|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เมื่อการรวมกลุ่มอยู่ในย่านเดียวกันเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้บริโภคเดินเข้ามาหาได้มากกว่า จึงเห็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันเลือกที่จะตั้งอยู่ในแหล่งเดียวกัน แทนที่จะแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว แต่จะทำให้แหล่งการค้านั้นเติบโตต่อไปได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน เป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการใน “บ้านถวาย” กับ “ถนนนิมมานเหมินท์” กำลังหาคำตอบให้กับตัวเอง
๐ บ้านถวาย
เสริมแกร่งเส้นทางเติบโต
.”บ้านถวาย”ย่านการค้าที่มีชื่อเสียงในเรื่องของเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านที่ทำจากไม้แกะสลัก เป็นที่รู้จักของคนที่ชอบแต่งบ้านมานาน 30-40 ปีแล้ว ปัจจุบันสมาชิกของหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นโรงงานเล็กๆ ที่ทำงานฝีมือกว่า 200 ครอบครัว และด้วยความโด่งดังของบ้านถวายทำให้มีคนจากถิ่นอื่นเข้ามาตั้งร้านค้าตั้งแต่ปากทางเข้าหมู่บ้านรวมอีกนับพันราย
อย่างไรก็ตาม ด้วยความพยายามที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนที่เป็นย่านการค้าแห่งนี้ วสันต์ เดชะกัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมบ้านถวายเพื่อการส่งออก เล่าว่า หลังจากเกิดการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการบ้านถวายกว่า 100 ราย ซึ่งมีคนพื้นถิ่นอยู่ในกลุ่มถึง 80% นั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับสินค้าและสร้างแบรนด์บ้านถวายให้เติบโตได้ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่เป็นคนพื้นถิ่นยังมีจุดอ่อนที่สำคัญและต้องเร่งพัฒนาอย่างยิ่ง 2 เรื่องคือ 1.คุณภาพมาตรฐาน และ 2.รูปแบบสินค้า
ดังนั้น ในฐานะประธานกลุ่มฯ จึงพยายามผลักดันการพัฒนาให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม โดยในปีที่แล้วได้จัดทำโครงการพัฒนาการออกแบบสินค้าให้กับผู้ประกอบการทุกรายที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม เพราะมองว่าการเลือกพัฒนาเพียงสิบหรือยี่สิบรายเมื่อได้สินค้าออกมาจะมีการลอกเลียนแบบกัน แต่เมื่อทุกรายต้องพัฒนาทำให้ต่างคนต่างคิดทำของตัวเองไม่มีเวลาสนใจคนอื่น โดยได้เชิญมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชียงใหม่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วย
โครงการดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการตื่นคัวอย่างมาก เกิดการทดลองผลิตสินค้าในรูปแบบใหม่ๆ มากถึง 400-500 แบบ และคัดเลือกมาวางตลาดกว่า 100 แบบ ทำให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้มากขึ้น ในขณะเดียวกันสามารถสร้างสรรค์สินค้าดีไซน์ใหม่ที่ตลาดตอบรับดี เช่น โคมไฟที่ทำจากวัสดุแปลกใหม่ ถังขยะในห้องพักโรงแรมที่มีการออกแบบให้เหมือนของตกแต่งและให้ความสะดวกในการใช้ หรือเฟอร์นิเจอร์สารพัดประโยชน์ สามารถใช้เป็นเก้าอี้นอนเล่นและกล่องใส่ของ เป็นต้น
สำหรับปีนี้ มีการจัดโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน โดยเพิ่มความเข้มข้นในการพัฒนาสินค้าเพราะมีการจัดประกวดการออกแบบด้วย โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1.ไม้แกะสลัก ซึ่งขอสงวนให้กับสมาชิกของกลุ่มเพราะเป็นคนพื้นถิ่นที่บุกเบิกสินค้าประเภทนี้มา แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านการออกแบบที่ต้องพัฒนา 2.เฟอร์นิเจอร์ 3.ของแต่งบ้าน 4.งานแต่งเส้นเดินลาย และ5.ของที่ระลึก
หลังจากการประกวดจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยใช้ชื่องานว่า “ย่านการค้าพาณิชย์ บ้านถวายหมู่บ้านสร้างสรรค์” ในช่วงวันที่ 28 ธันวาคม 2553 -2 มกราคม 2554 เพื่อนำสินค้าใหม่ออกวางตลาดและกระตุ้นให้เกิดความคึกคักในบ้านถวาย เพราะเป็นจังหวะเวลาที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว และบรรยากาศในช่วงปีใหม่ที่ผู้คนเตรียมจับจ่ายอยู่แล้ว โดยคาดว่าในปีนี้จะมียอดขายที่เกิดขึ้นทันทีระหว่างการจัดงานประมาณ 5 ล้านบาท และมีการสั่งซื้ออีกประมาณ 30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มียอดขายทันทีประมาณ 1.5 ล้านบาท และยอสั่งซื้อประมาณ 15 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว
“พยายามให้โครงการพัฒนาสินค้าเกิดขึ้นในช่วงปลายปี เพราะจะได้จัดกิจกรรมด้านการขายเพื่อส่งเสริมตลาดต่อเนื่องกันไปได้ทันที จากนั้น จะต่อไปที่งาน BIG&BIH ที่จัดในเดือนเมษายน ทำให้ผู้ประกอบการมีสินค้าใหม่ๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ และเป็นการสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าสำหรับลูกค้าเก่าจะมีของใหม่ๆ ดึงดูดให้มาติดตาม ส่วนลูกค้าใหม่จะเกิดขึ้นได้อีก ถ้าไม่มีโครงการพัฒนา แค่โปรโมทและลดราคาสินค้าก็ไม่เกิดผลดีพอ ต้องทำให้เกิดการพัฒนาเป็นระบบไม่อย่างนั้นโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าจะเป็นไปได้ยาก”
การที่บ้านถวายได้รับการคัดเลือกเป็นแห่งแรกให้เป็น “ย่านการค้าจังหวัด” ตามโครงการที่กระทรวงพาณิชย์จัดขึ้น เชื่อว่าจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมากซึ่งมียอดขายตั้งแต่รายละหลักแสนถึงหลักสิบล้านบาทต่อปียังต้องการการผลักดัน และการส่งเสริมการตลาดเป็นขั้นต่อไปที่ผู้ประกอบการบ้านถวายอยากให้ภาครัฐช่วยเหลือ หลังจากที่ได้เริ่มยกระดับสินค้าไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ สินค้าของบ้านถวายมีโอกาสไปทดลองตลาดผ่านบริษัทจี้หยวน จากการที่ภาครัฐเป็นตัวกลางให้เกิดการจับคู่ธุรกิจเพื่อส่งเสริมตลาดในประเทศจีน ทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นเพราะก่อนหน้านี้เคยมีประสบการณ์ที่มีการสั่งซื้อแต่กลับยกเลิกในตอนหลัง จึงเกิดความเสียหายทางธุรกิจ ทำให้มองว่าการที่ผู้ประกอบการติดต่อกันเองทำให้โอกาสความสำเร็จเป็นไปได้ยากกว่าการที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเชื่อมโยง
๐ นิมมานฯ
ชูธงถนนแห่งสีสัน
“นิมมานเหมินท์” เป็นอีกย่านธุรกิจหนึ่งที่เป็นทั้งแหล่งช็อปปิ้งและแหล่งท่องเที่ยวไปในเวลาเดียวกัน ยิ่งเมื่อมีการจัดเทศกาลงานประจำปี “นิมมานเหมินท์ อาร์ทแอนด์ดีไซน์พรอเมอนาด” ขึ้นมาเป็นปีที่ 11 แล้ว ในชื่อว่า “Nap” ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในช่วงวันที่ 5-11 ธันวาคมที่ผ่านมา มีความพิเศษจากเดิมเนื่องจากเป็นปีแรกที่มีการขยายพื้นที่การจัดงานออกไปในส่วนที่เรียกว่า “Think Park” ที่พยายามจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้มาสองปีแล้ว
“ปีก่อนๆ เราไม่ต้องการให้งาน Nap โตไปกว่านี้ และคิดว่า Nap ก็คือซอย 1จะเป็นที่อื่นไม่ได้ แต่คณะกรรมการจัดงานตกลงจะลองดู ทำให้งานปีนี้ใหญ่ขึ้น มีธุรกิจและผู้ประกอบการท่องเที่ยวมาร่วมด้วย ต้องบอกว่าจุดเริ่มต้นของงาน ื งาน nap เกิดจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่ถนนนิมมานฯ ซอย 1 อยากให้ที่คนมาที่นี่แล้วอยากได้งานแปลกๆ และมีเอกลักษณ์ของตนเองไม่ซ้ำใคร และคิดแบ่งปันพื้นที่ให้น้องๆ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถทางศิลปะและการออกแบบมีพื้นที่เสนเองาน ด้วยความที่เป็นถนนซอยเล็กๆ ทำให้ดูน่ารัก แปลกใหม่ คลาสิก และประสบความสำเร็จเป็นถนนคนเดนแห่งแรกของเชียงใหม่ จาก 20 กว่าร้านในครั้งแรก ตอน นี้มีประมาณ 45 ร้าน และมีคนมาขอใช้พื้นที่อีก 30 ร้าน กับส่วนของ Think Park รวมเป็นประมาณ 100 ร้าน” หทัยรัตน์ จำปางาม คณะกรรมการกลุ่มกิจกรรมงาน nap ให้รายละเอียด
Theme ของงานปีนี้คือ “ผสานร้อยสี อารยธรรม” เป็นการรวมคนไทยที่มีหลายอารยธรรมรวมกันอยู่ในผืนแผ่นดินไทย โดยมีการตกแต่งสถานที่ เช่น ตุงจากหลายถิ่นหลายแบบ และมีการประชุมผู้ประกอบการทุกรายให้มีความเข้าใจเพื่อให้การจัดงานมีเอกลักษณ์ ในขณะที่ผู้ประกอบการแต่ละรายมีตัวตนมีเรื่องเล่า
“เพราะเป้าหมายของเราต้องการสร้างความประทับใจให้คนที่มาเที่ยว มาเจอกันเหมือนคนรู้จักกันมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ทุกเรื่อง อยากให้ผู้ประกอบการมารู้จักผู้บริโภค เกิดความเป็นเพื่อน มีรอยยิ้ม ความสนุก และอิ่มใจเมื่อกลับบ้านไป แล้วปีหน้ามาพบกันใหม่”
เสน่ห์ของงานนี้อยู่ที่ความเป็นกันเองของผู้คน บรรยากาศ สถานที่ การเป็นเมืองของคนที่ชอบศิลปะ เป็นเมืองช่าง คนมีความคิดแปลกใหม่แตกออกไปเรื่อยๆ ในงานนี้เปิดโอกาสให้คนใหม่ๆ เข้ามา สำหรับซอย 1 เป็นส่วนที่ช่วยจุดประกายให้คนทำในสิ่งที่ตัวเองรัก
อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้ธุรกิจบนถนนการค้าเส้นนี้เติบโตไปในทิศทางเดียวกนทั้งหมดยังคงมีอุปสรรค เนื่องจากในช่วงเวลา 5-6 ปีก่อน มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากจากผู้ประกอบการที่เห็นโอกาสทางธุรกิจ แม้ว่าจะมีความคิดในการรวมกลุ่มผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่เพื่อกำหนดแนวทางข้างหน้า แต่ยังไม่สำเร็จเพราะมีเงื่อนไขทางธุรกิจต่างกัน
“ตอนนี้ธุรกิจในย่านนี้ไม่ได้เติบโตหวือหวา มองว่าค่อนข้างอิ่มตัว แต่ยังรวมตัวกันยาก เพราะมีแค่กลุ่มเล็กๆ ที่เริ่มต้นความสามัคคีธุรกิจบนถนนนี้เป็นกลุ่มองค์กรหนึ่ง เราเคยขอมีส่วนร่วม เช่น ถ้าจะมีร้านใหม่เกิดขึ้นมาอีก เราขอมีส่วนในการตัดสินใจได้มั้ย แต่เมื่อมีธุรกิจที่มุ่งหวังแต่กำไรหัวใจของเขาก็ปิด ส่วนหนึ่งเพราะพื้นที่ตรงนี้ราคาสูงขึ้นมาก คนที่มาลงทุนจำเป็นต้องคิดเรื่องความคุ้มทุน เราไม่สามารถทำให้เขามารวมได้”
แม้ว่างาน Nap ที่เต็มไปด้วยสีสันจะจบลงไปแล้ว โดยสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ และถือเป็นแรงกระตุ้นที่ช่วยสร้างความคึกคักให้ธุรกิจช่วงปลายปีได้ในส่วนหนึ่ง แต่ความเป็นย่านธุรกิจที่คงความเป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ในแบบฉบับเฉพาะของตัว นับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการย่านถนนนิมมานเหมินทร์ที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป
|
|
 |
|
|