Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์24 ธันวาคม 2553
ก้าวของ “HONDA” มุ่งสู่ “องค์กรที่สังคมต้องการให้ดำรงอยู่”             
 


   
search resources

ฮอนด้า มอเตอร์
Automotive




แม้ “ฮอนด้า” จะไม่ใช่เบอร์ 1 ในตลาดรถยนต์เมืองไทย ทว่าเมื่อพูดถึงบทบาท “การทำกิจกรรมเพื่อสังคม” ฮอนด้าก็ถือเป็นผู้เล่นที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ใคร แม้จะไม่มีตัวเลขวัดผลงานกันชัดเจน แต่มั่นใจว่า วันนี้มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่รู้จักหรือเคยได้ยินประโยคที่ว่า “HONDA The Power of Dreams” หรือ “พลังแห่งความฝัน” Corporate Slogan ที่ฮอนด้าทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยใช้เป็นแนวทางดำเนินธุรกิจ

“ฮอนด้า” มีนโยบายที่แน่วแน่ในการนำปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็นโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การเคารพความเป็นปัจเจกชน และความสุข 3 ประการ คือ 1.ความสุขของลูกค้าที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา 2.ความสุขของผู้ขายที่ภูมิใจขายผลิตภัณฑ์ของเรา 3.ความสุขในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้ มร.ฮิโตชิ เดวะ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด บอกว่า ก็เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสำคัญของฮอนด้า นั่นคือ “การเป็นองค์กรที่สังคมต้องการให้ดำรงอยู่”

ไม่แค่นั้น ปรัชญาดังกล่าวกลายเป็นรากฐานการดำเนินธุรกิจที่สะท้อนไปสู่วิสัยทัศน์ของฮอนด้า ปี 2563 คือ 1. การสร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) มุ่งสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นให้กับลูกค้าและสังคม 2. การนำวิสัยทัศน์สากลสู่ท้องถิ่น (Glocalization) มุ่งสร้างรากฐานความมั่นคงขององค์กรด้วยการเข้าถึงชุมชนอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งรักษาภาพลักษณ์ของฮอนด้าในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระระดับโลก 3. พันธสัญญาต่อชนรุ่นหลัง (Commitment to the future) มุ่งสร้างความสมดุลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความปลอดภัยทั้งในชุมชนและระดับโลก เพื่อคนรุ่นต่อไป

ทั้งนี้ ฮอนด้ามีเครือข่ายการบริหารแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค ดังนี้ ภูมิภาคเอเชียและโอเซียเนีย, ภูมิภาคภูมิภาคจีน, ภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา, ภูมิภาคอเมริกาเหนือและกลาง, ภูมิภาคอเมริกาใต้, ภูมิภาคญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็จะยึดแนวปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมภายใต้กรอบเดียวกัน ประกอบด้วย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านความปลอดภัย และด้านมนุษยธรรม ซึ่งถือเป็น 4 เสาหลักสำคัญ โดยเฉพาะ 2 เสาแรก ที่ครั้งนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ขอโฟกัสเป็นพิเศษ เพราะนับจากนี้ ผู้บริโภคทั่วโลกรวมทั้งผู้บริโภคในไทยจะได้เห็นความชัดเจนมากขึ้น มากขึ้น

สร้างสรรค์สังคมสีเขียว
ซีเอสอาร์ เพื่อสิ่งแวดล้อม

“สิ่งแวดล้อม” ที่ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์สีเขียว คือ เสาเอกที่ฮอนด้าปักหลักให้ความสำคัญ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ ย่อมต้องมีของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตออกมาส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อเป็นองค์กรที่เติบโตไปพร้อมกับสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ฮอนด้าจึงให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด 3 ประการ คือ การมุ่งสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creating new value) ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งมอบไปยังหน่วยธุรกิจและสังคมที่ฮอนด้าดำเนินงานอยู่ทั่วโลก ตามหลักการนำคุณค่าใหม่สู่สังคม(Expanding value) และการคำนึงถึงชนรุ่นหลัง(Commitment to the future) โดยลดการใช้ทรัพยากรและรักษาความสมดุลของธรรมชาติเพื่อคนรุ่นหลัง

ซึ่งที่ผ่านมาฮอนด้าได้ใช้ความพยายามเพื่อสะท้อนการเป็นองค์ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนารถยนต์ไฮบริด การพัฒนารถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง FCX ยานยนต์แห่งอนาคตที่ไม่ต้องพึ่งพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งให้พลังงานโดยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนไม่ก่อให้เกิดไอเสีย

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายนี้ยังวางระบบการจัดการทรัพยากรและการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมประกาศให้มีกิจกรรมโรงงานสีเขียวเมื่อปี 2541 โดยเริ่มที่ญี่ปุ่นเป็นแห่งแรก และขยายไปสู่โรงงานในภูมิภาคอื่น ซึ่งเป้าหมายสำคัญ คือ ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกขั้นตอนการผลิต มีระบบจัดการของเสียและกากอุตสาหกรรม รวมทั้งลดจำนวนของเสียที่ส่งไปฝังกลบภายนอกโรงงานให้น้อยที่สุดด้วย

สำหรับโรงงานผลิตในเมืองไทย ทั้งในส่วนของรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ก็ได้รับนโยบายดังกล่าว โดยได้ดำเนินกิจกรรมประหยัดไฟฟ้ารวมถึงการติดตั้งระบบและเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เช่น การติดตั้งนวัตกรรมพลังงานทางเลือก โดยฮอนด้าได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันและไฟฟ้าจากโรงงาน ซึ่งโรงงานฮอนด้าในหลายประเทศได้มีการทดลองติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนการใช้งานภานในอาคารบางหลัง และในเมืองไทยทางบริษัทไทยฮอนด้าฯก็มีการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในอาคารฝึกอบรมตั้งแต่ปี 2545

ไม่แค่นั้น เพื่อสะท้อนการเป็นโรงงานสีเขียวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แน่นอนว่า ปัญหาเรื่องการจัดการของเสียย่อมเป็นสิ่งที่ฮอนด้าให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และจากความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ฮอนด้าจึงวางมาตรการในการลดของเสียเหล่านั้นอย่างเหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ การคัดแยกขยะออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล คือ ถังสีเขียว ใช้เก็บเศษอาหารวัสดุที่ย่อยสลายได้ ถังสีเหลือง ใช้เก็บขยะที่นำมากลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น หนังสือพิมพ์ ขวดพลาสติก ถังสีแดง ใช้เก็บขยะพิษ เช่น ภาชนะบรรจุสารเคมี ขณะที่ขั้นตอนการกำจัดของเสีย ที่นี่ก็มีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน มีการติดตั้งเตาเผากำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพสูง โดยปริมาณของขี้เถ้าจากการเผาจะเหลือเพียง 5% และสุดท้ายการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณขยะ เช่น บริษัทไทยฮอนด้าฯนำเศษขี้เถ้าจากเตาเผาขยะมาผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อทำอิฐบล็อกสำหรับปูทางเดินภายในและภายนอกโรงงาน ทำให้ไม่เกิดของเสียที่เกิดจากการเผาขยะส่งออกไปกำจัดภายนอก

และนั่น คือ รูปแบบการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตส่วนโรงงาน ทีนี้เรามาดูในส่วนนอกโรงงานดูบ้าง เพราะถึงฮอนด้าจะไม่ใช้รถยนต์ค่ายเดียวที่ออกมาทำซีเอชอาร์ หรือการทำกิจกรรมเพื่อสังคมโดยมุ่งไปที่เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่พูดได้เลยว่า ผู้เล่นรายนี้ก็ออกแบบกิจกรรมมาได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ซึ่งจะต่างกันไปในแต่ละประเทศที่มีสภาพแวดล้อมหรือปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น ในญี่ปุ่นจะมีกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด โดยเริ่มทำมานานกว่า 4 ปี และทำความสะอาดชายหาดไปแล้วกว่า 100 จุด

ส่วนเมืองไทยที่เป็นไฮไลต์ ต้องยกให้โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ “ตามรอยเท้าพ่อ..กับฮอนด้า” ที่จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 โดยจัดทำโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ เพื่อสนองพระราชปณิธานที่ทรงห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยได้รับพระบรมราชานุญาตพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศให้กับโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อม จนปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 กับโครงการครั้งที่ 6 (พ.ศ.2553-2554) ซึ่งโครงการฯได้สนับสนุนทุนดำเนินกิจกรรมให้โรงเรียนเครือข่ายสิ่งแวดล้อม 765 โรงทั่วประเทศ ไม่แค่นั้นทางฮอนด้ายังต่อยอดจากโครงการดังกล่าว เช่น โครงการความร่วมมือทางวิชาการ “มจธ.-ฮอนด้า สู่เส้นทางวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์เพื่อโลกสีเขียว” โดยเป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาเยาชนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ เปิดโอกาสให้นักเรียนจากโรงเรียนที่ได้รับถ้วยพระราชทาน และมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ได้รับสิทธิพิเศษเข้าศึกษาต่อและรับทุนการศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เริ่มตั้งแต่การสร้างจิตสำนึกในโรงเรียน ทั้งครู นักเรียน และลงลึกไปถึงตัวเยาวชนที่สนใจได้มีโอกาสศึกษาต่อไป

“ฮอนด้า อาซิโม่ ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์”
ติดปีกความฝัน-สร้างจินตนาการเยาวชน

เข้าสู่เสา “การศึกษา” ซีเอชอาร์ต้นที่ 2 ด้วยสัญลักษณ์สีน้ำเงิน แม้จะระบุว่าเป็นเรื่องของการศึกษา ทว่าในความหมายหรือแนวทางปฏิบัติของฮอนด้าไม่ได้จำกัดแค่เพียงการให้ทุนการศึกษาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง การกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมพัฒนาเสริมสร้างจินตนาการของเยาวชน รวมทั้งการช่วยให้เยาวชนได้ค้นพบความสุขและสมหวังเมื่อพิชิตความท้าทายใหม่ได้สำเร็จ เช่น การจัดกิจกรรม วิ่ง 31 ขา เพื่อสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่เยาวชน, การสนับสนุนให้เยาวชนไทย มีโอกาสเข้าแข่งขันหุ่นยนตร์ในเวทีสากล

ทว่า ถ้าให้จัดลำดับความสำคัญแล้ว “การเสริมสร้างจินตนาการ” คงถูกจัดอยู่ในลำดับแรกของซีเอชอาร์ข้อนี้ เพราะนี่อาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของฮอนด้าเลยทีเดียว ซึ่งชัดเจนมากเมื่อย้อนกลับไปดูประโยคที่ว่า “HONDA The Power of Dreams” โดยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและย้ำสโลแกนดังกล่าวได้ดีที่สุด นั่นคือ “อาซิโม” หุ่นยนตร์ที่ค่ายนี้ทุ่มเทเวลากว่า 14 ปี และเม็ดเงินมหาศาลในการพัฒนาออกมาให้คล้ายมนุษย์ที่ล้ำสมัยที่สุดในโลก

ทั้งนี้ พิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด กล่าวเสริมว่า “คำว่าจินตนาการ สำหรับผมเป็นสิ่งสำคัญกว่าความรู้ และการมีจินตนาการเชิงบวกยิ่งเป็นสิ่งที่ดี”

และนี่ คือ เหตุผลสำคัญที่ทำฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่นจัดโครงการ “ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์” โดยจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 2 ปะเทศ ที่นำโครงการดังกล่าวจากญี่ปุ่นไปใช้ นั่นคือ เวียดนามที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และไทยที่ครั้งนี้นับเป็นปีที่ 6 โดยต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ การปลูกฝังให้เด็กรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยมี “อาซิโม” คือทูตแห่งความฝันที่เป็นจริงมาสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ

สำหรับ “ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์” ที่จัดในเมืองไทย ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมที่ไม่ใช่แค่เฉพาะเด็กๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรดาผู้ปกครอง ครู รวมถึงโรงเรียนที่ให้ความสนใจเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย เห็นได้จากจำนวนผลงานจากเยาวชนที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้มีมากกว่า 50,000 ชิ้น จากปีก่อนที่มีเพียง 1-2 หมื่นชิ้น ซึ่งหากรวมผลงานตลอด 6 ปี ก็จะมีมากถึง 210,000 ชิ้น โดยเหตุผลที่ทำให้โครงการนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก นอกจากเป็นเวทีให้เด็กๆได้มีโอกาสนำจินตนาการของตนเองมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งประดิษฐ์แล้ว เสน่ห์สำคัญอีกข้อ น่าจะอยู่ตรงที่การได้ไปแสดงผลงานร่วมกับเยาวชนจากประเทศเวียดนามและประเทศเจ้าภาพญี่ปุ่น ในงานฮอนด้า คิดส์ ไอเดีย คอนเทสต์ ณ สำนักงานใหญ่ ฮอนด้า อาโอยาม่า ประเทศญี่ปุ่นด้วย

โดยปีนี้ หลังจากได้แชมป์การประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในโครงการ “ฮอนด้า อาซิโม่ ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ ปี 6” กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย โต้โผใหญ่ของการจัดงาน โดยมี พิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร เป็นแม่ทัพพาน้องๆ ทั้ง 6 คน เหินฟ้าไปแสดงผลงานเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งบรรยากาศภายในงาน นอกจากจะได้เห็นผลงานที่ถูกสร้างสรรค์ผ่านจินตนาการของนักประดิษฐ์ตัวจิ๋วทั้ง 3 ประเทศแล้ว ผลงานเหล่านั้นยังสะท้อนถึงหลักความคิดหรือความต้องการของเด็กได้ด้วย เช่น ผลงานของเด็กญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 ปีนี้ “เครื่องแปลทุกภาษาทั่วโลกผ่านแว่นตาแปลภาษา” โดยจะแปลเป็นภาษาที่เรากำหนดไว้ก่อนจะส่งคลื่นเสียงไปยังหูฟัง นอกจากนี้ยังมีกำไลข้อมือ ซึ่งจะสามารถบอกถึงประเพณี วัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษานั้นๆ หรือ “เครื่องจำลองภาพทิวทัศน์” ที่เมื่อเราถ่ายภาพแล้ว เครื่องจะเปลี่ยนภาพให้มีลักษณะเป็นของเหลวและเก็บไว้ เมื่อต้องการดูภาพเครื่องก็จะทำให้ของเหลวกลับมาเป็นภาพที่เหมือนเดิมอีกครั้ง ซึ่งจะมีประโยชน์เวลาที่เพื่อน ๆ หรือคนอื่นเห็นภาพในจุดที่เขาไม่สามารถเดินทางไปได้ เช่น คนป่วย

นอกจากนี้ยังมีผลงานของเยาวชนจากเวียดนาม เช่น หุ่นยนต์เต่ากู้โลก รถสร้างความเย็นให้โลก ขณะที่ผลงานของเยาวชนไทย เริ่มจาก น้องเจต-ด.ช.ภัทรดนัย ธุปสุวรรณ ชั้น ป.1 โรงเรียนสาธิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ แชมป์ระดับมัธยมต้น กับผลงาน แมงกะพรุนกำจัดวิกฤติในน้ำ, น้องโชติ-ด.ช.โชติ ธาราฉัตร ชั้น ป.2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ รองชนะเลิศอันดับ 1 กับผลงาน ร่มดักน้ำมันรั่ว และ น้องอั๋น-ด.ช. สรัชชพงศ์ วรพิศาล ชั้น ป.2 โรงเรียนวชิรวิทย์ (ฝ่ายประถม) จ.เชียงใหม่ รองชนะเลิศอันดับ 2 กับผลงาน เตียงปลุกฉันตื่นนอน ตามมาด้วย น้องปังปอนด์-ด.ญ.ประกายดาว ขุนภักดี ชั้น ป.5 โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ จ.นคร ปฐม แชมป์ระดับมัธยมปลาย กับผลงาน กระเป๋าเดินทางแบตเตอรี่, น้องเจมส์-ด.ช. ชาญคริสต์ พันธ์ชัยศรี ชั้น ป.6 โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดศรีดอนชัย จ.เชียงใหม่ รองชนะเลิศอันดับ 1 กับผลงาน กล่องทำความสะอาดแปรงลบกระดาน และสุดท้าย ด.ช.พลศิษฎ์ โสภณสิริ ชั้น ป.4 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ รองชนะเลิศอันดับ 2 กับผลงาน หนอนผ้ามหัศจรรย์

ทั้งนี้ พิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร ค่ายเอเชี่ยนฮอนด้า บอกว่า วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อต้องการให้เยาวชนได้แสดงจินตนาการของตนเองได้เต็มที่ ทำให้เด็กกล้าที่จะฝันและแสดงออกถึงความฝันของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพซึ่งจะรวมไปถึงศักยภาพของประเทศด้วย โดยเทรนด์ปีนี้ไอเดียที่เข้าประกวดส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาจากตนเอง สิ่งแวดล้อมรอบข้าง และมีการเตรียมพร้อมและลำดับขั้นตอนการพรีเซนต์ที่ดีขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนรอบข้าง เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับเด็กในกิจกรรมนี้มากขึ้น

“ปัจจัยที่ทำให้ฮอนด้ามุ่งไปที่เด็ก เพราะเรามองว่า เด็กเป็นวัยที่มีความฝันแบบไม่มีขีดจำกัด”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้บริหารฮฮนด้าให้ความสนใจต่อจากนี้ คือ การต่อยอดโครงการดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความขาดช่วง โดยเฉพาะเด็กที่เคยเข้าร่วมโครงการ โดย พิทักษ์ บอกว่า บริษัทยังไม่มีการนำผลงานของเด็กมาพัฒนาต่อยอด เพราะเราแค่ต้องการให้เด็กมีความฝันมีจินตนาการมากกว่า แต่อนาคตอาจจะมีการตั้งชมรมรวบรวมเด็กเหล่านี้มาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างเครือข่ายกระตุ้นไม่ให้จินตนาการหายไป ขณะเดียวกันก็ช่วยขยายจินตนาการให้กว้างขึ้นด้วย และนี่คงเป็นการบ้านชิ้นใหญ่อีกข้อที่ฮอนด้าต้องนำไปตกผลึก เพราะคงน่าเสียดายไม่น้อย หากจินตนาการของเด็กเหล่านี้จะขาดช่วงและหายไปเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น

ความปลอดภัย-มนุษยธรรม
เติมเต็มซีเอชอาร์ แบบวิถีฮอนด้า

สำหรับแนวกิจกรรมเพื่อสังคมอีก 2 ด้านของฮอนด้า ที่ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัย และ เรื่องมนุษยธรรมนั้น แม้จะยังไม่โดดเด่นเท่าเมื่อเทียบกับ 2 เรื่องในข้างต้นก็ตาม แต่นั่นก็ช่วยสร้างความแกร่งและเติมเต็มการทำซีเอชอาร์ของฮอนด้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย โดยที่ผ่านมาทางฮอนด้าพยายามสื่อถึงความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม และกองบังคับการกรมตำรวจทางหลวง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดโครงการ “Bon Voyage ยิ่งมีสติ ยิ่งปลอดภัย” รณรงค์ให้ผู้ใช้รถยนต์ขับขี่อย่างถูกต้องและมีสติ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งทางฮอนด้าจะมีทีมคาราวานออกแจกจ่ายเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการขับขี้รถยนต์อย่างถูกต้องตามจุดสำคัญทั่วกรุงเทพฯ

ส่วนการปฏิบัติเพื่อมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากวิกฤติการณ์หรืออุบัติภัยต่างๆ ฮอนด้าได้จัดตั้งมูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา การช่วยเหลือสังคม การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น โครงการ “รวมใจภักดิ์รักษ์ผืนป่ากับฮอนด้า”, การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ

และนี่คือ การทำกิจกรรมเพื่อสังคมของรถญี่ปุ่นรายนี้ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็สะท้อนกลับไปสู่ “HONDA The Power of Dreams” DNA ของฮอนด้า โดยมีเป้าหมายท้ายสุด นั่นก็คือ การเป็นองค์กรที่สังคมต้องการให้ดำรงอยู่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us