Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538
สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ มาเร็วและมาแรงตามเป๊ปซี่อินเตอร์             
 


   
search resources

เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง, บจก.
Soft Drink
สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์




"สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์" เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงการตลาดมากขึ้น นับตั้งแต่ปลายปี 2536 หลังจากที่เขาได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด (PCI) ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด ดูแลผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และบรรจุภัณฑ์ใหม่ในตลาดประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แทน อภิรักษ์ โกษะโยธิน ซึ่งถูกเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด หลังจากที่ ชาลี จิตจรุงพร ลาออกไปเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เรมี่ (ประเทศไทย) จำกัด

แต่นับจากปี 2538 ชื่อของสุรินทร์คงจะเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันมากขึ้นไปอีกเนื่องจากเมื่อปลายปี 2537 เขาถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก ตำแหน่งหนึ่งของ PCI เพราะต้องดูแลรับผิดชอบด้านการตลาดให้กับ 3 ผลิตภัณฑ์หลักอย่างเป๊ปซี่ มิรินด้า และเซเว่นอัพ

สาเหตุที่ทำให้สุรินทร์ถูกเลื่อนตำแหน่งครั้งนี้ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งสำคัญของบริษัทแม่ คือ เป๊ปซี่ โคล่า อิงค์ ที่ต้องการรุกธุรกิจขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งบริษัท เป๊ปซี่ โค ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นมารับผิดชอบการทำตลาดขนมขบเคี้ยวชนิดเค็มอย่างมันฝรั่งเลย์และข้าวโพดทอดกรอบซีโตส โดยโยกย้ายอภิรักษ์มาเป็นกรรมการผู้จัดการ

ว่ากันว่าการได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วของสุรินทร์ครั้งนี้ ทำให้นักการตลาดบางคนที่เคยทำงานที่ PCI แต่ชิงลาออกไปก่อนถึงกับบ่นด้วยความเสียดายว่า "ถ้ายังอยู่ผมก็คงสบายไปแล้ว" ให้ได้ยิน

เพราะถ้าเทียบกับอภิรักษ์ซึ่งถือว่าฮือฮาเพราะก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดอย่างรวดเร็วแล้ว ยังเทียบไม่ได้กับสุรินทร์ เพราะอภิรักษ์ยังใช้เวลาที่ PCI กว่า 3 ปี ขณะที่สุรินทร์ขึ้นมาภายในเวลาเพียง 1 ปี ต่างกันเพียงว่าอภิรักษ์ต้องรับผิดชอบดูแลตลาดอินโดจีนด้วย แต่สุรินทร์รับผิดชอบเฉพาะตลาดประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ดี แม้ว่าสุรินทร์จะมีประสบการณ์ในตลาดน้ำอัดลมน้อย แต่ถ้าพิจารณาปูมหลังกันแล้วจะพบว่าพื้นฐานของสุรินทร์มิได้เป็นรองใคร เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิดเดิล เทนเนสซี่ สเตท สหรัฐฯ

ก่อนที่จะเข้ามาร่วมงานกับ PCI สุรินทร์ได้สั่งสมประสบการณ์การทำงานด้านการตลาดที่บริษัท ลีเวอร์ บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ 6 ปี โดยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้แก่ลีเวอร์ ผลงานที่โดดเด่นของเขา คือ การนำไอศกรีมวอลล์ออกสู่ตลาดในปี 2531 และนั่งเก้าอี้ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเป็นตำแหน่งสุดท้าย

สำหรับที่ PCI ในฐานะ "ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด" ภารกิจที่สำคัญที่สุรินทร์จะต้องผลักดันให้ลุล่วงในปี 2538 เพื่อพิสูจน์ความสามารถก็คือ การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเป๊ปซี่ มิรินด้า หรือเซเว่นอัพ ซึ่งเป็นแนวทางการรุกตลาดตามแผนแม่บทที่บริษัทแม่กำหนดไว้ให้กับทุกประเทศ

โดยในส่วนของผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เดียวของบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดเหนือกว่าคู่แข่งนั้นจะเปิดฉากรุกตลาดด้วยแคมเปญโฆษณาชุด "แรกรัก" ที่มีซินดี้ ครอฟอร์ด เป็นพรีเซ็นเตอร์ ก่อนที่จะตามมาด้วยเรื่อง "บัส" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่ารักและเฉลียวฉลาดของคนรุ่นใหม่ในช่วงฤดูร้อน

นอกจากการโฆษณาแล้วในปี 2538 เป๊ปซี่จะใช้กลยุทธ์ "มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง" เข้ามาช่วยรุกตลาดอย่างเข้มข้นชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้การสนับสนุนการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินดนตรีจากต่างประเทศ ซึ่งในปี 237 เป๊ปซี่ให้การสนับสนุนคอนเสิร์ตจากต่างประเทศเฉลี่ย 6 สัปดาห์ต่อ 1 คอนเสิร์ต แต่ในปี 2538 เพิ่มความถี่เป็น 4 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้งหรือเฉลี่ยเดือนละ 1 คอนเสิร์ต โดยเป๊ปซี่ได้จับมือกับบริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จัดแคมเปญ "เป๊ปซี่ มิวสิค โฟร์ ยู 1995"

ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อให้กลยุทธ์มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง ครบวงจรมากขึ้น เป๊ปซี่ยังจะให้การสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงทุกชนิดของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด ทั้งนี้เพื่อเจาะกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมฟังเพลงไทยให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เป๊ปซี่ให้การสนับสนุนศิลปินไทย

ส่วนการประกวดร้องเพลงซึ่งเคยจัดในชื่อ "เป๊ปซี่ มิวสิค เฟสติวัล" ก็จะดำเนินการต่อไปแต่เปลี่ยนชื่อไปเป็น "เป๊ปซี่ โรบินสัน มิวสิค เฟสติวัล"

สรุปแล้วปี 2538 เป๊ปซี่จะใช้เงินในการจัดรายการมิวสิก มาร์เก็ตติ้งทั้งสิ้นประมาณ 30-40 ล้านบาท เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญ 2 ประการ คือ การตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาดน้ำดำและเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดจาก 57% เป็น 60% ภายในปี 2538

สำหรับมิรินด้าและเซเว่นอัพซึ่งเป็นตลาดที่ยังเป็นรองคู่แข่งอย่างแฟนต้าและสไปรท์อยู่หลายขุมนั้น เป๊ปซี่ก็จะเดินหน้ารุกตลาดนี้อย่างเต็มตัว เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเป็นตลาดแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยในส่วนของมิรินด้านั้นจะขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างอายุ 15-24 ปีรวมทั้งวางตำแหน่งสินค้าให้นึกถึงส้มนึกถึงมิรินด้า

กิจกรรมแรกตามกลยุทธ์การตลาดใหม่ของมิรินด้า คือ แคมเปญโฆษณาใหม่ 3 เรื่องที่มี "มิรินด้าแมน" 3 คนเป็นตัวเอกทำหน้าที่สื่อแนวคิดหลัก คือความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ความสดชื่น ความฉลาด และการมีความคิดสร้างสรรค์ของมิรินด้าแมน

ด้านเซเว่นอัพซึ่งมุ่งกลุ่มเป้าหมายชายหญิงอายุ 12-29 ปี ก็ได้มีการปรับบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยได้ยกเลิกการใช้ตัวการ์ตูน ไฟโด้ ดิโด้ ที่อยู่คู่กับเซเว่นอัพมานานไปเป็นลวดลายกราฟิกทันสมัยแทนก่อนที่จะนำภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ 2 เรื่อง คือ "Beach" และ "Waterfall" ออกฉายเช่นกัน

แผนการเดินหน้าหาส่วนแบ่งตลาดเพิ่มของค่ายเป๊ปซี่ในปี 2538 นอกจากจะเป็นการรักษาตลาดประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของเป๊ปซี่เอาไว้แล้วยังน่าจะเป็นข้อสอบที่วัดความสามารถของแม่ทัพใหม่อย่าง "สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์" ได้เป็นอย่างดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us