Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2538
เอ็กซิมแบงก์ประเดิมสาขาแรก-หาดใหญ่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
Investment




จากที่ได้เปิดบริการวันแรกเมื่อ 1 กุมภาพันธื 2537 ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ตามนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันให้การส่งออกของประเทศมีความสามารถในการแข่งขันยิ่งขึ้น ทว่า จากที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เดียวทำให้การบริการเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง อีกทั้งศักยภาพการลงทุนการส่งออกของแต่ละภาคทวีสูงขึ้น ทำให้ ธสน.ต้องรุกคืบบริการให้ทั่วถึงด้วยการเปิดสาขาทั่วประเทศ เพื่อสนองตอบนโยบายรัฐในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและการพัฒนาชนบท โดยเปิดบริการสาขาแรกที่หาดใหญ่แล้ว

ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ถือเป็นสถาบันการเงินพิเศษที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ธสน. พ.ศ.2536 เริ่มแรกด้วยบริการแพ็กกิ้งเครดิต (Packing Credit) หรือสินเชื่อเพื่อการส่งออกซึ่งเป็นการให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ 29 แห่งไปยังผู้ส่งออกตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2498 จึงเสมือนว่า ธสน.คือธนาคารแห่งประเทศไทยในท้องถิ่นได้อย่างดี

ต่อมา ธสน. ได้เพิ่มบริการเพื่อส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนในต่างแดนของนักลงทุนไทยและเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักธุรกิจไทยยิ่งขึ้น โดยร่วมลงทุนถือหุ้นในกิจการที่นักธุรกิจไทยไปลงทุนยังต่างประเทศตามสัดส่วนที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งในระยะเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ธสน.ได้เข้าไปถือหุ้นแล้ว 3 โครงการคือ โรงงานผลิตน้ำตาลในพม่า โรงงานผลิตไฟฟ้าในลาว และโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างในจีน และยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอีกหลายโครงการ

ธสน.ยังมีบริการสนับสนุนการส่งออกสินค้ากลุ่ม เช่น เครื่องจักร เครื่องมือกล ทั้งเครื่องจักรใหม่ที่ผลิตในประเทศไทย และเครื่องจักรใช้แล้ว โดยให้บริการสินเชื่อระยะยาว 3-5 ปี ที่ดำเนินไปแล้วเช่นขายรถแทรกเตอร์ใช้แล้วให้ลาว และขายเครื่องจักรโรงงานผลิตน้ำตาลไปยังพม่าเป็นต้น

ซึ่งการให้สินเชื่อระยะยาวนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า เพื่อประโยชน์ของการสนับสนุนผู้ส่งออกไทย ที่เข้าไปทำงานก่อสร้าง งานปรับปรุงโรงงานในต่างประเทศ โดยโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาได้แก่ งานก่อสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ในเวียดนาม งานก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในลาว และอีกหลายโครงการซึ่งกำลังพิจารณาอยู่

กรรมการผู้จัดการ ธสน.สรุปบริการของ ธสน. ว่าในการส่งออกสินค้าทั่วไปนั้น ธสน.มีบริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกด้วย โดยเป็นการให้กู้แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับ Letter of Credit (L/C) หรือคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศ แต่ขาดเงินหมุนเวียนในการเตรียมสินค้า ทั้งผู้ส่งออกรายย่อยที่ไม่มีวงเงินอยู่ในสถาบันการเงินใดเลย และผู้ส่งออกที่มีวงเงินอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์แล้วแต่ยังไม่เพียงพอ โดย ธสน.จะให้กู้แก่ผู้ส่งออกสินค้าทุกประเภทและทุกขนาดวงเงิน ซึ่งตัวอย่างธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อนี้ไปแล้วคือ ธุรกิจส่งออกไม้ปาเก้ไปกลุ่มประเทศอาหรับ ธุรกิจส่งออกสินค้าประเภทอาหารและของใช้ไปยังกรุงเวียงจันทน์ ธุรกิจส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังแคนาดาและประเทศต่างๆ ในยุโรป และธุรกิจส่งออกเสื้อผ้าเด็กไปประเทศต่างๆ เป็นต้น

ธสน.ยังช่วยเหลือการส่งออกไปยังประเทศซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ของโลกอีกด้วย อาทิ เวียดนาม, ลาว, พม่า, โปแลนด์, สาธารณรัฐเช็ค, สโลวัค, ฮังการีและรัสเซีย ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ และเปิดช่องทางการชำระเงินผ่านธนาคารที่เชื่อถือได้ในกลุ่มประเทศที่รัฐบาลจัดตั้ง

แต่จากการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศรุนแรงขึ้น ทำให้เงื่อนไขชำระเงินของผู้ส่งออกมีการผ่อนปรนมากกว่าเดิม และการส่งออกที่ไม่มี L/C คุ้มครองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

กรณีนี้ ม.ร.ว.ปริดิยาธร กล่าวว่า ธสน.จะสร้างความมั่นใจและความสบายใจให้แก่ผู้ส่งออกที่ต้องส่งสินค้าไปไปยังผู้ซื้อที่ไม่นิยมเปิด L/C ด้วบริการใหม่ที่เรียกว่า บริการประกันการส่งออก เพื่อประกันความเสี่ยง การไม่ได้รับค่าชำระจากผู้ซื้อ ทั้งความเสี่ยงทางการค้าปกติ และความเสี่ยงทางการเมือง โดยให้ความคุ้มครองการส่งสินค้าไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าในตลาดเดิมหรือตลาดการค้าใหม่

"เราต้องการให้ผู้ส่งออกที่ทำการประกันแล้ว สบายใจได้ว่าเมื่อส่งสินค้าลงเรือไปแล้ว หากผู้ซื้อไม่ชำระเงินค่าสินค้า ธสน.ในฐานะผู้รับประกันจะชำระเงินให้แทนในอัตราร้อยละ 85 ของราคาต้นทุนสินค้า" ม.ร.ว.ปริดิยาธร กล่าว

ในการเปิดสาขาแรกที่หาดใหญ่ก่อนที่จะขยายสาขาไปสู่หัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศของ ธสน.นี้ ม.ร.ว.ปริดิยาธร ได้กล่าวเน้น 3 บริการหลักที่จะสนองผู้ส่งออกในเขตภาคใต้คือ หนึ่ง-แพ็กกิ้งแครดิตที่เปิดบริการอยู่แล้ว แต่จะสามารถให้บริการลูกค้าให้สามารถรับเงินได้เร็วขึ้น 1 วัน สอง-คือยอดสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก ที่บ่อยครั้งผู้ส่งออกรายย่อยรายใหม่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ได้ ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ธสน.ก็จะปล่อยให้หลังจากที่ตรวจสอบแล้วว่ามีความต้องการค้าขายจริง

ส่วนปัญหาว่าจะเป็นการแย่งลูกค้ารายใหญ่ด้วยหรือเปล่านั้น กรรมการผู้จัดการ ธสน.ย้ำว่า ธสน.จะอยู่ในฐานะที่เสริมเท่านั้น คือถ้าวงเงินที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่ได้จากธนาคารพาณิชย์ไม่พอ ตรงนี้ ธสน.ก็จะเข้าไปเสริมให้

สำหรับบริการสุดท้ายคือ บริการประกันการส่งออก ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่รัฐบาลตั้งใจจะเปิดบริการนี้มากว่า 20 ปี ก็จะประเดิมในครั้งนี้ด้วย คือถ้าผู้ส่งออกไม่มี L/C และได้ส่งของไปแล้ว แต่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่จ่ายเงิน หรือส่งของลงเรือไปแล้ว ถึงปลายทางแล้วผู้ซื้อปลายทางไม่จ่ายเงิน บิดพลิ้วด้วยสาเหตุใดก็ตาม ธสน.ก็จะจ่ายแทน

จากนโยบายรุกคืบของ ธสน.ในการบริการสนองต่อผู้ส่งออกทั่วท้องถิ่นไทยครั้งนี้นับได้ว่า ธสน.คือความหวังใหม่สำหรับผู้ส่งออกรายย่อยที่งบน้อยทั่วประเทศ และการประเดิมสาขาแรกที่หาดใหญ่นี้ถือเป็นการบุกเบิกของรัฐบาลที่ดูจริงใจที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us