Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2533
กัญห์ชรี บูรณสมภพ "อาชีพเลขาส่วนหนึ่งก็ใกล้เคียงกับประชาสัมพันธ์"             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations
กัญห์ชรี บูรณสมภพ




สำหรับผู้หญิงแล้ว ผู้หญิงที่เริ่มต้นเลข 4 นั้นน่าจะเป็นช่วงที่ไม่ควรจะต้องดิ้นรนให้เหนื่อยยาก ในหน้าที่การงานเหมือนเมื่อวัยสาวอีกแล้ว ควรจะได้ใช้เวลาที่เหลือกับครอบครัวให้มากขึ้น แต่...กัญห์ชรี บูรณสมภพ ชีวิตเธอเป็นข้อยกเว้น เพราะวัย 40 กะรัตของเธอในวันนี้กลับกลายเป็นจุดหักเหชีวิตการทำงานของเธอชนิดหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว...

เพราะชีวิตงานเลขาที่เธอคลุกมาเกือบครึ่งชีวิตจนได้รับการยกย่องให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเลขานุการแห่งประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป แล้ววันดีคืนดีเธอก็วางปากกาจดชวเลขมานั่งแป้นเป็น ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของโรงแรมฮิลตัน เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา...

จากพื้นฐานของครอบครัวที่มีธุรกิจการค้าเป็นของตัวเอง กัญห์ชรีจึงได้รับการขอร้องจากบิดาให้เรียนต่อทางด้านบริหารหลังจากที่เรียนจบเซ็นต์ฟรังชั้นมัธยม 6 แล้ว ทั้ง ๆ ที่เธอใฝ่ฝันที่จะเรียนแพทย์ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ

แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกเมื่อทางไฮสคูลที่เธอเรียนอยู่ทางสหรัฐฯ นั้นได้แนะนำให้เธอเลือกอาชีพเลขาฯ "ทางไฮสคูลเขาสัมภาษณ์ดิฉันหลายเรื่อง แล้วสรุปว่าทำไมยูไม่เรียนเลขา ถ้ายูเป็นเลขาชีวิตจะประสบความสำเร็จมาก ๆ เพราะยูเป็นคนร่าเริงมีมนุษยสัมพันธ์ดี แล้วที่อเมริกานั้น อาชีพเลขาค่อนข้างได้รับการยกย่องและได้เงินดีด้วย..." กัญห์ชรีเล่าถึงแรงดลใจครั้งแรกของอาชีพเลขาฯ

แล้วชีวิตเธอก็ถูกลิขิตให้หักเหมาเป็นเลขาฯ จนได้ ขณะที่เรียนปริญญาตรีด้านบริหารบุคคลที่มหาวิทยาลัยรูสเวลท์ ชิคาโก เธอก็ได้หาประสบการณ์ด้วยการเป็นเลขาฯ ให้กับโปรเฟสเซอร์ของคณะในช่วงซัมเมอร์ การเริ่มต้นชีวิตเลขาฯ นั้นทำให้กัญห์ชรีประทับใจมาก เพราะ "นาย" คนแรกของเธอให้ความรู้และประสบการณ์กับเธออย่างมาก หลังจากเรียนจบแล้วกัญห์ชรีจึงได้ทำงานเป็นเลขาฯ อยู่ที่บริษัทนอร์ทแวร์ เป็นเวลา 1 ปี จึงกลับมาเมืองไทย

กัญห์ชรีหอบปริญญากลับสู่เมืองไทยเมื่ออายุ 21 ปี ก็ได้งานทำเป็นเลขาบริหารของ "นายใหญ่" ที่หน่วยสวัสดิการทหารอากาศสหรัฐ สำหรับหน้าที่นี้เธอยอมรับว่าตัวเองค่อนข้างจะเด็กเกินไป เพราะจะต้องรับผิดชอบมาก แต่ด้วยนิสัยที่ชอบเรียนรู้และภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยมทำให้เธอสามารถทำหน้าที่นี้ได้ดีจน 6 ปีให้หลัง เมื่อฐานทัพของสหรัฐฯ ต้องย้ายออกจากเมืองไทยเธอจึงต้องหางานใหม่อีกครั้ง

และงานใหม่ที่กัญห์ชรีมองหาก็ไม่พ้นอาชีพเลขาฯ เธอบอกว่าแม้ตัวเธอจะชอบและตั้งใจยึดอาชีพเลขามาตลอดก็จริง แต่เธอก็เลือก "นาย" เหมือนกัน

"ชอบนายแบบที่ต้องทำให้เรารู้สึกนับถือ คือต้องเป็นผู้ใหญ่ นายเด็ก ๆ ไม่ชอบ คือผู้ใหญ่จะทำให้เรารู้สึกศรัทธา ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรจากนายได้มากด้วย" กัญห์ชรีเปิดใจถึง "นาย" ในอุดมคติของเธอ

บริษัทแห่งใหม่ที่กัญห์ชรีเข้าไปทำงานคือบริษัท บีเอเอสเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ของเยอรมนีที่มีพนักงานกว่าแสนคน อุปสรรคแรกที่เธอประสบกับที่ทำงานใหม่คือ "นายใหญ่" ของที่นี่ ซึ่งได้ชื่อว่าดุมากจนเปลี่ยนเลขาไปแล้วถึง 6 คน แต่สำหรับเลขามืออาชีพประสบการณ์โชกโชนอย่างกัญห์ชรีแล้ว เธอกลับบอกว่าแรกเห็นก็ชอบนายคนใหม่คนนี้แล้วเพราะตรงสเป็กที่เป็นผู้ใหญ่ดี แม้ว่าจะเป็นคนที่เข้มงวดมากหน่อย แต่ก็เป็นคนมีเหตุผล

ชีวิตการทำงานที่เริ่มกับนายใหม่นี้ กัญห์ชรีต้องปรับตัวนานพอสมควร เพราะมีหลายสิ่งที่นายใหม่ไม่ค่อยไว้ใจเธอ แต่เธอก็พยายามพูดและสร้างความมั่นใจให้แก่นายใหม่ 2 ปีกับความพยายามจึงประสบความสำเร็จ ทั้งนายและเลขาก็สามารถเข้ากันได้ดี แต่ก็ครบเทอมที่นายต้องกลับประเทศ เธอจึงต้องเปลี่ยนนายใหม่อีกครั้ง

กับนายคนใหม่นี้เธอร่วมงานด้วยถึง 9 ปี เธอได้เรียนรู้งานหลาย ๆ อย่างจากนายคนนี้ และที่สำคัญคือ นายคนนี้ให้ความไว้วางใจเธอมาก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเลขาทีเดียว นายใหม่คนนี้ให้การส่งเสริมเธอทุกอย่าง จนเธอได้รับการโปรโมทให้รั้งตำแหน่งผู้จัดการสำนักงานด้วย จังหวะนี้เองที่เธอได้มีโอกาสสัมผัสกับงานด้านประชาสัมพันธ์บ้าง เพราะเลขาที่ได้รับการไว้วางใจจากนายอย่างเธอ จะต้องเป็นผู้ดูแลข่าวสารข้อมูล จนกระทั่งถึงการดูแลงานประชุมภาคพื้นเอเซียของบริษัท จะต้องติดต่อทางโรงแรมจัดประชุม จนถึงดูแลเจ้าหน้าที่ที่มาประชุม

แล้วก็มาถึงวันที่นายคนนี้เกษียณอายุ แทนที่เธอจะรอทำงานกับนายคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง มาคราวนี้เธอเริ่มมาพิจารณาดูตัวเองว่าในชีวิตเธอตั้งเป้าหมายสูงสุดให้กับชีวิตอย่างไรบ้าง? เมื่อยึดอาชีพเป็นเลขาเธอก็ได้เป็นเลขาของผู้บริหารที่สูงสุดในองค์กรมาแล้ว ก็น่าจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การอุทิศตนกับงานสมาคมเลขาฯ จนในที่สุดเธอก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมเลขาฯ ถึง 2 สมัย ทั้งหมดนี้น่าจะถึงจุดอิ่มตัวสูงสุดของอาชีพเลขาได้แล้ว

"อาชีพเลขาส่วนหนึ่งก็ใกล้เคียงกับประชาสัมพันธ์ เพราะเลขาที่ดีจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี และต้องสร้างภาพพจน์ให้กับนายผู้บริหาร บริษัท และตัวเองด้วย ต้องติดต่อกับลูกค้ามากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเหมือนประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็ถูกกับนิสัยตัวเองอยู่แล้วที่ชอบพบปะผู้คนและชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา"

ด้วยนิสัยที่มั่นใจในตัวเองสูง เธอจึงตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตด้วยการหักเหชีวิตการทำงานจากเลขามาเป็นผู้จัดการประชาสัมพันธ์ให้กับโรงแรมฮิลตันฯ แม้จะต้องนับหนึ่งใหม่แต่เธอก็เปิดเผยความรู้สึกว่า

"คิดว่าไม่ผิดหวังเพราะ 15 วันแรกที่ทำงานมานี้ คือทุกอย่างเกิดขึ้นทุกวัน ทั้งแปลกและใหม่ แล้วก็ได้มีโอกาสตัดสินใจมากขึ้นเมื่อเผชิญปัญหา คิดว่าประสบการณ์เลขาที่ทำมา 10 กว่าปี ได้อะไรมาหลายอย่างที่จะมาใช้กับงานโรงแรมได้..."

กับวันนี้ของกัญห์ชรี แม้ว่าจะอยู่ในวัยที่เกินกว่าจะเปลี่ยนงานแล้วก็ตาม แต่เธอก็ยังสนุกสนานกับงานใหม่ของเธอเสมือนเด็กเพิ่งจะออกจากรั้วมหาวิทยาลัยที่มีไฟในการทำงานแรงอยู่ และสำหรับเธอแล้วคงไม่หยุดอยู่เพียงแค่งานประชาสัมพันธ์เท่านั้น เพราะเมื่อถึง "จุดอิ่มตัว" อีกครั้ง เธอเตรียมแผนการจะทำงานธุรกิจทัวร์ต่อไป ด้วยเหตุผลเดิมคือ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us