Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554
แยกดีเอ็นเอนักชอปไทย             
 


   
search resources

เดนท์สุ ยังค์ แอนด์ รูบิแคม, บจก. - DYR
Research




สภาพเศรษฐกิจซบเซาได้ลากยาวมา 1-2 ปี เหตุปัจจัยเกิดจากการล่มสลายเศรษฐกิจในต่างประเทศ รวมไปถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมในการจับจ่ายของคนไทยเพียงใด

บริษัท เดนท์สุ ยังก์ แอนด์ รูบิแคม จำกัด เฝ้าติดตามพฤติกรรม นักชอปมาได้ระยะหนึ่ง พร้อมกับผลงานวิจัยกลุ่มตัวอย่าง 500 คนทั่วประเทศ มีอายุตั้งแต่ 18-65 ปีที่อาศัยอยู่ในเมืองและใกล้กับห้างสรรพสินค้าไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

จากผลวิจัยบริษัทได้จัดกลุ่มนักชอปตามค่านิยมและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สุขนิยมของนักแสวงหา (Exploring Hedonist) เป็นนักชอปเยาวชนส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 18-22 ปี นักชอปรุ่นเยาว์เหล่านี้มีพฤติกรรมเกาะกระแส เพื่อต้องการให้มีความโดดเด่น แต่มีระบบบริหารการเงินที่ย่ำแย่ เป็นกลุ่มที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าทำให้ถูกกระตุ้นด้วยโปรโมชั่นได้ง่าย จนทำให้สามารถซื้อสินค้าที่ไม่ได้ตั้งใจมาก่อนและยอมจ่ายเงินเกินงบประมาณที่กำหนดไว้ นักชอปกลุ่มนี้ชอบทดลองสินค้าใหม่ๆ เพราะไม่ยอมตกเทรนด์

กลุ่ม 2 กลุ่มนักชอปเกาะกระแสเพื่อความมั่นคง (Contemporary Achiever) มีอายุระหว่าง 23-29 ปี กลุ่มวัยทำงานที่ต้องการให้คนภายนอกมองว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จ นักชอป กลุ่มนี้จะมีการวางแผนก่อนซื้อสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค มีนิสัยสอบถามข้อมูลจากเพื่อนและผู้ที่เคยใช้สินค้ามาก่อน

นักชอปกลุ่มนี้จะไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าในทันที แต่จะเดินตรวจสอบข้อมูลสินค้าในร้านเพื่อเก็บข้อมูลโปรโมชั่นและสินค้าน่าสนใจ เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญบริการหลังการขายมากที่สุด

กลุ่ม 3 กลุ่มตรรกะแห่งความคุ้มค่า (Logical Value Maximizer) มีอายุระหว่าง 30-49 ปี เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ส่วนใหญ่นักชอปกลุ่มนี้จะแต่งงานมีครอบครัว เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากที่สุด จึงมีการวางแผนก่อนซื้อ และเปรียบเทียบราคาสินค้า พฤติกรรมส่วนหนึ่งจะคล้ายคลึงกับกลุ่มเกาะกระแสที่ชอบตรวจสอบข้อมูลและสอบถามคนที่เคยใช้มาก่อน

พฤติกรรมการซื้อสินค้าจะซื้อจำนวนมากเป็นแพ็กใหญ่ เพราะเชื่อว่าคุ้มค่าเงินที่จ่ายกว่า และเป็นกลุ่มที่ชอบแสดงความคิดเห็นต่อสินค้า แต่สิ่งที่สนใจเป็นอย่างมาก กลุ่มนี้เป็นเชื่อโฆษณา น้อยที่สุด

กลุ่ม 4 กลุ่มสูงวัยหัวใจหลุดกรอบ (Openly Ageing) ผู้สูงอายุระหว่าง 50-65 ปี เป็นกลุ่มที่มีความกระตือรือร้น ชอบติดตามสถานการณ์สังคม แต่เป็นกลุ่มที่สนใจต่อสิ่งเร้ารอบตัว ตั้งแต่การโฆษณา การแจกของตัวอย่าง คูปองส่วนลด เป็นกลุ่มที่ ชอบให้มีการสะสมยอดซื้อเพื่อเป็นส่วนลดครั้งถัดไป

กลุ่มนักชอปสูงวัยในอนาคตจะมีเพิ่มสูงขึ้น หรือเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรไทย 60 กว่าล้านในปัจจุบัน

กลุ่ม 5 กลุ่มอบอุ่นความคุ้นชิน (Comfort Zone Seeker) เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุด มีอายุตั้งแต่ 23-65 ปี แม้ว่าอายุจะหลากหลายแต่กลับมีค่านิยมและกระบวนการตัดสินใจซื้อที่ชัดเจนและคล้ายกันคือ ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตในบ้านที่อยู่อาศัย ชอบใช้เวลาอยู่กับครอบครัวที่บ้าน

มีพฤติกรรมชอบอ่านป้ายหรือแผ่นโฆษณาส่งเสริมการขาย สินค้าราคาพิเศษ รวมถึงคูปองที่แจกภายในห้างก่อนที่จะซื้อสินค้า แต่เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมและบริการเสริมหลังการขายน้อยที่สุด

ต้องมาดูกันอีกทีว่าบรรยากาศในปีกระต่ายจะสร้างแรงกระตุ้นนักชอปให้ยอมควักกระเป๋าสตางค์หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us