|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ทีดีอาร์ไอ” ชี้ ภาพรวม ศก.ไทยปี 53 ฟื้นรูปตัว “วี” พร้อมประเมิน “จีดีพี” ปีหน้า ต่ำสุดที่ 3.5% และสูงสุดที่ 7.1% แนะจับตาการลงทุนระลอกใหม่ภาค ศก.ที่แท้จริง โดยนโยบายรัฐยังคงมีบทบาทสูง เพราะตั้งงบขาดดุลสูงถึง 4 แสนล้าน แต่นโยบายประชานิยม อาจเป็นเบี้ยหัวแตกจนกลายเป็นภาระในอนาคต พร้อมเตือนปัจจัยเสี่ยงจาก QE2 ทำเงินท่วมโลก
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านพัฒนาการเศรษฐกิจส่วนรวมและกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2553 โดยระบุว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 7 โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วเป็นรูปตัววี (V) ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2554 ซึ่งทีดีอาร์ไอประมาณการในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 คาดว่าเศรษฐกิจปี 2554 มีความไม่แน่นอนสูง ประเมินจีดีพีไว้ 3 ระดับ ระดับสูงร้อยละ 7.1 ปานกลางร้อยละ 5.1 และระดับต่ำที่ร้อยละ 3.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อประเมินไว้ 3 ระดับ เช่นกันคือ ร้อยละ 3.6, 2.6 และ 2
อย่างไรก็ตาม ทีดีอาร์ไอ คาดว่า ในปี 2554 จะเกิดการลงทุนระลอกใหม่เกิดขึ้นได้ โดยเป็นการลงทุนภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะขณะนี้การลงทุนมีแนวโน้มดีขึ้นทั้งลงทุนในประเทศและนอกประเทศ แต่รัฐบาลต้องสร้างบรรยากาศในการลงทุน และไทยยังต้องเน้นเรื่องคุณภาพแรงงานไทย เนื่องจากไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ไม่มีรู้ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยียังมีปัญหาอยู่
“การลงทุนด้านนวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนายังต่ำมาก และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก โดยข้อมูลเมื่อปี พ.ศ.2550 ไทยมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาต่อจีดีพีเพียงร้อยละ 0.21 เท่านั้น ขณะที่ค่าเฉลี่ย 57 ประเทศ มีการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 1.04”
ส่วนบทบาทภาครัฐในปีหน้ายังคงมีบทบาทสูง โดยรัฐบาลวางแผนขาดดุลงบประมาณ 400,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินตามโครงการไทยเข้มแข็งยังเหลือเงินอีกเกือบ 100,000 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายสวัสดิการสังคม หรือประชานิยม คาดว่า จะทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2554 แต่จะมีลักษณะเบี้ยหัวแตก ไม่เป็นระบบ ประสิทธิภาพของการใช้จ่ายต่ำกว่าที่ควร จนกลายเป็นภาระของรัฐบาลในอนาคต
ด้านการเมือง ภาพรวมมีความแน่นอนเพิ่มขึ้น ในขณะที่โอกาสเกิดความรุนแรงลดน้อยลง ส่วนการเกิดขึ้นของรัฐบาลใหม่ในอนาคต เชื่อว่า ความขัดแย้งภายในพรรคร่วมฯ อาจสูงขึ้น และยังมีปัจจัยเรื่องสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกด้วย
นายสมชัย กล่าวว่า ปัจจัยที่จะกระทบเศรษฐกิจมีดังนี้ คือ เกิดความขัดแย้งทางนโยบายของเสาหลักเศรษฐกิจโลก คือ สหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่ต้องติดตามผลกระทบจากการอัดฉีดเม็ดเงินตามนโยบายผ่อนคลายเศรษฐกิจระยะ ที่ 2 ของสหรัฐฯ (QE2) ทำให้เกิดกระแสเงินท่วมโลก บวกกับความไม่เชื่อมั่นต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งอ่อนค่าลง
|
|
|
|
|