Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์24 ธันวาคม 2553
ม.รังสิตรุกสร้างแบรนด์ ชูแนวคิด “ร่วมสร้างสังคมฯ”             
 


   
search resources

มหาวิทยาลัยรังสิต
Education




ก้าวต่อไปม.รังสิตสู่ปีที่ 26ชูแนวทางใหม่สร้างแบรนด์ ใช้แนวคิด “ร่วมสร้างสังคมธรรมาธิปไตย” ผุดตราสัญลักษณ์ใหม่ พร้อมแนวทางสังคมแห่งการให้และการแบ่งปัน สร้าง2 ฟอนต์ใหม่ “อาทิตย์ - อาร์เอสยู” ให้ดาวน์โหลดฟรี

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 25ปีของมหาวิทยาลัยฯ ว่า ในการก้าวสู่ปีที่ 26ได้มีการปรับภาพลักษณ์องค์กรครั้งใหญ่ โดยได้ชูแนวทางการเป็นผู้นำกระแสด้านการศึกษาให้แก่ประเทศไทยตามแนวคิด “ร่วมสร้างสังคมธรรมาธิปไตย” เพื่อตอบแทนคุณประเทศชาติ และการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ

“สังคมธรรมาธิปไตย คือสังคมใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เชื่อมั่นว่าเป็นสังคมที่สงบสุข มีความเป็นธรรมกับทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือร่ำรวยต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้ย่างมีความสุข ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะดำเนินการอยู่บนหอคอยงาช้างโดยไม่เกี่ยวข้องกับสังคมที่แท้จริงนั้นไม่ได้ เราต้องเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานวิชาการ งานวิจัย ชีวิต การฝึกอบรม การสร้างแสงสว่างและปัญญาให้เกิดขึ้นกับเยาวชน และส่งเสริมให้เยาวชนสร้างสังคมธรรมาธิปไตยให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและสร้างสิ่งที่เราอยากเห็นให้เกิดขึ้นจริงในสังคม โดยเชื่อมั่นว่าภายใน 2-3 ปีนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตจะก้าวเข้าสู่สังคมธรรมาธิปไตยอย่างเต็มตัว ในโอกาสนี้ จึงเดินหน้าปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่โดยเปลี่ยนอัตลักษณ์องค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมใหม่และรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต”

ปรับโลโก้ใหม่ตามยุคสมัย

ตราสัญลักษณ์ใหม่หรือโลโก้ที่เพิ่งจะเปิดตัวในโอกาสเดียวกันนี้ เรียกได้ว่าเป็นอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ออกแบบโดยศิษย์เก่าสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ รุ่นที่ 10คณะศิลปะและการออกแบบ “ กาจกำแหง จรมาศ ” ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งDesign Director บริษัท Cookiesdynamo จำกัด กล่าวว่า จุดเด่นของตราสัญลักษณ์ใหม่มีเรื่องราวและความหมายแฝงอยู่ในตัวของมันเอง ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสองส่วน คือ พระอาทิตย์ และโลกุตระ เป็นสองสิ่งที่มีนัยถึงแหล่งกำเนิด ปัญญา ความรู้อันไม่สิ้นสุด ฯลฯ

ส่วนการออกแบบกราฟิกสามารถลดทอน แทนค่า และดึงความสำคัญของการสื่อความหมายให้ตราสัญลักษณ์สามารถสื่อความหมายได้ครอบคลุมไม่ตกหล่น โดยคำนึงถึงความสวยงาม เหมาะสม ลึกลงไปถึงรายละเอียดของเส้นสาย ระยะห่าง สี การนำไปใช้ในขนาดต่างๆ รวมถึงเข้ากันได้กับองค์ประกอบอื่นๆ ในระบบงานที่เป็นเอกลักษณ์องค์กรทั้งหมด

ทั้งนี้ การเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ เพราะจุดอ่อนของตราสัญลักษณ์เดิมมีองค์ประกอบมาก ได้แก่ กลุ่มสามเหลี่ยม ฟันเฟือง ดวงอาทิตย์ ช่อชัยพฤกษ์ และปิ่น แต่ละองค์ประกอบมีความหมายเฉพาะส่วน ซึ่งอาจจะยากแก่การจดจำ ดังนั้น การเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ให้มีองค์ประกอบน้อยลง เพื่อสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต คือ ขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ เพื่อปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมธรรมาธิปไตย ส่วนโลโก้เดิมที่ยังคงความคลาสสิกยังอยู่คู่มหาวิทยาลัยต่อไป

สร้าง 2 ฟอนต์ใหม่ชูเอกลักษณ์

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างฟอนต์ใหม่ 2 ฟอนต์ คือ “อาทิตย์ฟอนต์” และ “อาร์เอสยูฟอนต์” ขึ้นมาใช้ในองค์กร และยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี สำหรับ “ฟอนต์อาทิตย์” ผศ.ดร.ม.ล.กุลธร เกษมสันต์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เป็นอักษรลายมืออิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาจากลายมือของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วน “อาร์เอสยูฟอนต์”ออกแบบโดยศิษย์เก่าสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ รุ่นที่ 12 คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต “ทิวากร นาวารัตน์” ซึ่งปัจจุบันดำงตำแหน่งDesign Director บริษัท ไบรท์ไซด์ จำกัด

สำหรับจุดเด่นของ “ฟอนต์อาร์เอสยู” เป็นฟอนต์ไม่มีหัว ดัดแปลง (Transform) มาจากฟอนต์ภาษาอังกฤษชุดหนึ่ง เพราะการแปลงตัวอักษรภาษาอังกฤษให้กลายเป็นภาษาไทยจะช่วยให้มีความทันสมัย นอกจากนี้ จุดเด่นของฟอนต์นี้ได้สร้างตัวอักษรให้มีลักษณะเฉพาะ เช่น ทำตัว พ ม ร ส ห อ ให้มีบุคลิก เพราะตัวอักษรเหล่านี้มาจากชื่อของ มหาวิทยาลัยรังสิต และอีกจุดที่สังเกตง่ายๆ คือขอบของตัวอักษรจะมนไม่ตัดตรง

“แบบอักษรที่ออกแบบขึ้นใหม่โดยเฉพาะ มีวัตถุประสงค์ด้านการสร้างเอกลักษณ์ จึงมีการดัด ตัดแต่ง ให้มีลักษณะเฉพาะตัว ทำให้จดจำได้ง่ายว่าคืออักษรของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ไม่ซ้ำกับใคร องค์ประกอบทั้งหมดนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันองค์กรให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น”

ต่อยอดองค์ความรู้ สู่การสร้างแบรนด์

ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยรังสิต ในช่วงประมาณ 5 ปีหลัง มีการเปิดบริษัทที่เรียกว่ากลุ่มบริษัทในเครืออาร์เอสยูถึง 13 บริษัท เพื่อทำธุรกิจที่ไม่ใช่เรื่องของการศึกษา เพราะต้องการให้องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยสามารถเชื่อมโยงและสอดคล้องกับสังคมภายนอกได้จริงๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องประกาศตัวเองให้สังคมรู้ว่า มหาวิทยาลัยฯ มีความเชี่ยวชาญทางด้านไหนบ้าง บริษัททั้งหมดจึงล้วนมาจากการต่อยอดทางวิชาการของคณะต่างๆ ทั้งสิ้น เช่น คณะทันตแพทยศาสตร์นำมาสู่การเปิดอาร์เอสยูเดนทัล กลุ่มแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพนำมาสู่การเปิดบริษัทอาร์เอสยูเฮลแคร์ ฯลฯ

การดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นจุดที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 มิติ คือ 1.รูปลักษณ์ภายนอก เช่น การกำหนดฟอนต์ใหม่ การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ใหม่ทั้งหมด เพื่อให้มีความเกี่ยวพันกัน และ2.จิตวิญญาณขององค์กร คือ การที่พนักงานไม่ว่าจะอยู่บริษัทไหนก็ตามต้องรู้สึกได้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันว่าเรามีภาระหน้าที่เดียวกันในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องของการสร้างคุณภาพทางด้านการศึกษา สร้างศักยภาพของประเทศ จึงอยากให้เรื่องของแบรนด์ดิ้งเป็นการสื่อสารที่ทั่วถึงทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้รู้ซึ้งถึงการปฎิบัติหน้าที่ของตนเองในแต่ละวันด้วยว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้นสำคัญต่อประเทศมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us