Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์7 มกราคม 2554
ชี้แนวโน้มบริหารค่าตอบแทน วางกลยุทธ์ฝ่าความท้าทาย             
 


   
search resources

Knowledge and Theory




การบริหารค่าตอบแทนเป็นเรื่องที่ผู้บริหารทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ ดังนั้น การติดตามแนวโน้มและความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจึงมีความจำเป็น เพื่อให้เกิดการวางแผนและการปฏิบัติอย่างมีกลยุทธ์

รศ.ดร.กัลยาณี คูณมี คณบดีคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงการบริหารค่าตอบแทนที่มีประสิทธิผลว่า ต้องให้ความสำคัญใน 3 ส่วนหลักคือ ส่วนแรก การจ่ายค่าตอบแทนผันแปรโดยมุ่งวัดจากผลงานเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการจ่ายที่ไม่ผูกพันเป็นภาระในอนาคต ส่วนที่สอง การดึงดูด จูงใจ และรักษาบุคลากร มุ่งเน้นไปที่ผลตอบแทนเชิงจิตวิทยา (Relational return) มากขึ้น เช่น ความมั่นคงในงาน ความชัดเจนในความก้าวหน้าในอาชีพ องค์กรที่ดีหรือมีมาตรฐานในการทำางาน และส่วนที่สาม การออกแบบระบบค่าตอบแทนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์กรและสามารถกระตุ้นให้บุคลากรมุ่งทำงานเพื่อผลักดันเป้าหมายขององค์กรให้บรรลุผลมากขึ้น

ในด้านของความท้าทายในการบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์มี 3 ประเด็นหลักที่องค์กรต่างๆ จะต้องเผชิญในปี 2554คือ ประเด็นแรก การสรรหาและรักษาบุคลากรกลุ่มพิเศษ เช่น กลุ่มที่สรรหาและรักษาได้ยาก เป็นต้น ประเด็นที่สอง การสร้างความยืดหยุ่นให้การบริหารค่าตอบแทน และประเด็นที่สาม การสร้างความสอดคล้องระหว่างการจ่ายค่าตอบแทนกับกลยุทธ์ขององค์กร

ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะการจ้างงานในปี 2553-2554 จาก 218 บริษัท ของ Mercer พบว่า ใน 12 เดือนข้างหน้า องค์กรต่างๆ มีความตั้งใจในการสรรหาบุคลากรเพิ่ม 51% ไม่เปลี่ยนแปลง 44% และลดลง 5% โดยมีตำแหน่งงานที่สรรหาได้ยาก 3 อันดับคือ 1.นักขาย 2.วิศวกร และ3.นักการเงิน กับตำแหน่งงานที่รักษาไว้ยากคือ 1.นักขาย 2.นักการตลาด และ3.วิศวกร ตามลำดับ

ขณะที่ การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรวิชาชีพเฉพาะในองค์กร มีแนวโน้ม 3 ส่วนคือ 1.ให้สิ่งจูงใจตามผลงาน (Performance-based incentives) ด้วยการแบ่งปันผลกำไร(Profit sharing) กับการถือหุ้นในบริษัท (Stock ownership) 2.การให้โบนัส โดยใช้วิธีการเชื่อมโยงเข้ากับกำไรของบริษัทหรือผลการปฏิบัติงานของบุคคล การเชื่อมโยงเข้ากับความสำเร็จในการดำเนินโปรเจ็คได้ตามกำหนดหรือก่อนกำหนด โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนหลังการจ้างงานเมื่อทำงานบรรลุผล และ3.การให้ผลประโยชน์เกื้อกูลพิเศษที่ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะ เช่น เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น ห้องค้นคว้าสารสนเทศที่ทันสมัย โปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบพิเศษ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานขายซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่สรรหาได้ยากและรักษาไว้ได้ยากที่สุดนั้น แนวโน้มที่เกิดขึ้นคือการจ่ายค่าตอบแทนตามมาตรฐานอาจไม่ได้ผล จะมีการอิงตามการจ่ายสิ่งจูงใจที่ผูกกับผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนมากขึ้น สำหรับพนักงานขายที่อยู่ในระดับสูง การจ่ายค่าตอบแทนจูงใจอาจจะสูงถึงระดับเกินกว่า 40% ของค่าตอบแทนรวม ต้องรู้ว่าตำแหน่งงานขายไม่เหมาะกับทั้งการจ่ายเงินเดือนอย่างเดียวหรือการจ่ายคอมมิชชั่นอย่างเดียว' ส่วนใหญ่ใช้แผนการจ่ายแบบผสม การจ่ายเงินเดือนแบบแน่นอนสามารถเชื่อมกับผลงานในส่วนที่ไม่ใช่การขายโดยตรง เช่น การให้บริการลูกค้า และใช้การจ่ายคอมมิชชั่นการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยตรง รวมทั้ง มีแนวโน้มการเชื่อมโยงการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงานขายเข้ากับการวัดความพึงพอใจของลูกค้ามีมากขึ้น

โดยปัจจัยสำคัญในการออกแบบแผนการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานขายต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย “ธรรมชาติของคนที่เป็นพนักงานขาย” ซึ่งมีคุณลักษณะที่ถูกจูงใจได้อย่างมากจากค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน “กลยุทธ์ขององค์กร” เพื่อจัดการจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม โดยต้องส่งสัญญาณว่าพฤติกรรมใดที่สำคัญในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จะให้พุ่งเป้าไปที่การบริการลูกค้าเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดี หรือเน้นการเพิ่มยอดขาย “คู่แข่ง” เพราะการเปรียบเทียบทำได้ง่าย ดังนั้น บริษัทควรระบุกลยุทธ์ค่าตอบแทนที่แจ้งเงินเดือนเป้าหมายสำหรับต่างกลุ่มพนักงานขายและผลงานที่ต่างกัน “สภาวการณ์เศรษฐกิจ” เมื่อเศรษฐกิจดี บริษัทสามารถจ้างพนักงานขายระดับกลาง-ล่างเพื่อสร้างยอดขายเพิ่มได้ แต่เมื่อเศรษฐกิจแย่ บริษัทจะจ้างพนักงานขายฝีมือดีเพื่อให้สามารถรักษายอดขายได้ และปัจจัยสุดท้ายคือ “ผลิตภัณฑ์ที่จะขาย” โดยสินค้าที่มีลักษณะทางเทคนิคสูง จะให้ค่าตอบแทนในส่วนที่เป็นเงินเดือนสูง สินค้าทั่วๆไป ค่าตอบแทนจะให้ส่วนผันแปรสูง

ส่วนในภาพรวมของกลุ่มพนักงานพิเศษหรือวิชาชีพเฉพาะ เช่น วิศวกร เภสัชกร ต้องเข้าใจว่าการให้ค่าตอบแทนในรูปแบบเงินเดือนแบ่งเป็นการจ่ายตามอายุงานกับการจ่ายตามผลงาน แต่เมื่ออายุงานเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป การจ่ายตามอายุงานจะต้องปรับเปลี่ยนเพราะกลุ่มนี้จะเริ่มล้าหลังจากความรู้ที่ล้าสมัย จำเป็นต้องเพิ่มเติมความรู้ใหม่ จึงต้องมีสิ่งจูงใจในรูปแบบอื่น เช่น การจัดสรรกำไรให้ด้วย การให้สิทธิถือหุ้น และการจ่ายโบนัสที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงาน รวมทั้ง เส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานหากไม่ได้ก้าวเป็นผู้บริหาร

สำหรับการสำรวจค่าตอบแทนปี 2553-2554 โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 4 เรื่องคือ เรื่องแรก การปรับอัตราเงินเดือนมีการจ่ายตามความสามารถของพนักงานมากขึ้น องคก์กรต่างๆ ให้น้ำหนักกับการจ่ายโบนัสตามผลงานมากขึ้น นั่นคือ การขึ้นเงินเดือนและโบนัสมีทิศทางเดียวกัน คือมุ่งวัดจากผลงานเป็นสำคัญ เรื่องที่สอง อัตราการขึ้นเงินเดือนไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แม้ภาวะเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลง แต่บริษัทต่างๆ หันไปใช้การจ่ายโบนัสแปรผันตามภาวะเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งเป็นแนวโน้มของแนวคิดการบริหารค่าตอบแทนและสอดคล้องกับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เรื่องที่สาม อัตราการลาออกค่อนข้างคงที่หรือมีแนวโนม้มลดลง ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับความมั่นคงในงานมากขึ้น และเรื่องที่สี่ วิธีการรักษาคนมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์เกื้อกูล ความมั่นคงในงาน และความชัดเจนในความก้าวหน้าในอาชีพ

รศ.ดร.กัลยาณี กล่าวทิ้งท้ายถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาว่า ส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท โดยก่อให้เกิดผลกระทบใน 2 ส่วนคือ ส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจจะมีรายได้ลดลง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ ได้แก่ “อุตสาหกรรมเครื่องหนัง” จะต้องเผชิญกับการแข่งขันราคาขายกับอินเดียที่มีต้นทุนต่ำกว่า “อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ” ซึ่งมีตลาดการค้าหลักอยู่ที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น จะมีการต่อรองราคามาก “อุตสาหกรรมยานยนต์” จะมีรายได้เป็นบาทลดลง

“อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” แม้ว่าจะมีปริมาณการส่งออกเพิ่ม 15-20% แต่ค่าเงินบาทลด ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ามีการส่งออก แต่มีนำเข้าวัตถุดิบมาหักลบ “อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป” มีผลกระทบมากเนื่องจากไม่สามารถขึ้นราคาได้ สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่สามารถซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้ และกลุ่มสมุนไพร กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้วัสดุในประเทศเพื่อส่งออกจะมีรายได้ลดลง กับส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้น คือกลุ่มที่นำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักร สินค้าจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน พลังงาน และเฟอร์นิเจอร์นำเข้า เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us