Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
ตัน ภาสกรนที ชีวิตใหม่ที่ “ไม่ตัน”             
โดย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

Role Model ก้าวปีที่ 11
Mr.Power
Moral Character
The Leader
The Powerful Influencer
Mr.BANPU
บุรุษไร้คำนิยาม บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
กอบชัย จิราธิวัฒน์ สงบ สยบความเคลื่อนไหว
โชค บูลกุล ผู้นำสายพันธุ์ใหม่
ชฎาทิพ จูตระกูล ดอกไม้เหล็กแห่งค้าปลีก
CEO ทศวรรษหน้า Code of Conduct

   
search resources

ตัน ภาสกรนที




นับจากวันที่ “ตัน ภาสกรนที” ผลักดัน “โออิชิ” ที่เขาสร้างมากับมือจนเติบใหญ่และสามารถเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สำเร็จ ชื่อ “ตัน” ก็ปรากฏอยู่ในตาราง Role Model อันดับต้นๆ เรื่อยมา แต่ไม่เคยมีปีไหนที่เขาจะไต่ขึ้นมาถึงอันดับ 1 ได้ จนกระทั่งปีนี้

จากตาราง 50 Role Model ปี 2553 พบว่า ผู้อ่านนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ชื่นชมตันในฐานะผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความเป็นผู้นำสูง และประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างแบรนด์ “โออิชิ” ที่มักมาคู่กับแบรนด์ “ตัน” จนแทบไม่มีใครไม่รู้จักชายร่างท้วมนามว่า “ตัน โออิชิ” ...แต่ถึงกระนั้น อันดับที่ดีที่สุดของตันก็ทำได้เพียงที่ 3

จากผล CEO’s Vote ผลงานบวกกับสไตล์บริหาร ธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว “แบบตัน” และความเป็นตัวตนของ “ตัน” ได้รับความชื่นชมจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูง หลายราย จนทำให้ตันสามารถเบียดขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ใน Role Model ประจำปี 2553 ได้ในที่สุด

ทั้งๆ ที่กลางปีที่ผ่านมา ตันเพิ่งประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโออิชิ นั่นหมายถึงการเดินออกมาจากอาณาจักรของเจริญ สิริวัฒนภักดี เพื่อเริ่มต้น ธุรกิจใหม่ของตัวเองในวัย 51 ปี ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 500 ล้านบาท โดยเขาเลือกฤกษ์ดีเปิดตัวบริษัท “ไม่ตัน” เมื่อวันที่ 9 เดือน 9 ที่ผ่านมา

“สำหรับนิยามของชื่อบริษัท “ไม่ตัน” คือเราจะไม่ตัน มีทางออก สู้ และไม่ยอมแพ้ โดยบริษัทไม่ตันจะเป็นบริษัทที่เปิดกว้างในการทำธุรกิจทุกรูปแบบ เพื่อให้ธุรกิจเติบโต”

พร้อมกับชื่อบริษัทใหม่ ตันพยายามโปรโมตสมญานาม ใหม่ที่เขาอยากให้สื่อมวลชนช่วยกันเรียกให้ชินปากในเร็ววัน นั่นก็คือ “ตัน ไม่ตัน”

ตันกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้บริหารติดดินและนักสู้ชีวิต ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาและอุปสรรค สมดังสโลแกนประจำตัวเขาที่ว่า “ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน” ซึ่งกลายเป็นชื่อพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มแรกของเขา

ธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล ผู้บริหารระดับสูงจากธนาคาร เกียรตินาคิน เป็น 1 ในซีอีโอที่โหวตให้ตัน บอกถึงเหตุผลในการเลือกตันในทำนองเดียวกันว่า เป็นเพราะตันสามารถต่อสู้ชีวิต และฝ่าฟันวิกฤติมาจนประสบความสำเร็จทั้งในด้านส่วนตัวและองค์กร


ยิ่งเมื่อเทียบกับผู้บริหารอีก 49 คนในตาราง 50 Role Model ตันเริ่มต้นด้วย “ต้นทุนทางสังคม” ที่น้อยกว่าอีกหลายคน แม้แต่วุฒิการศึกษา ตันก็จบเพียงมัธยม 3 ขณะที่ต้นทุนทางการเงินก็เริ่มต้นจากจุดที่ไม่สูงเหมือนคนอื่น และเคยตกต่ำถึงขนาด เป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบกว่า 100 ล้านบาทเมื่อครั้งวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ก่อนจะมาปั้นธุรกิจชาเขียวพร้อมดื่ม จน “โออิช”” กลายเป็นบริษัทมหาชนที่มีมูลค่าธุรกิจหลาย พันล้านบาทในเวลาเพียงไม่นาน

ด้วยความสำเร็จจากการบริหาร ธุรกิจโออิชิจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ทำให้ ตันได้รับปริญญาจากบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาการบริหาร ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง มาประดับโปรไฟล์ด้านการศึกษาได้ในที่สุด

ผู้บริหารที่ลงคะแนนให้ตันบางท่านเชื่อว่า “การทำการตลาดแบบนอกกรอบ” และการนำไอเดียเหล่านั้นมาปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนคนอื่น เป็นปัจจัยที่ทำให้ “ตัน โออิชิ” ประสบความสำเร็จ

สอดคล้องกับวิธีคิดของตัน ที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ถ้าจะต้องเป็นเป็ดที่กำลังจะถูกเชือด เขาก็อยากเป็นเป็ดที่เป็นผู้นำ เพราะอย่างน้อยก็ตายแบบหัวหน้าเป็ดและก็น่าจะได้รับการพูดถึงบ้าง

การทำการตลาดนอกกรอบ บวกกับการทำโปรโมชั่น “แรงๆ” อย่าง “รวยฟ้าผ่า” หรือ “ไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊งค์” ก็ช่วยทำ “โออิชิ” กลายเป็น “talk of the town” ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ยิ่งบวกกับการที่ตัน “เล่น” กับสื่อเป็น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตัวเองเป็นพรีเซ็นเตอร์ แจกเงินรางวัลแก่ผู้โชคดีถึงบ้านทันทีทันควันใน 24 ชั่วโมงผ่านสื่อต่างๆ หรือเป็นหัวหน้า ทริปนำผู้โชคดีไปทัวร์ต่างประเทศด้วยตัวเอง รวมถึงการสรรหาประเด็นใหม่มาให้นักข่าวติดตามอยู่เสมอ ไม่เพียงเรื่องของเขาด้วยบทบาทของพ่อที่ดี ทั้งครอบครัวของตัน จึงมักได้ลงสื่ออยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะตันกับลูกสาวคนโตที่กำลังทำธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ด้วยตัวเอง เรื่องราวของตันจึงมักปรากฏในสื่ออย่างสม่ำเสมอ

บวกกับการที่ตันมักไปเป็นวิทยากรพูดเรื่องราวของแบรนด์โออิชิและประเด็นธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งสมัยที่ยังเป็น “ตัน โออิชิ” เจ้าของธุรกิจเอง เขารับเชิญขึ้นเวทีเฉลี่ย 5-6 แห่งต่อเดือน ตันจึงกลายเป็น ที่รู้จักในสังคมอย่างกว้างขวาง และมีแฟนคลับจำนวนไมน้อย

ซิคเว่ เบรกเก้ ซีอีโอแห่งเทเลนอร์ เอเชีย ให้ความเห็นว่า CEO ที่ดีนอกจากจะต้อง ทำหน้าที่เป็น Chief Executive Officer ควรต้องเป็น Chief Emotional Officer ด้วย คือยังต้องเป็นผู้สื่อสารที่ดีที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและถ่ายทอดเรื่องราวของบริษัทไปสู่สาธารณชนได้ ซึ่งเขามองว่า ตันมีคุณสมบัติข้อนี้ค่อนข้างเด่นชัดกว่าผู้บริหารอีกหลายคน

หลังจากเทขายหุ้นให้เจริญด้วยมูลค่าสูงถึง 3.3 พันล้านบาท และนั่งเก้าอี้ ผู้บริหารของโออิชิในฐานะลูกจ้างต่ออีก 4-5 ปี กลางปีที่ผ่านมา ตันก็ลุกขึ้นลาออก จากตำแหน่ง “ลูกจ้างหมายเลข 1” ของเสี่ยเจริญ เพื่อมาเปิดบริษัทของตัวเอง

การดำเนินธุรกิจของบริษัทไม่ตัน ประกอบด้วย 1) ธุรกิจอาหาร โดยร่วมทุน กับบริษัทญี่ปุ่นเปิดศูนย์รวม “ราเมน แชมเปี้ยน” ทั้งหมด 6 แบรนด์ 6 ร้านไว้ด้วยกัน โดยมีสาขาที่อารีน่า 10 ทองหล่อ ก่อนจะตามมาด้วยสาขาสุขุมวิท 22 และสาขาเชียงใหม่ ในปีนี้ 2) ธุรกิจเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เปิดตัวกลางปีนี้ 2 ปี 2554 และ 3) ธุรกิจบันเทิงและร้านคาราโอเกะ โดยร่วมทุนกับ R&B Karaoke ในสัดส่วน 50:50

ด้วยมูลค่าธุรกิจ ดูเหมือนว่าแบรนด์ “ตัน ไม่ตัน” จะมีน้ำหนักน้อยกว่า “ตันโออิชิ” อย่างมาก แรงดึงดูดสื่อจึงดูน้อยลง จากเมื่อก่อนอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงกระนั้น ตันก็ยังหมั่นหาวาระมาเป็นประเด็นตามสื่อต่างๆ ได้อยู่ดี

เริ่มต้นจากวันแรกที่ประกาศเปิดตัว บริษัท ตันยอมรับว่า บริษัทไม่ตันยังไม่มีพนักงานสักคน แต่เขากำลังสรรหาบุคคล 9 คน เข้าทำงานในหน้าที่ต่างๆ ภายใต้ “โครงการ The 9 Challengers” โดยกระบวนการคัดเลือกค่อนข้างคล้ายกับรายการ “reality show” คือผู้สมัครส่งคลิปสั้นแสดงตัวตนของตัวเองและเหตุผลว่า ทำไมตันต้องเลือกตนเข้ามา

ตั้งแต่การรับสมัคร กระบวนการคัดเลือก จนถึงการประกาศผลผู้ได้รับเข้าทำงาน ล้วนถูกอัพเดตผ่านเฟซบุ๊กของตัน (www.facebook.com/tanmaitan) เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ซึ่งก็เรียกเสียงฮือฮาจนทำให้ยอดแฟนเพจของตันพุ่งขึ้นจากหลักพันเป็นหลักแสนในเวลาไม่นาน

เฟซบุ๊กกลายเป็นสื่อที่แฟนคลับตันสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของตันและบริษัทได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถติดตามดูผลงานที่ตันไปออกตามสื่อต่างๆ และตาม อ่านวิธีคิดตาม “วิถีตัน” ประสบการณ์ชีวิต ไลฟ์สไตล์ และชีวิตครอบครัวของตัน ตลอดจนมุมมองธุรกิจรูปแบบใหม่จากตันได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมงานคอยอัพเดตให้อยู่เสมอ

ตันอัพเดตเฟซบุ๊กเองไม่ได้ เพราะลำพังแค่จะใช้คอมพิวเตอร์ เขายังทำไม่ค่อยจะเป็นด้วยซ้ำ แต่เพราะเห็นความสำคัญในการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก ในฐานะที่เป็นสื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ขณะที่กลุ่มคนที่ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์จากตันไปใช้ในการทำงาน ก็เป็นคนรุ่นใหม่เสียเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน

แต่ถึงจะมีเฟซบุ๊กเป็นสื่อส่วนตัว ตันก็ยังไม่ทิ้งสื่อหลักอย่างโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เพราะกระแสข่าวการรับสมัครพนักงานด้วยวิธีที่ไม่เหมือนใครของตันยังไม่ทันซา เขาก็ออกรายการโทรทัศน์ให้ข่าวเรื่องการเดี่ยวไมโครโฟนของตัวเอง โดยมี “โน้ส อุดม” เจ้าพ่อ เดี่ยวไมโครโฟนเป็นเทรนเนอร์ โดยให้เหตุผลการเปิดเวทีเดี่ยวว่าเพื่อนำเงินรายได้จากการขายบัตร (ไม่หักค่าใช้จ่าย) ไปสร้างโรงเรียนผ่านมูลนิธิตันปันที่เพิ่งเปิดตัววันเดียวกับ บริษัทใหม่

แม้ตันอาจจะไม่เคยรู้ตัวว่ามีผู้บริหารธุรกิจหลายรายชื่นชมในตัวเขา แต่สิ่งที่เขาตระหนักดี นั่นก็คือ เขากลายเป็นแรงบันดาลใจของคนในสังคมหลายคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ในวาระที่เริ่มต้นการสร้างบริษัทใหม่ครั้งนี้ ตันได้ประกาศอุทิศตนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้สังคม โดยเฉพาะเรื่อง “การให้”

“เพราะตลอดเวลา 30 กว่าปี ผมทำงาน 5 ปี จากนั้นผมทำธุรกิจอีก 25 ปี หลังจากวันที่ 9 กันยายน ผมจะไม่ถือว่าผมทำธุรกิจแล้ว แต่ผมจะทำภารกิจ ผมตั้งใจว่า 9 ปี นับจากนี้ ผมจะมุ่งมั่นสร้างบริษัท ไม่ตัน ให้เป็นธุรกิจเพื่อภารกิจของมูลนิธิตันปัน” ตันพูดในวันเปิดตัวบริษัทและมูลนิธิ

นับจากปีแรกที่ดำเนินการ ตันตั้งใจแบ่งเงินปันผล 50% ให้กับมูลนิธิตันปัน จนกระทั่งเมื่อตันมีอายุครบ 60 ปี เขาจะเพิ่มเงินบริจาคไม่ต่ำกว่า 90% ให้กับมูลนิธิตันปันไปตลอด เพื่อช่วยสนับสนุนเรื่องการศึกษาและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

การตอบแทนสังคมด้วยการให้และการพยายามทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คน ในสังคม โดยเฉพาะนักธุรกิจรุ่นใหม่ กลายเป็นอีกคุณสมบัติสำคัญของตันที่ทำให้ทั้งธวัชไชยและซิคเว่ประทับใจในตัวตันอย่างมาก

อย่างไรก็ดี ตันยอมรับว่านับตั้งแต่ปีแรกในการตั้งบริษัทใหม่ ความท้าทายที่รอเผชิญหน้า นั่นก็คือ ความคาดหวังของผู้บริโภค พันธมิตรทางธุรกิจและสื่อมวลชน ที่ต่าง ก็หวังจะเห็นสินค้าและบริการที่ดี รวมถึงความแปลกใหม่จากแบรนด์ “ตัน ไม่ตัน”

ปีแรก ตันตั้งเป้ารายได้ของบริษัท เอาไว้ที่ขั้นต่ำ 500 ล้านบาท และภายใน 3 ปี ยอดขายทะลุ 2 พันล้านบาทให้ได้ ซึ่งการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่ตันเคยชินกับการสร้างบริษัทโออิชิก็นับเป็นอีกความกดดันที่ตันเลือกจะหยิบมาท้าทายตัวเอง และเป้าหมายเหล่านี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์เลือดความเป็นเถ้าแก่และจิตวิญญาณนักต่อสู้ชีวิตของตันอีกครั้ง!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us