Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
ผู้ส่งออกน้ำตาลโลกกดดันให้เปิดเสรี             
 


   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มพันธมิตรน้ำตาลโลกเพื่อการปฏิรูปและการเปิดเสรีการค้าน้ำตาล

   
search resources

Agriculture
กลุ่มพันธมิตรน้ำตาลโลกเพื่อการปฏิรูปและการเปิดเสรีการค้าน้ำตาล




กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลในตลาดโลก ชี้นโยบายของหลายประเทศที่อุดหนุนหรือกีดกันการนำเข้าน้ำตาล ส่งผลให้ปัญหาน้ำตาลโลกตึงตัวทวีความรุนแรงขึ้น เหตุการเคลื่อนย้ายน้ำตาลไม่ทันกับความต้องการของผู้บริโภค เรียกร้องรัฐบาลแต่ละประเทศเร่งหาข้อสรุปเปิดเสรี

กลุ่มพันธมิตรน้ำตาลโลกเพื่อการปฏิรูปและการเปิดเสรีการค้าน้ำตาล หรือ GSA ได้ส่งเสียงสะท้อนไปยังรัฐบาลในประเทศต่างๆ หลังการประชุมครั้งล่าสุดที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของผู้นำกลุ่ม G20 ให้เจรจาการค้ารอบโดฮาบรรลุข้อสรุป

เอียน แกลซ์ซัน ประธานคนใหม่ของกลุ่ม GSA และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม Sucrogen กล่าวว่า ปัญหาการกีดกันทางการค้าของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ที่เข้ามาแทรกแซงการนำเข้าและส่งออกน้ำตาลทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำตาลไปยังที่ต่างๆ ไม่ทันตามความต้องการของผู้บริโภคของแต่ละประเทศ มีผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ดังนั้น การดำเนินนโยบายทางการค้าเกี่ยวกับสินค้ากลุ่มน้ำตาลจะต้องมีการเปิดเสรี เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถบริหารจัดการเพื่อรองรับกับความต้องการบริโภคน้ำตาลในแต่ละประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรณีของประเทศอินเดียได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง เพราะอินเดีย มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่เปิดให้มีการส่งออก ในกรณีที่มีปริมาณการผลิตมากพอสำหรับความต้องการภายในประเทศ และสามารถนำเข้าน้ำตาลทรายได้หากได้รับผลกระทบจากฤดูการผลิตที่ทำให้ปริมาณน้ำตาลไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของประเทศ อินเดียมีศักยภาพในการส่งออกที่มั่นคง ซึ่งต่างจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่แม้ผลิตน้ำตาลเพื่อการส่งออกได้ แต่มาตรการปกป้องโครงสร้างการอุดหนุนภายในเป็นปัจจัยถ่วง ทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปไม่มีความเข้มแข็ง

“ในประเทศที่เจริญแล้ว ภาครัฐไม่ควรอุดหนุนหรือกีดกันทางการค้าสำหรับน้ำตาลหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ เพราะการแทรก แซงของภาครัฐที่ไม่ได้สะท้อนถึงกลไกของตลาด ไม่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริง จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลผลิตน้ำตาล ล้นตลาด และทำให้ราคาน้ำตาลผันผวน ทั้งยังไม่ได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืนทั่วทั้งโลกได้และไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการปริมาณน้ำตาลที่คาดว่า จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 40 ตันในช่วงทศวรรษข้างหน้านี้” เอียนกล่าว

ประธานกลุ่ม GSA กล่าวอีกว่า การแทรกแซงและควบคุม อุตสาหกรรมน้ำตาลดังกล่าว ยังส่งผลต่อการนำน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอล เนื่องจากกลไกทางราคาที่ถูกบิดเบือนจากโครงสร้าง ภาษีนำเข้าและอุปสรรคการค้าที่มิใช่ภาษี มีผลต่อการพัฒนาตลาดเอทานอลโลก และความสามารถของอุตสาหกรรมในการมี ส่วนช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ทั้งนี้ ทางกลุ่ม GSA จึงเรียกร้องให้ผู้นำโลกดำเนินนโยบาย ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก ลดการบิดเบือนการอุดหนุนภายในประเทศ เพื่อให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดความต้องการในการผลิต และความต้องการบริโภคน้ำตาล จะทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลและเอทานอลเดินหน้าได้อย่างเข้มแข็ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us