Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์23 ธันวาคม 2553
กลุ่มพญาไท+กลุ่ม รพ.กรุงเทพ รวมเพื่อรุก เตรียมพร้อมรับ AEC รองรับไทยเป็น รพ.ของโลก             
 


   
search resources

โรงพยาบาลสมิติเวช, บมจ.
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลพญาไท
Hospital
โรงพยาบาลเปาโล




ช่วงปลายของปี 2553 นี้ ข่าวคราวการเทกโอเวอร์ ควบรวมกิจการเข้มข้นหนัก

เริ่มจากการปิดดีลซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ในประเทศไทย โดยบิ๊กซี ตามมาด้วยข่าวการไล่ซื้อหุ้นบริษัท เสริมสุข ของบริษัท เอสเอสฯ

และน่าจะส่งท้ายปี ด้วยดีลการควบรวมโรงพยาบาลสนั่นฟ้าเมืองไทย ระหว่าง “กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ” และ “กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท”

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2553 บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) (PYT) หรือโรงพยาบาลพญาไท แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ได้มีมติรับทราบการที่ บริษัท เฮลท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) (HN) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ PYT ซึ่งถือหุ้นใน PYTจำนวน 1,151,171,044 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 49.17 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ มีความประสงค์จะดำเนินการร่วมกิจการระหว่างเครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล กับเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยการขายและโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) ให้แก่บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BGH

เพื่อ 1) เป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ และ 2) เพิ่มเครือข่ายทางด้านธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันกับคู่แข่งของบริษัทฯ และโอกาสทางธุรกิจของ บริษัทฯ ที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติในการให้ความร่วมมือต่อ BGH ในการตรวจสอบข้อมูล (Due diligence) ของบริษัทฯ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ทั้งนี้ BGH มีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ PYT จำนวน 734,305,123 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 31.36 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (เนื่องจากภายหลังการรับโอนกิจการทั้งหมดสำเร็จลุล่วง จะเป็นผลให้ BGH มีสัดส่วนการถือหุ้นใน PYT ในจำนวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ PYT)

BGH จึงมีหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ

การรวมกิจการของ 4 โรงพยาบาลใหญ่ของไทยครั้งนี้ คือ กรุงเทพ พญาไท เปาโล และสมิติเวช ทำให้ครอบคลุมทุกตลาดสุขภาพของไทย โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลสมิติเวช จับตลาดบนอยู่แล้ว ส่วนโรงพยาบาลเปาโล จะมุ่งตลาดระดับกลางถึงล่าง เป้าหมายหลักภายหลังรวมกิจการของทั้งสองกลุ่มนั้น เพื่อต้องการเป็นผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลในภูมิภาคเอเชีย

เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ และสมิติเวช เข้าไปรุกธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศหลายแห่งแล้ว การจับมือกับกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท จะทำให้การเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขณะที่โรงพยาบาลเปาโล ก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนลูกค้าระดับกลางได้ดี

การรวมกิจการโรงพยาบาลครั้งนี้ เป็นไปได้ว่าต้องการสร้างความแข็งแกร่งในการขยายธุรกิจรองรับการเตรียมความพร้อมเปิดเสรีธุรกิจโรงพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ซึ่งหากเปิดเสรีแล้วจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจโรงพยาบาลได้ในสัดส่วนถึง 70% ของทุนจดทะเบียน (จากปัจจุบันมีเพดานถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ของทุนจดทะเบียน)

เป้าหมายหลักภายหลังรวมกิจการของทั้งสองกลุ่มนั้นคืออะไร?

ต้องการเป็น “ผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลในภูมิภาคเอเชีย” ??

ปัจจุบัน กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ และสมิติเวช ภายใต้การถือหุ้นของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปรุกธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศหลายแห่งแล้ว

การจับมือกับกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท จะทำให้การเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขณะที่โรงพยาบาลเปาโล ก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนลูกค้าระดับกลางได้ดี

ปัจจุบันโรงพยาบาลกรุงเทพถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ทั้งในเชิงรายได้ และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในหมวดธุรกิจการแพทย์

มีโรงพยาบาลในเครือ 17 แห่งในประเทศไทย และ 2 แห่งในกัมพูชา โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ซอยศูนย์วิจัยมีเตียงคนไข้ 446 เตียง ส่วนโรงพยาบาลสมิติเวช มีเตียงรวม 675 เตียง แบ่งเป็นโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท 275 เตียง และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ จำนวน 400 เตียง ขณะที่โรงพยาบาลพญาไท 1 พญาไท 2 และพญาไท 3 มีจำนวนเตียงรวมกัน 640 เตียง ทำให้หลังควบรวมกิจการในครั้งนี้ จำนวนเตียงของกลุ่มนี้ที่ยังไม่รวมเครือข่ายของโรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลเปาโล จะมีจำนวนถึง 1,761 เตียง

นัยสำคัญของดีลนี้คืออะไร?

บทวิเคราะห์พญาไท

การเตรียมตัวรับ AEC เปิดเสรีอาเซียนระลอกใหม่ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนั้น เป็นโจทย์ทางธุรกิจที่ซีอีโอทั่วอาเซียนถือเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะจากนี้ไปธุรกิจที่ไม่มีความสามารถทางการแข่งขันจะอยู่ลำบาก

ตลาดในอนาคตไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะตลาดในประเทศไทยอีกต่อไปแล้ว แต่หมายถึงตลาดอาเซียนกว่า 500 ล้านคน และเมื่อคิดถึงอาเซียนบวกประเทศใหญ่อื่นๆ ที่อาจจะเข้าร่วมในอนาคตด้วยแล้ว ขนาดตลาดจะมหึมา

อย่างไรก็ตาม ถึงไม่มี AEC มาเป็นตัวเร่ง ธุรกิจน้อยใหญ่ก็ต้องเร่งปรับเพื่อรับการแข่งขันอยู่ก่อนแล้ว เพราะโลกได้ก้าวเข้าสู่โลกาภิวัตน์มานานหลายปีดีดัก และโลกาภิวัตน์ก็ได้สำแดงเดชให้เห็นแล้วว่า หากไม่รีบปรับตัวอ้าแขนรับ Globalization แล้วจะเป็นอย่างไร

อันที่จริงธุรกิจโรงพยาบาลของไทยนั้นก็ก้าวเข้าสู่โลกาภิวัตน์มาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ลูกค้าโรงพยาบาลชั้นนำส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างประเทศ ทั้งฝรั่งตะวันตกและชาวอาหรับจากตะวันออกกลาง ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดภาวะวิกฤตของธุรกิจนี้โดยแท้

ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ โรงพยาบาลต่างๆ ของไทยกู้เงินดอกเบี้ยถูกจากต่างประเทศเพื่อขยายโรงพยาบาลมากมาย เพราะเศรษฐกิจกำลังขยายตัวในอัตราสูง แต่เมื่อเศรษฐกิจล่มสลายในปี 2540 โรงพยาบาลก็ตกอยู่ภายใต้ภาวะหนี้สินล้นพ้น ต้องปรับโครงสร้างหนี้ขนานใหญ่ ก่อนที่ ร.พ.บำรุงราษฎร์จะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ด้วยการจ้างฝรั่งมาบริหาร จากนั้นเอง ร.พ.บำรุงราษฎร์ก็เปลี่ยนสภาพจาก ร.พ.ของตระกูลโสภณพนิชที่เน้นลูกค้าคนไทย กลายเป็น ร.พ.ระดับสากลที่บังเอิญตั้งอยู่ในเมืองไทย มีชื่อเป็นไทยเท่านั้น

ผู้ป่วยจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่เมืองไทยมากมาย คำร่ำลือว่าแพทย์คุณภาพดี จบบอร์ดอเมริกา แต่ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าในสหรัฐฯ เป็นสิบเท่า ทำให้ผู้ป่วยที่ชอบของดีราคาถูก หรือผู้ที่ไม่มีประกันชีวิต แห่บินเข้ามารักษาในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ชื่อบำรุงราษฎร์ขจรขจายไปในต่างแดน

การตูมตามขึ้นมาของ ร.พ.บำรุงราษฎร์ ส่งผลให้ ร.พ.อื่นๆ พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย ร.พ.ในประเทศไทยกลายเป็น destination ของผู้ป่วยชาวต่างชาติ ที่ไม่เพียงผู้ป่วยเท่านั้นที่มารักษาตัวในเมืองไทย กลายเป็นว่าเมื่อผู้ป่วยรักษาตัวในเมืองไทย ลูกหลานญาติพี่น้องต่างแห่กันเข้ามาเมืองไทยมากมาย เมื่อผู้ป่วยรักษาเรียบร้อยแล้ว กลุ่มนี้ก็ท่องเที่ยวต่อในเมืองไทย กลายเป็น Medical tour ไปในที่สุด

ประเทศอื่นอาจ outsource call center แต่ประเทศไทยกลายเป็นที่ outsource ด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าคอลเซ็นเตอร์เสียอีก

ในอาเซียนมีเพียงไทยและสิงคโปร์เท่านั้นที่แข่งขันกันด้านนี้ และเมื่อมองออกไปในระดับเอเชียก็มีอินเดียเท่านั้นที่เป็นคู่ต่อกร

หากมองในภาพรวมแล้วไทยเหนือกว่าสองประทศดังกล่าวมาก ดังนั้น หากใช้ AEC เมื่อใดโอกาสที่ต่างประเทศจะบุกไทย ด้วยการไล่ซื้อ ร.พ. หรือเข้ามาตั้ง ร.พ.แข่งเลยก็มีความเป็นไปได้สูง

ดังนั้น หากจะต่อกรกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ได้อย่างทัดเทียม ซึ่งไม่เพียงสร้างกำแพงขวางกั้นไม่ให้หน้าใหม่เข้าสู่เมืองไทยได้ง่ายเท่านั้น เมื่อมีขนาดที่เหมาะสมก็ยังสามารถบุกตลาดต่างประเทศได้อีกต่างหาก ขณะเดียวกัน การมี ร.พ.ที่มีครบเกือบทุก target สนองทุกเซกเมนต์ ทำตลาดก็คุ้มค่า เกิด economy of scale ไม่ว่าจะเป็นการ marketing ในไทยหรือต่างประเทศ

ยิ่งบำรุงราษฎร์วางตำแหน่งไว้สูง และมี ร.พ.เพียงแห่งเดียว ย่อมทำให้เชน ร.พ.อื่นได้ประโยชน์ เพราะบำรุงราษฎร์เท่ากับเป็นตัวเรียกแขกต่างประเทศมานั่นเอง

แนวโน้มของโลกก้าวเข้าสู่การเป็นโลกของผู้สูงวัย การดูแลสุขภาพก็ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น

ไทยอาจ positioning ให้กลายเป็นโรงพยาบาลของโลกอีกตำแหน่งหนึ่งก็ได้

หลังจากประสบความสำเร็จในการวางตำแหน่งเป็นครัวของโลกมาแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us