|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

ปัญหาภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงหรือเรียกง่ายๆ ว่า ปัญหาโลกร้อน เคยเป็นประเด็นที่โลกให้ความสำคัญมากที่สุดเพียงเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่แล้วปัญหาโลกร้อนกลับถูกกลบความสำคัญไปเพราะปัญหาวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีชนวนจากฟองสบู่แตกในตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ (subprime)
ประธานาธิบดี Barack Obama ของสหรัฐฯ พับเก็บร่างกฎหมายพลังงานสะอาดขึ้นหิ้ง และเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับการผลักดันร่างกฎหมายสวัสดิการสุขภาพและการสร้างงาน
แม้แต่นายกรัฐมนตรีหญิง Angela Merkel แห่งเยอรมนี ผู้เคยได้ชื่อว่าเป็น “วีรสตรีแห่งสิ่งแวดล้อม” จากการเป็นผู้นำในการประกาศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน ก็ยังกลับลำถอยหลัง และหันไปให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมเยอรมนีแทน
การประชุมแก้ปัญหาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกนเมื่อปีที่แล้ว นับได้ว่าเป็นการประชุมที่ล้มเหลว จำนวนรถในจีนกลับเพิ่มมากขึ้น เป็นประวัติการณ์ และจีนยังลงทุนในอภิมหาโครงการพัฒนาที่ทำให้ หมู่บ้านหายไปทั้งหมู่บ้าน สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ ชนบทและสร้างความผิดหวังอย่างยิ่งแก่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะถูกทำให้สำคัญน้อยกว่าปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของชาติตะวันตก หรือความทะยานอยากในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไม่รู้จักอิ่มของชาติกำลังพัฒนา แต่บรรดาผู้นำการเมืองยังคงตระหนักดีว่า ระบบนิเวศของโลกที่กำลังแบกภาระหนักเกินไป คือระเบิดเวลาที่อาจระเบิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
พวกเขายังตระหนักดีว่า ปัญหาโลกร้อนอาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจที่พวกเขาให้ความสำคัญมากกว่าได้ ผู้นำโลกซึ่งรวมถึงผู้นำหญิงในหลายประเทศ จึงกำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการจัดสมดุล ระหว่างการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความจำเป็นที่จะต้องปกปักรักษาทรัพยากรของโลกที่มีอยู่เพียงจำกัด
ประเทศที่ต้องประสบความลำบากในการจัดสมดุลระหว่างการพัฒนากับการอนุรักษ์อย่างจังคือบราซิล ปัญหานี้ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในบราซิล ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการชิงชัยระหว่างผู้สมัครหญิง 2 คน
แม้แต่นักการเมืองบราซิลเองยังต้องประหลาดใจ เมื่อ Marina Silva ผู้สมัครประธานาธิบดีหญิงจากพรรคอนุรักษ์ Green Party ของบราซิล ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งถึงร้อยละ 19 ซึ่งทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสอง และทำให้ผู้สมัครหญิง ที่ได้รับการหนุนหลังอย่างเต็มที่จากประธานาธิบดี Luiz Inacio Lula da Silva ต้องหมดโอกาสได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดในรอบแรก ถึงแม้ว่าในที่สุดแล้ว Dilma Rousseff ก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบสองไปตามคาดหมายก็ตาม
นักการเมืองหญิงชั้นนำทั้งสองของบราซิล ขัดแย้งกันในเรื่องการพัฒนาและการอนุรักษ์มาตั้งแต่ปี 2008 เมื่อ Silva ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมในรัฐบาลของประธานาธิบดี Lula เพราะขัดแย้งเรื่องโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและการบุกรุกพื้นที่ป่า กับรัฐมนตรีหลายคนรวมถึง Rousseff ที่ต้องมาชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิลกันในครั้งนี้
โดย Rousseff ต้องการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิล และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกถั่วเหลืองบุกรุกผืนป่า Amazon ส่งผลให้อัตราการตัดไม้ทำลายป่าในบราซิลพุ่งสูงลิ่ว หลังจากที่เคยลดต่ำติดต่อกันมานานหลายปี
การที่ Silva ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากเกินคาด ส่งผลให้ Rousseff ต้องเพิ่มนโยบายสิ่งแวดล้อมลงไปในนโยบายของเธอ และต้องให้สัญญาว่าจะลดการทำลายป่าฝน Amazon ซึ่งได้ชื่อว่า เป็น “ปอดของโลก” แต่ Rousseff ว่าที่ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิล จะสามารถอนุรักษ์ Amazon ไปพร้อมๆ กับรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลได้หรือไม่นั้น จะเป็นตัวตัดสินความสามารถในการเป็นประธานาธิบดีของเธอต่อไป
Angela Merkel ผู้นำหญิงของเยอรมนี เคยได้รับการขนาน นามเป็น “วีรสตรีแห่งสิ่งแวดล้อม” “นางฟ้าแห่งการอนุรักษ์” จากการที่เธอให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาโลกร้อนเป็นอันดับแรกๆ ของปัญหาโลก และตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนอย่างสูง Merkel ยังทุ่มลงทุนในพลังงานที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และอ้างว่าสามารถสร้างตำแหน่งงานด้านสิ่งแวดล้อมได้หลายแสนตำแหน่ง พร้อมกับยืนยันว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควรถูกมองว่าเป็นการลงทุน ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการลดก๊าซเรือนกระจก ดูมีเหตุมีผลในเชิงธุรกิจ
แต่เพียง 3 ปีให้หลัง หลังจากถูกกดดันอย่างหนักจากภาค อุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งวิตกว่าจะเสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศที่ไม่สนใจแก้ปัญหาโลกร้อนมากเท่ากับเยอรมนี Merkel ถึงกับกลับลำเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เธอเคยประกาศไว้ โดยประกาศยกเว้นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงของเยอรมนี ออกจากการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อไม่ให้กระทบกับการส่งออกของเยอรมนี ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตจากการส่งออกเป็นหลัก
Merkel ยังเปลี่ยนมาคัดค้านเป้าหมายที่เรียกว่า “20/20/20” ซึ่งเธอเองเคยผลักดันมาตั้งแต่ปี 2007 เป้าหมายดังกล่าวคือการที่ยุโรปจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% และเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงชนิดหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ 20% ภายในปี 2020 วิธีหนึ่งที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ คือโครงการคาร์บอนเครดิต (carbon credit) ของยุโรป ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การกำหนดให้ธุรกิจต้องจ่ายเงินชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเริ่มจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวในปี 2013 แต่ Merkel กลับประกาศว่า อุตสาหกรรมในเยอรมนีจะได้รับคาร์บอนเครดิตฟรีจนถึงปี 2020
การกลับลำของ Merkel ทำให้ประเทศอื่นๆ ถือโอกาสทำ ตามและต่อต้านโครงการคาร์บอนเครดิต ที่กำหนดให้บริษัทต้อง จ่ายเงินชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว (2010) Merkel ยังสร้างความโกรธแค้นให้แก่พรรคอนุรักษ์ Green Party ของเยอรมนี ด้วยการประกาศยืดอายุโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ของเยอรมนีออกไป จากที่เคยสัญญาว่าจะยกเลิกในปี 2022
แม้ Merkel จะถอดใจกับการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนไปแล้ว แต่ยังมีผู้นำหญิงอีกคนที่ก้าวเข้ามาแทนที่ นายกรัฐมนตรี Julia Gillard แห่งออสเตรเลียกำลังผลักดันโครงการค้าคาร์บอน แม้ว่าเรื่องนี้เกือบทำให้เธอต้องปราชัยในการเลือกตั้ง และเคยทำให้ Kevin Rudd ต้องตกกระป๋องจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียมาแล้ว ในขณะที่ Rudd เน้นเรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อน ว่าเป็นประเด็นทางศีลธรรม อย่างเช่นการพยายามช่วยชีวิตปะการัง ที่กำลังจะตาย
แต่ Gillard หันไปเน้นคุณค่าทางเศรษฐกิจ หากสามารถทำให้การลดการปล่อยคาร์บอนกลายเป็นการค้าได้ รวมทั้งเน้นให้เห็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ประชาชนอาจได้รับ หากไม่ยอมทำอะไรเลยเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน เช่นประชาชนอาจต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่แพงลิบลิ่วในอนาคต และการสูญเสียตำแหน่งงานในด้านพลังงานสะอาดไปให้แก่ต่างประเทศ
Gillard ถือว่าการทำให้คาร์บอนเป็นการค้า เป็นการปฏิรูป เศรษฐกิจภายในของออสเตรเลียเอง ล่าสุด นายกรัฐมนตรีหญิงออสเตรเลียผู้นี้เพิ่งประกาศว่า เกษตรกรออสเตรเลียจะได้รับคาร์บอนเครดิตจากการกระทำที่เป็นการอนุรักษ์เช่นการปลูกต้นไม้ และสามารถนำคาร์บอนเครดิตนี้ไปขายให้แก่บริษัทหรือแม้แต่รัฐบาลในประเทศ อื่นๆ ที่จะต้องจ่ายเงินซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพวกเขา
แนวคิดตลาดค้าคาร์บอนเครดิตโลกโดนใจผู้นำหญิงอีกคนคือ ประธานาธิบดี Ellen Johnson Sirleaf แห่งไลบีเรีย ซึ่งเป็น ประเทศกำลังประสบปัญหาหนักทั้งทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ เนื่องจากไลบีเรียยังคงต้องฟื้นฟูบูรณะประเทศจากสงคราม กลางเมือง ที่กินเวลานานหลายทศวรรษกว่า จะยุติลง สงครามกลางเมืองได้ทำลายภาคการเกษตรของไลบีเรียจนหมดสิ้น และยังทำลายป่าของไลบีเรียอย่างยับเยิน
Sirleaf ได้รณรงค์ให้ความรู้กับเกษตรกรไลบีเรีย เพื่อลดการพึ่งพิงการนำเข้าอาหาร และจัดตั้ง “สวนสันติภาพ” เพื่อปกป้องป่า Gola ซึ่งนับว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ชาญฉลาด เพราะจะทำให้ไลบีเรียมีสิทธิ์ได้รับรางวัลจากโครงการ REDD ของสหประชา ชาติ ซึ่งมีจุดประสงค์จะให้รางวัลในรูปของคาร์บอนเครดิตและอื่นๆ แก่ชาติกำลังพัฒนาที่ลงมือปกป้องผืนป่า ทั้งนี้ ประเด็นปัญหา ต่างๆ เกี่ยวกับโลกร้อนได้ถูกนำมาหารือในการประชุมสุดยอดปัญหาโลกร้อนของสหประชาชาติ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2010) ด้วย
ผู้นำหญิงอีกคนที่เริ่มโดดเข้าร่วมวงการแก้ปัญหาโลกร้อน คือ Sonia Gandhi หัวหน้าพรรค Congress ของอินเดีย ที่เพิ่งติดธงให้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติของอินเดีย พอๆ กับปัญหาเศรษฐกิจ และหวังว่าผู้นำโลกคนอื่นๆ จะเลือกเดินตามรอยนาง Gandhi หรือ Gillard หรือ Sirleaf มากกว่า Merkel
แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค
|
|
 |
|
|