหลายมิติ ทั้งนี้เพราะธนินท์คือผู้นำคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพัฒนาการแบบก้าวกระโดดจนกลายเป็น อาณาจักรซีพีที่ยิ่งใหญ่ เฉกเช่นทุกวันนี้

โมเดลการเติบโตของซีพีภายใต้การนำของธนินท์มักเป็นรูปแบบการขยายแต่ละธุรกิจให้ครบวงจร ทว่ามันก็เป็นเพียงเส้นบางๆ ระหว่างความครบวงจรกับการผูกขาดตลาด ในแง่หนึ่งเครือซีพีอาจถูกมองเป็นผู้นำการปฏิวัติในธุรกิจการเกษตร ธุรกิจอาหาร ธุรกิจโทรคมนาคม และธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก แต่อีกแง่ก็คือแรงต้านจากข้อหา “ครอบงำตลาด”

ความยิ่งใหญ่ของเครือซีพีส่งผลให้เจ้าสัววัยใกล้ 72 ปีคนนี้กลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทย จากการจัดอันดับของฟอร์บส์ บริษัทจัดอันดับชื่อดังของโลก ด้วยมูลค่ารวมทรัพย์สินของธนินท์ที่มากกว่า 217,000 ล้านบาท

วิรัตน์ แสงทองคำ ยกย่องธนินท์เป็นผู้นำธุรกิจที่สามารถแสดงบทบาทเชิงตัวแทนการปรับตัวของธุรกิจไทย ในช่วง 3-4 ทศวรรษสำคัญที่ผ่านมาได้อย่างน่าทึ่ง

กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่ชื่นชมธนินท์ เนื่องด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลและความสามารถนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ในทุกสถานการณ์และสภาพแวดล้อม

หลังวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ปี 2540 เครือซีพีเป็นกลุ่มธุรกิจไทยในไม่กี่กลุ่มที่สามารถแสวงหาและกอบโกยโอกาสใหม่ๆ ได้มากมายเท่ากลุ่มซีพี ด้วยพลังขับเคลื่อนจากอำนาจทุน เครือข่ายและการทำธุรกิจแบบครบวงจร บวกกับสายสัมพันธ์กับระบบการเมืองและระบบราชการ

นอกจากอิทธิพลต่อสังคมไทย ซีพีถือเป็นธุรกิจไทยรายแรกๆ ที่มีความสัมพันธ์กับประชาคมเศรษฐกิจโลกมากที่สุดรายหนึ่ง เพราะเหตุนี้ธนินท์จึงกลายเป็นผู้บริหารไทยคนแรกๆ ที่สื่อระดับโลกกล่าวถึงอย่างมากมายและอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ Far Eastern Economic Review ในปี 2533, Forbes ในปี 2534, Fortune และ Financial Times ในปี 2535

ที่สำคัญในปลายปี 2535 Harvard Business School ยังได้หยิบเอาพัฒนาการทางธุรกิจของอาณาจักรซีพีและประสบการณ์บางส่วนของธนินท์มาถ่ายทอดเพื่อเป็นกรณีศึกษาอีกด้วย

ไม่เพียงสื่อไทยที่ยกย่องเจ้าสัวซีพีให้เป็น “มังกร” แม้แต่สื่อต่างชาติหลายฉบับยกให้ธนินท์เป็น the Great Dragon อันเป็นภาพสะท้อนการยอมรับในความเป็นผู้นำธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งก้าวข้ามพรมแดนประเทศไทยไปไกลแล้ว โดยครั้งหนึ่งธนินท์เคยประกาศว่า ความเป็นผู้นำของโลกด้านอาหารสัตว์ และเป็นผู้ผลิตไก่และกุ้งรายใหญ่ที่สุด คงไม่ใช่เป้าหมายของเครือซีพีอีกต่อไป แต่นั่นคือข้อเท็จจริงที่ซีพีจะต้องเป็นเบอร์หนึ่งให้ได้

จากความได้เปรียบในเรื่องขนาดและความครบวงจรในธุรกิจอาหาร กลุ่มซีพีโดยมีซีพีเอฟเป็นหัวหอกประกาศตัวเป็น “ครัวของโลก” อย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน โดยดำริครั้งนั้นไม่เพียงทำให้ซีพีได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนไทยหลายแขนง แต่ยังได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติหลายแห่ง

โดยเฉพาะสื่อจากประเทศจีนที่ให้ความสำคัญกับข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มซีพีเป็นพิเศษ เนื่องจากเครือซีพีลงทุนในประเทศจีนไปแล้วมากมาย และกำลังจะมีอีกหลายโครงการเกิดใหม่ โดยในอนาคตเครือซีพียังมีแผนลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองจีนเพิ่มอีกด้วย

ด้วยความทรงพลังของอาณาจักรซีพี แทบทุกครั้งในยามที่สังคมไทยขาดผู้นำความคิดทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ผู้บริหารอาวุโสท่านนี้จะมีบทบาทสำคัญในการเสนอทางออก และ “เสียง” ของเขาก็มักจะทำให้ทั้งสังคมรับฟัง แม้บางครั้งจะมาพร้อมข้อกังขาว่า “เพื่อประโยชน์ของใคร?”

“ทฤษฎีสองสูง” เป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน

ธนินท์มองว่าทฤษฎีนี้เป็นความหวังที่จะช่วยนำพาประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤติได้อย่างปลอดภัย โดย “สูง” แรก คือต้องทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูง และ “สูง” ที่สอง คือต้องทำให้รายได้หรือค่าแรงของประชาชนสูง เพื่อให้สัมพันธ์กับราคาสินค้าเกษตรและอาหารที่สูงขึ้น

“เมืองไทยกำลังจะรวยกับเขาแล้ว ถ้ารัฐบาลเข้าใจว่า เรานี่ก็เป็นประเทศที่มีน้ำมัน แต่น้ำมันอยู่บนดิน ใช้ไม่หมด บ่อน้ำมันบนดินของเราก็คือสินค้าเกษตร จริงๆ น้ำมันมนุษย์สำคัญกว่าน้ำมันเครื่องจักร ทำไมเราไม่ยกราคาเกษตรให้ตีคู่ไปกับราคาน้ำมัน แล้วก็ใช้วิธีขึ้นเงินเดือน...

“ถ้าสองต่ำหัวใจวาย เพราะข้างบนก็ต่ำ ข้างล่างก็ต่ำ เปรียบเทียบกับประเทศจีน ที่เคยเป็นสองต่ำ แล้วเติ้งเสี่ยวผิงก็ต้องมาเปลี่ยน จริงๆ ในโลกนี้ ประเทศที่รวยแล้ว เขาจะไม่ยอมให้สินค้าเกษตรถูกลง เพราะเขาถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติของเขา เพราะมองว่า มีค่าเหมือนน้ำมันเช่นกัน ประเทศไหนที่อาหารมนุษย์ถูกกว่าอาหารเครื่องจักร ก็หมายความว่าผู้บริหารประเทศมีปัญหาแล้ว?”

เนื้อหาบางส่วนจาก “ทฤษฎีสองสูง” ที่ธนินท์เดินสายโปรโมตอย่างหนักในช่วง 2-3 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นทางสื่อมวลชนและเวทีสัมมนาต่างๆ

ไม่ว่าเป้าหมายของวาทกรรมในทฤษฎีแห่งความหวังนี้จะเป็นไปเพื่อใคร หรือใครได้ประโยชน์มากที่สุด แต่อย่างน้อย ด้วยศักดิ์ศรีความเป็นผู้นำทางธุรกิจของไทย การส่งเสียงของ “สุดยอดมังกร” ในครั้งนั้นก็ทำให้ผู้คนในสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย ต้องฟังและหยุดคิด

แม้จะเลยวัยเกษียณมานานกว่า 10 ปี ธนินท์ยังไม่เคยประกาศแผนรีไทร์อย่างเป็นทางการ แต่เขาก็ยอมรับว่าเขาเริ่มทำงานน้อยลง แบ่งงานและกระจายอำนาจออกไป ส่วนตัวเขาก็เดินทางมากขึ้น นอกจากการไปเยี่ยมเยือนกิจการในต่างประเทศแล้ว

อีกเป้าหมายสำคัญในการเดินทางของเจ้าสัวซีพีก็เพื่อแสวงหาความรู้ เทคโนโลยี และไอเดียใหม่ๆ ในการขยายธุรกิจ ตลอดจนออกเดินทางไปสนทนากับผู้นำธุรกิจระดับโลกที่มีความสัมพันธ์กับเขา แม้ว่าจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่เถ้าแก่แสนล้านคนนี้ก็เลือกใช้เจ้าหน้าที่ที่เก่งที่สุดมาเป็นผู้ช่วยข้างกาย เหมือนกับที่เขาเลือกจ้างเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์และคนขับรถที่เก่งที่สุดมาไว้ประจำตัว

ทั้งนี้ ความท้าทายของเครือซีพีในปีที่ 90 ธนินท์มองถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนที่มีศักยภาพพร้อมที่จะรองรับการเติบโตทางธุรกิจของทั้งเครือซีพีทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการสร้างแบรนด์ของเครือเพื่อให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นผู้ผลิตอาหารป้อนชาวโลก และก้าวไปสู่การเป็นบริษัทคนไทยชั้นนำในระดับโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us