|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อาศัยความมีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสายสีลมและสายสุขุมวิทรวมถึงส่วนต่อขยายในส่วนสีเขียว ทำให้ คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS มีความหวังที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งเป็นเส้นทางที่ BTSสนใจเข้าร่วมประกวดราคาในการบริหารเดินรถ แม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้าใต้ดินมาก่อน แต่ก็มั่นใจในศักยภาพและเทคโนโลยีที่มีอยู่พอที่จะสู่กับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCLที่มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินมา
แม้ว่า BMCL จะมีประสบการณ์การเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่คีรีก็ไม่หวั่น เพราะมั่นใจว่า BTSมีความพร้อมในการบริหารเดินรถไฟฟ้าเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งเงินทุนที่แข็งแกร่ง อีกทั้งยังมีความพร้อมที่จะซื้อรถไฟฟ้ามาเพิ่ม รวมถึงมีศูนย์ซ่อมบำรุงและมีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ด้วยสไตล์การทำงานแบบเล็กๆไม่ใหญ่ๆทำจึงไม่แปลกใจที่คีรีสนใจเข้าประมูลงานเดินรถไฟฟ้าที่รัฐบาลลงทุนทุกเส้นทาง
คีรี กล่าวว่า บริษัทมีความมีความพร้อมในการเข้าประกวดราคาการเดินรถสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ (ช่วงบางใหญ่-เตาปูน )แต่ก็ยอมรับว่า BMCL ที่ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นทางปัจจุบันมีความได้เปรียบมากกว่า เพราะเป็นผู้ให้บริการอยู่แล้วทำให้ต้นทุนการให้บริการต่ำ แต่ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะถ้าเป็นสายสีเขียว บริษัทก็จะได้เปรียบกว่า เพราะเป็นส่วนต่อขยายของ BTS
คีรียังกล่าวอีกว่า ไทยมีระบบขนส่งมวลชนมาแล้วกว่า10-11ปี แต่ก็ยังไม่สามารถขยายให้มีระยะยาวขึ้นได้ ถือว่าเป็นการขยายตัวที่ช้ามาก หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการขยายเส้นทางระบบขนส่งไปได้ไกลกว่าไทย ทั้งนี้ก็ต้องการสื่อไปยังรัฐบาลว่าบริษัทเอกชนต้องการเห็นส่วนต่อขยายมากกว่านี้ และเอกชนก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการแทนหากรัฐบาลไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินการเอง เพื่อให้ระบบขนส่งมวลชนมีความครอบคลุมมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาเอกชนกลับไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาล ไม่มีการเรียกเอกชนไปหารือ เพราะ11ปีมานี้ทั้ง BTSและ BMCLพร้อมที่จะเข้าไปบริหาร ลงทุน เดินรถหรือเป็นที่ปรึกษาหรือวิธีใดๆที่จะทำให้ระบบขนส่งมวลเกิดขึ้น
“บริษัทที่มีประสบการด้านรถไฟฟ้าในไทย มี BTS และ BMCL ซึ่งยังไม่รวมถึงบริษัทต่างชาติ ที่พร้อมจะเข้ามาสานต่องานโครงการของรัฐบาล หรือโครงการต่อเนื่องที่เกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเราพร้อมที่จะเข้าไปบริหาร ลงทุนโครงสร้างและงานระบบต่าง ๆ ที่สำคัญวันนี้ BTS เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า BTS มีความแข็งกร่ง อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ”คีรีกล่าว
แจงปัญหา BTS เสียบ่อย
ส่วนปัญหาระบบการขัดข้องของรถไฟฟ้าในสายสีลมในช่วงที่ผ่านมานั้น คีรีกล่าวว่า เกิดจากการปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณในสายสีลมจากเดิมใช้ของบริษัทซีเมนส์ จำกัด มาเป็นบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย)จำกัด และอยู่ระหว่างนำขบวนรถใหม่ที่เพิ่งรับมอบจากจีนจำนวน 12 ขบวน เมื่อเดือนมิ.ย. 2553 มา วิ่งบริการ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาบางประการ และจากการตรวจสอบสาเหตุอย่างละเอียดพบว่า ขบวนรถเก่าซึ่งเป็นของซีเมนส์ขบวนหนึ่ง ที่มีการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณของบอมบาร์ดิเอร์ ได้ส่งคลื่นสัญญาณวิทยุรบกวนสัญญาณรถขบวนอื่น ทำให้ขบวนรถที่ถูกรบกวนสัญญาณหยุดวิ่งอัตโนมัติ ซึ่งเป็นไปตามระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุดของระบบรถไฟฟ้า ที่เมื่อระบบตรวจพบความผิดปกติหรือถูกรบกวน ระบบจะสั่งหยุดวิ่งทันทีเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขโดยการติดตั้งตัวกรองสัญญาณ เพื่อไม่ให้ระบบอ่อนไหวมากเกินไป อีกสาเหตุที่สำคัญ คือ การเร่งรีบนำรถขบวนใหม่จำนวน 12 ขบวน มาวิ่งบริการเร็วเกินไป
นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างการปรับระบบอาณัติสัญญาณของสายสุขุมวิทจากซีเมนส์ เป็นบอมบาร์ดิเอร์ฯทั้งหมดด้วย ซึ่งจะเสร็จสิ้นและเริ่มใช้งานได้ในเดือนมี.ค.-เม.ย. 2554 สาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนมาใช้ระบบอาณัติสัญญาณเป็นบอมบาร์ดิเอร์ฯ นั้นเนื่องจากระบบของบอมบาร์ดิเอร์ฯถือว่าเป็นระบบที่ทันสมัยและมีค่าใช้ จ่ายในการซ่อมบำรุงต่ำอีกทั้งยังสามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้าทุกประเภท ในขณะที่ระบบของซีเมนส์จะล็อกระบบไว้ให้ใช้ได้เฉพาะรถของซีเมนส์เท่านั้น ทำให้รถของเจ้าอื่นไม่สามารถมาวิ่งในระบบของซีเมนต์ซึ่งการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณเนื่องจากว่าในอนาคตบริษัทมีแผนจะซื้อรถไฟฟ้าเพิ่ม
เซ็นสัญญาเดินรถส่วนต่อขยาย
นอก จากนี้บริษัทได้เซ็นสัญญาร่วมกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เพื่อให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 จากซอยสุขุมวิท 85-ซอยสุขุมวิท 107 (อ่อนนุช-แบริ่ง) ระยะทาง 5.25 กม. มีระยะเวลา 1 ปี นับจากวันเริ่มเดินรถในวันที่ 12 ส.ค. 2554 มี 5 สถานี คือ สถานีบางจาก สถานีปุณณวิถี สถานีอุดมสุข สถานีบางนา และสถานีแบริ่ง โดยสัญญาดังกล่าวสามารถต่ออายุแบบรายปีได้นานสูงสุด 19 ปี รวมกับปีแรก หรือจนกว่าสัญญาสัมปทานของโครงการระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเดิมจะสิ้นสุดลง ซึ่งบริษัทจะได้รับค่าจ้างสำหรับการให้บริการทั้งหมดในปีแรกรวมภาษีมูลค่า เพิ่มแล้วเป็นเงินประมาณ 674 ล้านบาท
|
|
|
|
|