Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อิมพีเรียลเวิลด์ในมิติ "พันธมิตรข้ามชาติ"             
 


   
search resources

สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
Shopping Centers and Department store




สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทลาดพร้าวพลาซ่า จำกัด เดินผ่านเศษกองอิฐกองไม้และพื้นปูนที่ยังไม่เรียบร้อยดี เพื่อตรวจตรางานก่อสร้าง "ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์" อย่างละเอียด โดยคาดหวังว่า โครงการแห่งนี้จะเปิดให้บริการได้ในเดือนเมษายน 2538

นอกเหนือจากความยิ่งใหญ่บนพื้นที่ 38 ไร่ และใช้เงินลงทุนถึง 8 พันล้านบาทแล้ว ศูนย์การค้าแห่งนี้เปรียบเสมือนผลงานชิ้นเอกของตระกูล "กิจเลิศไพโรจน์" เพราะนับเป็นการผสมผสานมุมมอง การบริหารและการสร้างพันธมิตรจำนวนมากในความหมายใหม่ที่พลิกภาพพจน์เดิมๆ ของห้างอิมพีเรียลที่ถูกมองว่าเป็นห้างสำหรับกลุ่มลูกค้าระดับกลางลงไป

สงครามกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ตัวเขารวมไปถึงผู้บริหารศูนย์การค้าแห่งอื่นๆ มีภารกิจที่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนคือ นอกเหนือจากสร้างตัวศูนย์การค้า บริหารห้างสรรพสินค้า ขายพื้นที่และบริหารส่วนร้านค้าย่อยแล้วภารกิจที่เพิ่มขึ้นอีกคือ การสร้าง "แม่เหล็ก" เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งนับวันจะวิจิตรพิสดารเพิ่มขึ้นทุกที

แต่ที่น่าสนใจคือรายได้จาก "แม่เหล็ก" ซึ่งสงครามกล่าวว่าแม้เงินลงทุนจะสูงก็จริง แต่เงินสะพัดทุกวัน อีกทั้งคืนทุนเร็วมาก ภายใน 2-3 ปี แต่หลังจากนั้นอาจต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างความแปลกใหม่

ขณะที่ตัวห้างนั้นเป็นรายได้แบบเรื่อยๆ ส่วนร้านค้าย่อยนั้น เจ้าของศูนย์จะได้เป็นเงินค่าเช่าเซ้งก้อนโตซึ่งเป็นกำไรขั้นต้นและช่วยลดต้นทุนค่าก่อสร้าง

"แม่เหล็ก" ที่ว่านี้หมายถึงบรรดาสวนสนุก-สวนน้ำ และศูนย์บันเทิงต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าซึ่งในอดีต "แม่เหล็ก" มีความหมายเพียงแค่เป็นส่วนเสริม แต่ส่วนเสริมที่ว่านี้กลายเป็นธุรกิจทำเงินที่ต้องลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ไปแล้ว

"แม่เหล็ก" ในอิมพีเรียลเวิลด์น่าสนใจเพิ่มขึ้นเมื่อสงครามจริงจังกับธุรกิจนี้มาก โดยร่วมทุนกับยักษ์ใหญ่ต่างประเทศ และใช้พื้นที่ขนาดมหาศาลหลายชั้น

ตระกูล "กิจเลิศไพโรจน์" มีสายสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่น "วิชัย กิจเลิศไพโรจน์" น้องชายคนเล็กเป็นนักเรียนญี่ปุ่นและใช้ชีวิตในญี่ปุ่นมากกว่า 20 ปี เขานำธุรกิจผลิตของเด็กเล่น ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของตระกูลร่วมทุนกับยักษ์ใหญ่ของเล่นในญี่ปุ่น "บันได" ผลิตของเด็กเล่นส่งออกปีละกว่า 1 พันล้านบาท

การเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในโอกาสต่อมาจึงไม่ใช่เรื่องยาก

สงครามจับมือกับ "อิโตชู" ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจบันเทิงที่หลากหลายของญี่ปุ่นเพื่อสร้างลานไอซ์สเกตฮอลล์ รับกับความบันเทิงประเภทนี้ที่ความนิยมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อิโตชูซึ่งมาปักหลักอยู่สำนักงานย่านสาทรเหนือเคยร่วมทุนกับกลุ่มสหวิริยาเพื่อทำธุรกิจบันเทิงครบวงจรมาก่อน การมาร่วมกับอิมพีเรียลเวิลด์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธุรกิจของพวกเขาเท่านั้น

ฝ่ายสงครามในนามบริษัทลาดพร้าวจะถือหุ้นในโครงการนี้ 51% ฝ่ายอิโตชู 30% ซึ่งนำพันธมิตรมาด้วยอีก 2 รายคือ สหกรุ๊ปและบริษัทสิ่งทอรายหนึ่งมาถือหุ้นด้วยอีก รวม 19%

อีก "แม่เหล็ก" หนึ่งคือ "สวนสนุกไฮเทค" ซึ่งสงครามจับมือกับยักษ์ใหญ่โลกแห่งเกมนั่นคือนั่นคือ "เซก้า"

ในเมืองไทยเซก้ามีชื่อเสียงด้านตู้เกมหยอดเหรียญซึ่งแม้จะถูกกล่าวหาว่าผิดกฎหมายแต่ก็เห็นเกลื่อนเมือง การมาครั้งนี้ของเซก้า มาอย่างไฮเทคกว่านั้น

สงครามกล่าวว่าในญี่ปุ่นเซก้ามีศูนย์บันเทิงไฮเทคโดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีตู้เกม แต่เป็นเกมที่คล้ายคลึงกับโรงภาพยนตร์แบบ "ซีมูเลเตอร์" คือเคลื่อนไหวเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง แต่มีขนาดสำหรับผู้เล่นจำนวนน้อย จนถึงจำนวน 50 คน

"สวนสนุกแบบเดิมจะเหมาะสำหรับเด็กเล็กๆ เท่านั้น และบางส่วนดูล้าสมัยไปแล้ว ในอนาคตสวนสนุกที่จะประสบความสำเร็จคือสวนสนุกที่ใช้เทคโนโลยีนำ" สงครามกล่าวอย่างเชื่อมั่น

เฉพาะเครื่องเล่นสงครามกล่าวว่าต้องใช้ถึง 300 ล้านบาท และรวมภาษีด้วยก็อาจสูงถึง 500 ยังไม่รวมค่าตกแต่ง ติดตั้ง พื้นที่อีกไม่ต่ำกว่า 300 ล้าน รวมแล้วสวนสนุกแห่งนี้จะใช้งสูงถึง 800 ล้านบาท

แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ บริษัทร่วมทุนที่บริหารสวนสนุกแห่งนี้ นอกจากฝ่ายอิมพีเรียลและเซก้ายังมีพันธมิตรคนไทยที่จะเป็นแกนหลักในการบริหารอีกรายคือ "กาแล็กซี่"

กลุ่มนี้มีชื่อเสียงทางด้านภัตตาคารและบริการบันเทิงอื่นๆ เคยเป็นผู้นำเข้าตู้เกมรายใหญ่ แต่ถึงเวลาที่กลุ่มนี้จะเข้าสู่ธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับอย่างเปิดเผยแล้ว

พันธมิตรอีกกลุ่มที่ดูจะหลากหลายกว่าเพื่อนคือกลุ่มของ "แฟชั่น แกลลอรี่" ซึ่งสงครามอธิบายว่า เป็นการรวมกลุ่มของดีไซเนอร์ชั้นนำของเมืองไทยมาจัดแสดง โดยมีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่เป็นผู้บริหารซึ่งคาดว่าผู้บริโภคย่านลาดพร้าวจะเป็นลูกค้าประจำ

แต่พันธมิตรที่สำคัญที่สุดและเป็นรากฐานของโครงการคือ กลุ่มสินธานี ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนที่ดินรายใหญ่ของตระกูล "ภาณุพัฒนพงศ์" ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ขายให้บริษัทลาดพร้าว และร่วมทุนในบริษัทแห่งนี้ด้วย

"อิมพีเรียลเวิลด์" นอกเหนือจากจะเป็นฉากใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของตระกูล "กิจเลิศไพโรจน์" แล้ว สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เพิ่มขึ้นคือการสร้างพันธมิตรต่างชาติที่ซับซ้อนและหลากหลาย และอาจเปนก้าวกระโดดที่สำคัญยิ่งอีกครั้งสำหรับพวกเขาในระยะอันใกล้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us