Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
“ข้าวสร้างสุข” ช่วยเกษตรกรและผู้บริโภคไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
โฮมเพจ มูลนิธิชัยพัฒนา

   
search resources

บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บมจ.
Agriculture
มูลนิธิชัยพัฒนา




ผลพวงจากอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้เกษตรกรเผชิญกับความยากลำบากแล้ว ผู้บริโภคข้าวชาวไทยยังได้รับผลกระทบจากราคาข้าวที่ปรับตัวขึ้นด้วย เป็นเหตุให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามให้ความช่วยเหลือ และในจำนวนนั้นมีมูลนิธิชัยพัฒนาร่วมอยู่ด้วย

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนายอีฟ เบรบ็อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ให้ความร่วมมือกันในโครงการ “ข้าวสร้างสุข” โดยข้อตกลงจะให้การสนับสนุนมูลค่า 5 ล้านบาท ในด้านการช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์และการสร้างไซโลเพื่อเก็บรักษาข้าว ทั้งส่วนที่จะนำไปทำเมล็ดพันธุ์และที่จะนำไปแปรรูปเพื่อบรรจุถุงจำหน่ายในขั้นต่อไป

โครงการ “ข้าวสร้างสุข” เป็นโครงการที่จะเน้นการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ที่เริ่มต้นตั้งแต่การผลิตพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์ปลอดภัยจากสารพิษ โดยมูลนิธิชัยพัฒนาจะคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ส่วนการปลูกข้าวก็จะมีการให้ความรู้กับเกษตรกรตั้งแต่การเตรียมดินและดำเนินการปลูก จนถึงการใส่ปุ๋ยและเก็บเกี่ยวที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

ทั้งนี้จะมีการดูแลในทุกขั้นตอนโดยร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมการข้าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน ซึ่งนอกจากตัวเกษตรกรผู้ปลูกแล้วก็ยังส่งผลดีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่การเกษตร จนถึงผู้บริโภคเองก็จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารพิษ ไม่มีสิ่งตกค้างอันจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งการพัฒนาข้าวในโครงการ “ข้าวสร้างสุข” จะสร้างสุขให้กับทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง

ทั้งยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ข้าวไทยได้ก้าวหน้าและก้าวไกลอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตรที่เหมาะสมต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ตระหนักและให้ความสำคัญในด้านการเลือกเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชกระแสให้มูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินโครงการฟื้นฟู ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในปี 2553 โดยได้แบ่งการดำเนินโครงการเป็นสองระยะ ระยะแรกเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ระยะที่สองให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชให้กับราษฎรเพื่อการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องเป็นลำดับต่อไป อันนำมาสู่ความร่วมมือกับบิ๊กซีที่เสนอความร่วมมือในการที่จะจัดทำโครงการข้าวสร้างสุข (บรรเทาทุกข์เกษตรกรจากภัยน้ำท่วมเพื่อดำรงชีพอย่างยั่งยืน)”

ภายใต้โครงการดังกล่าว มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ดำเนินการ การจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย กำหนดหลักเกณฑ์ของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการฯ และหลักเกณฑ์ในการรับซื้อข้าวและรับคืนเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเกษตรกรเพื่อการแปรรูป และการเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อแจกจ่ายต่อไป

รวมถึงดำเนินการนำผลผลิตข้าวไปเข้าขบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนถึงการบรรจุถุงพร้อมวางขายให้ผู้บริโภค และพิจารณาการสร้างโรงเก็บข้าวเปลือกสำหรับการเก็บข้าวในโครงการ ซึ่งผลผลิตข้าวบรรจุถุงนั้น มูลนิธิฯ จะดำเนินการจำหน่าย ณ โครงการศูนย์สาธิตและพัฒนาพลังงานทดแทนจากข้าวครบวงจร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะเป็นการเผยแพร่แนวพระราชดำริในการที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหันมาใช้การปลูกที่เหมาะสมโดยวิธีผสมผสาน โดยการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติและเชื้อราเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

“การสนับสนุนเงินทุนของบิ๊กซี จะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เงินทุนสนับสนุนการจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูงให้กับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 2,000,000 บาท และการสร้างโรงเก็บเมล็ดข้าว จำนวน 3,000,000 บาท รวมทั้งสิ้น 5,000,000.00 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรเทาทุกข์ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ประสบอุทกภัยได้ 2,000-5,000 ไร่”

อีฟ เบรบ็อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การได้สัมผัสเมืองไทยใกล้ชิดมากว่า 10 ปี เมื่อเห็นประเทศไทยประสบอุทกภัยเป็นวงกว้าง สิ่งแรกที่ห่วงคือเรื่องปากท้อง ในขั้นแรกบิ๊กซีได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั้งในรูปความช่วย เหลือด้านเงิน เครื่องอุปโภคและบริโภค และการลงแรงไปช่วยเหลือของพนักงานบิ๊กซี ซึ่งได้นำถุงยังชีพไปมอบให้พี่น้องชาวอีสาน ภาคกลางและภาคใต้ในทันที แต่ขณะเดียวกันก็มองหาวิธีที่จะช่วยเหลือหลังน้ำลดแล้วไปพร้อมๆ กัน

“โชคดีที่ผมได้มีโอกาสพบปะหารือกับมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นมูลนิธิฯ ที่ได้ริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการ อยู่เบื้องหลังการพัฒนาโครงการเพื่อพี่น้องชาวไทยมากมาย ผมพบว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและสำคัญมาก เพราะประเทศไทยบริโภคข้าวและส่งออกข้าวเป็นหลัก โครงการนี้ นอกจากจะให้เมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรเพื่อไปปลูกข้าว ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ที่คัดสรรและพัฒนามาอย่างดี เหมาะสมกับการปลูกช่วงฤดูนาปรังที่กำลังจะมาถึง มีหน่วยงานดูแลให้ความรู้ร่วมกับเกษตรกรในทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ปลายทางที่เหมาะสม ปลอดภัยจากสารพิษ ดีต่อทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภคและระบบนิเวศ” อีฟกล่าว

นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านเงินทุนข้างต้น บิ๊กซียัง นำจุดแข็งของการมีสาขากว่า 70 แห่ง มาช่วยสนับสนุนด้านพื้นที่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายสินค้าดีต่อสุขภาพและปลอดภัยจากสารพิษของมูลนิธิชัยพัฒนา ภายใต้แบรนด์ “ภัทรพัฒน์” ไปสู่ผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน โดยมองว่าจะเริ่มทดลองจากสาขาในเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อและให้ความสำคัญต่อสุขภาพก่อน เช่น บิ๊กซี เอกมัย

ทั้งนี้ หลังจากนี้อีก 3 เดือน เมื่อได้ผลผลิตรุ่นแรกของ “ข้าวสร้างสุข” ซึ่งได้การรับรองว่าผ่านขั้นตอนการเพาะปลูกที่ดี มี GAP (Good Agricultural Practice) มาแล้ว ก็จะมีการนำข้าวไปสีในโรงสีที่ได้รับการรับรองว่ามีขั้นตอนการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice) ก่อนบรรจุถุง และนำมาวางจำหน่ายในบิ๊กซี ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายที่เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่าง ทั่วถึงต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us