10 ม.ค. 2538
ครม.มีมติอนุมัติการจัดสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์และหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อรับเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่
13 โดยหมู่บ้านเมืองทองธานีของบริษัท บางกอกแลนด์ ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในสามของสถานที่จัดสร้างด้วย
12 ม.ค. 2538
เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านการตัดสินใจของ ครม. ครั้งนี้โดย ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน
ประเด็นพุ่งเป้าไปที่การเอื้อประโยชน์ให้กับบางกอกแลนด์
18 ม.ค.2538
นายอร่าม โล่ห์วีระ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคชาติไทยในฐานะประธานคณะกรรมาธิการนโยบายและติดตามาผลงานงบประมาณรายจ่ายประจำปี
สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกว่าอาคารสูงในเมืองทองธานีผิดกฎหมายเพราะใกล้คลังแสงมากเกินไป
และเกรงว่าการสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์จะมีปัญหาตามมาด้วย
20 ม.ค.2538
พล.อ.วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหหมปฏิเสธคำกล่าวของนายอร่าม
และระบุว่าที่ตั้งของอาคารสูงเมืองทองธานีอยู่ห่างจากคลังแสง ไม่มีผลใดๆ
23 ม.ค.2538
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเปิดฉากครั้งใหญ่ พาดหัวข่าวตัวโต "ตึกเมืองทองล่อแหลม
ถล่มคลังแสง เข้าวิถียิง ทหารหนาว ท้วงแล้ว 26 ชั้นขึ้นเฉย" โดยอ้างคำกล่าวของนายอร่ามที่ออกมาตอกย้ำอีกครั้ง
และพยายามอธิบายว่าเมืองทองธานีไม่เหมาะสำหรับสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์ ขณะที่นายทหารที่เกี่ยวข้องระบุว่า
ฝ่ายทหารเคยทักท้วงบางกอกแลนด์แล้ว แต่เรื่องเงียบไป แต่อย่างไรก็ตาม ได้กล่าวว่า
อาวุธที่เก็บในคลังแสงแห่งนี้เป็นแค่กระสุนปืนเล็กไม่อันตราย
24 ม.ค.2538
พล.อ.วิมล วงศ์วานิช ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ครั้งแรกระบุชัดเจนว่า
เมืองทองธานีมีความผิดตาม พ.ร.บ.เขตปลอดภัยทางทหาร แต่กำชับหนักแน่นว่า อย่านำเรื่องนี้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องสปอร์ตคอมเพล็กซ์
25 ม.ค.2538
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวว่า "แก้ปัญหาคลังแสง ย้ายหนี ! บีแลนด์ ซิใหญ่จริง
ทั้งที่ทุกฝ่ายระบุผิดชัดๆ แต่ทำอะไรท่านไม่ได้" พล.อ.วิมลกล่าวว่า
ทหารมีนโยบายที่จะย้ายคลังแสงที่เป็นอันตรายออกไป แต่ต้องใช้งบประมาณและเวลามาก