Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538
ทาวเวอร์ เรคคอร์ด ตลาดนัดเสียงเพลงของนรินทร์ นฤหล้า             
 


   
search resources

Entertainment and Leisure




"ซูเปอร์สโตร์" ดูจะเป็นเครื่องมือทางการตลาดชิ้นสำคัญของยุคสมัยนี้ ที่ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่นำมาใช้ห้ำหั่นกัน ในภาวะที่จะต้องดึงดูดใจให้ผู้ซื้อ ซื้อเป็นแพ็กเกจหรือเหมายกโหลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับยอดขายสูงสุด ในขณะที่ต้นทุนทางการตลาดก็ต่ำด้วย แต่ความคิดเรื่องซูเปอร์สโตร์นี้ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะห้างสรรพสินค้าเท่านั้น

ธุรกิจคอมแพคดิสก์หรือแผ่นซีดีและเทปเพลงก็เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายที่กำลังถ่ายทอดความคิดนี้ไปใช้ เมื่อเอ่นถึงเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายแผ่นซีดีระดับโลกขณะนี้แล้ว "ทาวเวอร์ เรคคอร์ด" ถือเป็นหนึ่งในบรรดาผู้จัดจำหน่ายที่มีเครือข่ายสูงสุดแห่งหนึ่งในปี 2538 ด้วยเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลกถึงเกือบ 150 สาขา ใน 10 ประเทศทั่วโลก ซึ่งทำยอดขายให้กับบริษัทกว่า 600 ล้านเหรียญ ในเอเชียมีสาขาของทาวเวอร์ เรคคอร์ด ทั้งในสิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน หรือญี่ปุ่นซึ่งมีอยู่ถึง 22 สาขา ทาวเวอร์ เรคคอร์ด ได้เริ่มเปิดตัวในเมืองไทยแล้วโดยมอบหมายความมั่นใจให้ "กลุ่มนฤหล้า" ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านอาหาร โครงการเชอราตันทาวเวอร์มาก่อนหน้าให้สานต่อความเป็น "ซูเปอร์สโตร์" ทางด้านแผ่นซีดีและเทปเพลงอย่างสมบูรณ์แบบเป็นรายแรกในไทย นรินทร์ นฤหล้า กรรมการผู้จัดการบริษัท ทาวเวอร์ เซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) บริษัทผู้รับแฟรนไชส์ในการรังสรรค์ "ทาวเวอร์ เรคคอร์ด" ขึ้นในประเทศไทย อรรถาธิบายถึงลักษณะเฉพาะของซูเปอร์สโตร์ซีดีให้ฟังว่า จะต้องเป็นไปเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับที่ต้องการมีแผ่นซีดีให้เลือกหลากหลายที่สุด รวมถึงบรรยากาศที่จะต้องเอาใจผู้ซื้อกลุ่มใหญ่ที่เป็นวัยรุ่น และเครื่องไม้เครื่องมือด้านเครื่องเสียงที่ต้องครบถ้วน รวมถึงแสงสีที่ต้องพร่างพราว

ดังนั้น ทำเลที่เหมาะสมซึ่งจะบบรจุสิ่งทั้งหมดนี้ได้ และอยู่ในท่ามกลางลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นที่มีกำลังซื้อมหาศาลนั้น จึงเป็นจุดแรกที่ต้องพิจารณาและก็ได้ข้อสรุปที่ "ศูนย์การค้าสยาม" บริเวณชั้น 4 ซึ่งเคยใช้เป็นโรงภาพยนตร์ว่าน่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะมีความโอ่โถงถึง 900 ตร.ม. สามารถติดตั้งแสงและเครื่องเสียงได้อย่างเต็มรูปแบบ

ในส่วนของความพร้อมด้านแผ่นที่จะมีให้เลือกนั้น จะมีเพียบพร้อมทุกแนวเพลง นับแต่ยุค 60-90 โดยมีจำนวนแผ่นให้เลือกมากกว่า 200,000 แผ่น และเทปเพลงซึ่งทาวเวอร์ เรคคอร์ด ก็มีเช่นกัน แต่ไม่ค่อยเน้นมากนัก พร้อมด้วยทีวีจำนวน 20 เครื่องเพื่อให้ลูกค้ามีอารมณ์ร่วมกับมิวสิกวิดีโอที่จะมีฉายตลอดเวลาและสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเครื่องเล่นซีดีเพื่อลองเสียง ซึ่งทาวเวอร์จัดทำเป็นกรณีพิเศษ ด้วยการจัดทำเป็นตู้ฟังได้ 6 แผ่นที่ไม่ซ้ำกันทั้งในตู้เดียวกัน และทั้งใน 39 ตู้ซึ่งทั้งหมดนี้ ทาวเวอร์ เรคคอร์ด ใช้ทุนไปแล้วอย่างน้อย 60 ล้านบาท

เรื่องราคาดูจะเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับซูเปอร์สโตร์ ซูเปอร์สโตร์เช่นทาวเวอร์ เรคคอร์ด จึงต้องกำหนดราคาแผ่นซีดีให้ต่ำกว่าร้านอื่นอย่างน้อย 10-20% เป็นอย่างน้อย ดังนั้น ด้วยปรัชญาทางการตลาดที่เชื่อมั่นว่าการซื้อและขายเป็นจำนวนมาก และด้วยต้นทุนทางการตลาดต่ำทำให้ทาวเวอร์ เรคคอร์ด มีความเชื่อมั่นว่าจะเป็นผู้นำด้านการจัดจำหน่ายซีดีในเมืองไทยในไม่ช้าหลังจากเปิดตัว

การเปิดตัวทาวเวอร์ เรคคอร์ด ที่สยามสแควร์นี้ถือเป็นการชิมลางก่อนเท่านั้น เพราะในช่วงต่อไปนรินทร์ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดสาขาให้ครบ 5 แห่งภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ โดยได้เริ่มเล็งทำเลใหญ๋ที่มีลูกค้าหลากประเภทแล้วเช่นลาดพร้าว หรือปิ่นเกล้า ความเชื่อมั่นของนรินทร์ที่พร้อมจะขยายซูเปอร์สโตร์ซีดีอย่างเต็มที่นี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการเติบโตของเครื่องเล่นซีดีและจำนวนขายแผ่นซีดีที่โตอย่างน่าตกใจ

โดยการสำรวจอัตราเติบโตของเครื่องมินิคอมโป และคอมโปเน้นท์ในปี 2536 แล้วพบว่ามียอดขายเพียง 200,000 เครื่องเท่านั้น แต่พอมาปี 2537 ก็เริ่มโตอย่างพรวดพราดขึ้นมาเป็น 700,000 เครื่องและในปีนี้ก็มีการคาดการณ์ถึงอัตราก้าวกระโดดอย่างน่าตกใจที่สุดว่าอัตราจะก้าวกระโดดไปเป็นถึง 10 ล้านเครื่อง ในขณะที่แผ่นซีดีก็จะมีอัตราเติบโตที่รวดเร็วเช่นกันจากปี 2536 ที่มีเพียง 2 ล้านแผ่นมาเป็น 9 ล้านแผ่นในปี 2537 และคาดว่าจะเป็น 10-12 ล้านแผ่นในปีนี้

นรินทร์เปิดเผยถึงเงื่อนไขของการเติบโตอย่างพรวดพราดนี้ว่า เป็นเพราะอำนาจการซื้อของชนชั้นกลางที่มีเพิ่มสูงขึ้นบวกกับการส่งเสริมการขายอย่างเต็มที่ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องเสียง รวมถึงอัตราภาษีนำเข้าแผ่นซีดีซึ่งลดลงเป็นอย่างมาก จาก 45% เมื่อปี 2537 ลงมาเหลือเพียง 30% ในปี 2538 และปี 2539 ก็จะละลงมาอีกเหลือเพียง 15% เท่านั้น

"ด้วยอัตราเติบโตของปัจจัยแวดล้อมของวงการซีดีเช่นนี้ นอกจากเราจะมีความมั่นใจในการทำตลาดมากกว่าเป็นมาแล้ว เรายังเชื่อมั่นว่าซีดีผีและเทปผีที่สร้างความหวั่นหวาดให้กับเราในอดีตก็จะพลอยหดหายไปด้วย"

แม้ว่าตลาดจะดูค่อนข้างสวยหรูในแนวความคิดของทาวเวอร์ เรคคอร์ด กับการเปิดตัวครั้งแรกในไทย แต่ต้องอย่าลืมว่าค่ายจำหน่ายซีดีเจ้าถิ่นในไทย ก็พลอยได้รับอานิสงส์จากปัจจัยแวดล้อมในวงการซีดีที่เอื้ออำนวยครั้งนี้ไปด้วย และด้วยความเจนจัดในช่องทางการจำหน่ายที่เหนือกว่าผู้มาใหม่

คำประกาศของทาวเวอร์ เรคคอร์ด ที่หวังจะเป็นกระบี่มือหนึ่งในวงการก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us