Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์7 มกราคม 2554
ส่องกล้องปี 2554 รพ.ภาคตะวันออก             
 


   
search resources

โรงพยาบาลกรุงเทพ
Hospital




นพ.พิชิต กังวลกิจ

หลังจากจับมือกันอย่างเป็นทางการสำหรับเครือโรงพยาบาลกรุงเทพกับพญาไท ทำให้ภาพธุรกิจโรงพยาบาลโดยเฉพาะภาคตะวันออกเปลี่ยนจากการแข่งขันเป็นความร่วมมือกัน เพราะโรงพยาบาลเอกชนภาคตะวันออกปัจจุบันมีเพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ กรุงเทพ สมิติเวช และพญาไท

ดังนั้น โค้งสุดท้ายปลายปีนี้จากที่ธุรกิจโรงพยาบาลจะต้องแข่งขันกันก็เปลี่ยนเป็นความร่วมมือแทน แต่ความร่วมมือยังมิอาจเปิดเผยได้ คงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือนเพื่อทำความตกลงร่วมกันก่อน

แต่สำหรับ “โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา” แล้ว แม้วันนี้จะยังไม่รู้ถึงความร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ร.พ.กรุงเทพพัทยาจะทำจากนี้ไปก็สำคัญไม่แพ้กัน คือการเป็น Health Destination หรือจุดหมายสุขภาพที่คนทั่วโลกต้องมาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอความงาม แอนไทเอจจิ้ง การทำฟัน การตรวจสุขภาพ การรักษาโรค ฯลฯ

“เราวางวิชั่นของตัวเองที่จะเป็นเมืองสุขภาพในแผนที่โลก” นพ.พิชิต กังวลกิจ ผู้อำนวยการ ร.พ.กรุงเทพพัทยา กล่าว

เครื่องมือใหม่สร้างฐานลูกค้า

นพ.พิชิต กล่าวว่า การจะเป็น Health Destination ได้ ร.พ.กรุงเทพจะต้องมีเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้นำ “Ice Lab” เครื่องที่ใช้สำหรับบำบัดความเจ็บปวดจากประเทศเยอรมนี โดยใช้ความเย็นเป็นตัวบรรเทาความเจ็บปวด คลายเครียด ปรับสมดุลสมอง ถือเป็นเครื่องแรกในอาเซียน เครื่องมือดังกล่าวจะมีอุณหภูมิถึง -100 องศาเซลเซียส โดยผู้รับบำบัดจะเข้าไปบำบัดในเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นจะบำบัดด้วยเพลงอีกครั้ง ซึ่งจะเปิดให้บริการเดือนมีนาคม 2554 นี้

โดยกลุ่มเป้าหมายมีทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือนักกีฬาที่ต้องการลดอาการเจ็บปวดจากการเล่นกีฬา ซึ่ง ร.พ.กรุงเทพเป็นผู้สนับสนุนสโมสรพัทยายูไนเต็ดอยู่แล้ว นอกจากเครื่องมือใหม่ๆ ความชำนาญด้านศูนย์การแพทย์ที่ ร.พ.กรุงเทพพัทยามีความชำนาญ คือ ด้านสมอง กระดูกและข้อ และหัวใจ ยังถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง

ทั้งนี้ ปี 2554 ศูนย์หัวใจจะมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่า IVUS เพื่อทำหน้าที่ตรวจเช็กการใช้บอลลูนขยายเส้นเลือดได้ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของภาคตะวันออกที่มีเครื่องมือดังกล่าว

ส่วนด้านสมองจะมีการนำเครื่องมือที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการผิดปรกติด้านการนอนกรน เป็นลมชัก ทางเดินหายใจอุดตัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ฯลฯ เข้ามารักษา โดย ร.พ.จะมีแพทย์ที่ชำนาญด้านนี้จบจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมงานในปี 2554

ด้านศูนย์กระดูกและข้อมีความร่วมมือกับศูนย์แพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพในเรื่องของเครื่องมือในการผ่าตัดซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำ เครื่องมือผ่าตัดแผลขนาดเล็ก นอกจากนี้ จะมีการนำเครื่องวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยลมหายใจ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่แตกต่างจากอดีต ที่ถ้าต้องตรวจมะเร็งกระเพาะจะต้องใช้การส่องกล้องเพื่อเอาเชื้อมาวิเคราะห์

นอกจากทั้ง 3 ศูนย์ที่ ร.พ.กรุงเทพพัทยามีความชำนาญแล้ว ร.พ.ยังชำนาญศูนย์การมีบุตรยากซึ่งให้บริการแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำอิกซี่ หรือเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ ที่สำคัญค่ารักษาที่ถูกกว่าต่างประเทศทำให้ต่างชาตินิยมเข้ามารักษาที่ รพ.

“ถ้าเทียบกับยุโรปเราถูกกว่า 5 เท่า เทียบกับอเมริกาถูกกว่า 9-10 เท่า เทียบกับสิงคโปร์ถูกกว่า 1 เท่า ส่วนมาเลเซียราคาพอๆ กัน แต่สิ่งที่ทำให้ต่างชาตินิยมมาใช้บริการที่ไทยเพราะราคาไม่สูง การรักษาระดับนานาชาติ และบริการแบบไทย”

โดยสัดส่วนผู้ป่วยของโรงพยาบาลเป็นต่างชาติ 40% หรือปีละกว่า 100,000 คน คนไทย 60% ทั้งนี้ สัดส่วนของต่างชาติจะเข้ามาเพื่อรักษาโรค 70% ความงาม ทันตกรรม 30% ทำให้รายได้ของ ร.พ.กรุงเทพพัทยา ติด 1 ใน 5 ของโรงพยาบาลทั้งประเทศ คาดว่าสิ้นปี 2553 จะมีรายได้ 2,500 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปี 2552 12% ส่วนปี 2553 คาดว่าจะมีรายได้ 2,800 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 13% คาดว่าปี 2554 จะได้กำไร 13%

4 จุดเด่นสร้างชื่อ ร.พ.

สำหรับจุดเด่นที่ทำให้ ร.พ.กรุงเทพพัทยา สามารถทำรายได้ติด 1 ใน 5 ของ ร.พ.ทั้งประเทศ คือ 1.ความที่พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยว และชาวต่างชาตินิยมเข้ามาเที่ยว 2.ร.พ.มีการพัฒนาด้านการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ 3.ร.พ.ได้รับมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ต่างชาติรู้จักเป็นอย่างดี และเป็นมาตรฐานการดูแลสุขภาพอันส่งผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ใช้บริการ 4.ค่าใช้จ่ายไม่แพง

“ร.พ.กรุงเทพพัทยา เป็นหนึ่งในไม่กี่ ร.พ.ที่ได้รับมาตรฐาน JCI มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่บริษัทประกันรู้จักเป็นอย่างดี ทำให้ ร.พ.ได้รับการยอมรับจากต่างชาติเป็นอย่างมาก”

เมื่อมองถึงการแข่งขันของ ร.พ.ภาคตะวันออก แล้ว ในมุมมองของ นพ.พิชิต มองว่า การแข่งขันไม่รุนแรง เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลจับกลุ่มคนละกลุ่มกัน โดย ร.พ.กรุงเทพจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงสูง และชาวต่างชาติ หรือโรคที่ต้องการการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ขณะที่ ร.พ.พญาไทจะรับรักษาโรคทั่วไป ผู้ป่วยประกันสังคม ส่วน ร.พ.สมิติเวช รับรักษาผู้ป่วยที่ต้องการแพทย์ที่มีความสามารถสูงๆ

นอกจากนี้ หลังจากที่เครือโรงพยาบาลกรุงเทพได้จับมือกับพญาไทแล้วการแข่งขันก็ไม่มี แต่จะเป็นการประสานความร่วมมือกันมากกว่า เพียงแต่ความร่วมมือจะเป็นรูปแบบใดยังไม่สามารถบอกได้ ต้องรออีก 2 เดือนข้างหน้า

ปากต่อปากกลยุทธ์สำคัญ

สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการทำตลาดคือกลยุทธ์ปากต่อปากถึง 70% ส่วนอีก 10% มาจากเอเยนซี และอีก 20% มาจากทางออนไลน์

“เรามีบริการรับผู้ป่วยถึงสนามบิน และมีเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์อยู่ใน ร.พ.เพื่อให้ญาติของผู้ป่วยได้พัก ที่สำคัญเรามีล่ามถึง 30 ภาษาซึ่งสามารถสื่อสารกับผู้ป่วย และติดต่อบริษัทประกันต่างประเทศได้อย่างชำนาญ”

นอกจากนี้ ในปีหน้าจะทำ Health Promotion หรือการค้นหาคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นผู้ป่วยเพื่อให้เขาได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ โดยได้ซื้อซอฟต์แวร์สำหรับทำ PHM (Personal Health Management) ที่ชื่อ Seve l เข้ามาใช้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 1 ปี 2554 นับเป็นการทำตลาดเชิงรุกอย่างหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us