Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538
สหวิริยาขายคอมพ์อย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว             
 


   
search resources

สหวิริยาโอเอ
Commercial and business




"มีอุตสาหกรรมไหนบ้างภายใน 10 ปีราคาลดลง 10 เท่า ความสามารถเพิ่มขึ้น 10 เท่า ผมขายพีซี 1 ชุดเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ด้วยราคา 250,000 บาท แต่วันนี้ราคาลดลงเหลือ 25,000 บาท แถมความสามารถยังสูงกว่าอีก"

คำกล่าวของ แจ็ค มิน ชุน ฮู ประธานกรรมการบริษัทสหวิริยา โอเอ จำกัด สะท้อนถึงสภาวะของตลาดของธุรกิจคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

แม้ว่ามูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์โดยรวมจะเติบโตขึ้น แต่ผลกำไรจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ลดต่ำลงสวนทางกับต้นทุนการดำเนินงานที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา กลายเป็นภาวะบีบรัดที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทำธุรกิจในแนวเดิมได้อีกต่อไป

สหวิริยาเคยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในธุรกิจค้าผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในลักษณะซื้อมาขายไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ในห้วงปี 2538 สหวิริยาไม่สามารถดำเนินธุรกิจในลักษณะนั้นได้อีกต่อไป

"ในอดีตเราสามารถทำรายได้เติบโตปีละ 200% นั่นเพราะตลาดยังเล็กอยู่ แต่เราจะไม่มีวันมีรายได้เติบโตได้ถึง 100-200% อีกต่อไป หากผมรอกินบุญเก่า และในที่สุดผมจะตาย"

สหวิริยาได้ลงมือจัดทัพใหม่ ด้วยการแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่มตามลักษณะของลูกค้าแทนการแบ่งองค์กรตามประเภทสินค้าเช่นในอดีต ซึ่งสายธุรกิจใหม่นี้ จะครอบคลุมตั้งแต่ลูกค้าระดับตั้งแต่คอนซูเมอร์ ตลอดจนองค์กรธุรกิจขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ และลูกค้าต่างประเทศ

กลุ่มธุรกิจแรก คือ ไอที เทอร์มินัล โพรดักส์ จะมุ่งเจาะขยายลูกค้าคอนซูเมอร์โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบของกลุ่มนี้ จะครอบคลุมตั้งแต่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อุปกรณ์ต่อพ่วงทุกชนิด อุปกรณ์สื่อสาร ตลอดจนผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่สหวิริยาและบริษัทในเครือเป็นตัวแทนจำหน่าย

การขยายช่องทางจัดจำหน่าย เพื่อกระจายสินค้าถึงมือลูกค้าให้เร็วที่สุด คือสิ่งที่สหวิริยาจะต้องเร่งผลักดันมากที่สุด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการทำตลาดสินค้าประเภทคอนซูเมอร์ที่มีมูลค่าตลาดมหาศาล แต่กำไรมีเพียงเล็กน้อย

นอกจากร้านโอเอเซ็นเตอร์ และมินิโอเอ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแขนขาแล้วนั้น สหวิริยาเตรียมผุดซูเปอร์สโตร์ เพื่อเป็นแขนขาอีกประเภทหนึ่งในการกระจายสินค้า

เป้าหมายของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงเป็นการ "รักษาฐานธุรกิจในอดีตให้ดำรงอยู่ ด้วยเป้ายอดรายได้รายได้ 4,000 ล้านบาท

ธุรกิจกลุ่มที่สอง คือ ซิสเต็มส์ อินทิเกรชั่น จะมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีประเภทองค์กรขนาดใหญ่ ยุทธวิธีทางธุรกิจจึงแตกต่างไปจากกลุ่มธุรกิจแรก โดยจะเป็นการเสนอขายระบบงานคอมพิวเตอร์แบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การจำหน่ายการออกแบบและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการฝึกอบรมที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ

แม้ว่าฐานตลาดของธุรกิจประเภทนี้จะมีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับธุรกิจแรก แต่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตไปได้ด้วยดี เพราะความต้องการของลูกค้าในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ อีกทั้งผู้ประกอบการยังสามารถแสวงหารายได้เสริมจากการออกแบบ ติดตั้ง และการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นส่วนที่สร้างผลกำไรให้กับผู้ค้าได้มากกว่าการขายฮาร์ดแวร์เสียอีก

กลุ่มธุรกิจที่ 3 โทรคมนาคม และพับลิคเซอร์วิส กลุ่มนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองทิศทางการสร้างโครงข่ายทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)

สหวิริยาขยับสู่ธุรกิจทางด้านโทรคมนาคมนานแล้ว แต่ยังไม่มีบทบาทในด้านบริการเท่าใดนักธุรกิจของสหวิริยาในด้านนี้จึงเป็นเพียงแค่ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารปลายทางเท่านั้น

จนกระทั่ง กสท.เปิดเสรีบริการวีแซท จึงได้กลายเป็นโอกาสทองของสหวิริยา ซึ่งในครั้งนี้สหวิริยา ซึ่งในครั้งนี้สหวิริยาได้จับมือกับธนาคารกสิกรไทย, เอเซอร์ และอิโตชู ยื่นขอสัมปทานและมีกำหนดเปิดให้บริการราวเดือนสิงหาคม 2538

สำหรับบริการวิทยุคมนาคม วีเอชเอฟและยูเอชเอฟเป็นบริการสื่อสารชนิดที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติจาก กสท.แต่เป้าหมายธุรกิจทางด้านนี้ยังไม่ชัดเจนเท่ากับบริการวีแซทเนื่องจากเป็นบริการเฉพาะด้านและลูกค้าจำกัด

บริการวีแซทจึงเป็นบันไดขั้นแรกของสหวิริยาที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมอย่างจริงจัง และถือเป็นทางออกให้กับสหวิริยาในการสร้างมูลค่าเพิ่มของบริการ

กลุ่มธุรกิจที่ 4 อินเตอร์เนชั่นแนล และแมนูแฟคเจอริ่ง เป้าหมายธุรกิจในกลุ่มนี้ คือการสร้างอาณาจักรธุรกิจในต่างประเทศ และการมีโรงงานประกอบเครื่องพีซี ซึ่งสหวิริยาได้ริเริ่มนโยบายนี้มานานแล้ว และปี 2538 จะบุกขยายอย่างจริงจัง

เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา คือ 4 ประเทศแรกที่สหวิริยาจะบุกขยายตลาดในปีนี้ เพื่อทำตลาดผลิตภัณฑ์หลัก 2 ชนิด คือ พรินเตอร์แอปสัน และพีซีเอเซอร์

สหวิริยาไม่ได้หวังเพียงแค่มีบทบาททางการตลาดเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการตั้งโรงงานประกอบสินค้าแบบเคลื่อนที่ เพื่อกระจายสินค้าไปยังลูกค้าให้เร็วที่สุด

"เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เปลี่ยนเร็วมาก กระบวนการแข่งขันจึงขึ้นอยู่กับว่าใครจะส่งของให้ลูกค้าได้เร็วกว่ากัน"

ธุรกิจในสายที่ 5 คือ เอ็ดดูเทนเมนต์ หรือสาระบันเทิง ที่เป็นเส้นทางธุรกิจสายใหม่ ที่สหวิริยาเชื่อว่าจะมีบทบาทอย่างมากในอนาคต เพราะจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าประเภทคอนซูเมอร์ได้ง่ายที่สุด

เป้าหมายของสหวิริยาในธุรกิจนี้ คือการผสมผสานความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ในรูปแบบของศูนย์บันเทิงครบวงจร ภายใต้ชื่อโครงการซิเนโทโพลิส

ทั้งหมดนี้คือเส้นทางสายใหม่ของสหวิริยาที่แจ็คยืนยันว่าไม่ใช้การ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" แต่เป็นทางเดินก้าวใหม่ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us