|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในตลาดเงินฝากธนาคารทั้งระบบ กว่า16 ล้านบัญชีของเป็นบัญชีเงินฝากของเหล่าบรรดาลูกจ้างและข้าราชการที่เปิดไว้กับธนาคารเพื่อใช้รับเงินเดือน ขนาดของตลาดดังกล่าวที่ยิ่งใหญ่มหาศาล แต่กลับยังไม่มีผู้เล่นรายใดลงมาทำตลาดนี้อย่างจริงจัง กลายเป็นโอกาสของทีเอ็มบีที่จะใช้ผลิตภัณฑ์บัญชีเงินเดือนรูปแบบใหม่เป็นบันไดไปสู่การต่อยอดทำ Cross-selling กับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ด้วยการเพิ่มอรรถประโยชน์ของบัญชีให้มากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพิ่มฐานลูกค้า เพิ่มรายได้ ที่จะนำพาทีเอ็มบียกระดับจากธนาคารขนาดกลางไปสู่ธนาคารขนาดใหญ่ และก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 3 ธนาคารชั้นนำของประเทศตามเป้าหมายที่ซีอีโอ “บุญทักษ์ หวังเจริญ” ได้เคยประกาศเอาไว้
ช่วงที่ผ่านมาถือทีเอ็มบีได้ออกแคมเปญเพื่อระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่างไปจากธนาคารอื่นๆ เพียงแต่ไม่ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นจุดขายแต่อย่างเดียวเท่านั้น แต่มีการปลดล็อกเงื่อนไขต่างๆ ที่เคยเป็นข้อจำกัดของบัญชีเงินฝากแบบเก่าๆ ออกไป เช่น สามารถถอนดอกเบี้ยออกจากบัญชีได้ก่อนช่วงเวลาที่ครบกำหนด เป็นต้น โดยทีเอ็มบีตั้งเป้าว่าจะต้องมีสัดส่วนเงินฝากเพิ่มเป็น 14% ของทั้งระบบภายใน 3 ปี
ปัจจุบันบัญชีเงินเดือนซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากประเภทหนึ่งของลูกจ้างส่วนใหญ่ในระบบอยู่ที่ 3 ธนาคารใหญ่ ได้แก่ กรุงเทพ ไทยพาณิชย์ และกสิกรไทย ซึ่งมาจากการที่ธนาคารขนาดใหญ่มีการทำตลาดกับลูกค้าองค์กร คือ ฝั่งนายจ้างที่เป็นผู้จ่ายเงินเดือน และมีการทำธุรกรรมส่วนใหญ่กับธนาคารเหล่านี้อยู่แล้ว โดยนำเสนอเงื่อนไขต่างๆ แก่องค์กร เช่น การนำเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ วงเงินกู้ที่สูงขึ้น หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ แลกกับจำนวนพนักงานที่บริษัทมีเพื่อเพิ่มฐานลูกค้ารายย่อยของธนาคาร ดังนั้นเมื่อบริษัทมีการจ้างพนักงานใหม่ก็จะให้พนักงานไปเปิดบัญชีกับธนาคารที่นายจ้างกำหนดไว้ ทำให้ลูกจ้างไม่มีโอกาสที่จะเลือกเปิดบัญชีกับธนาคารได้เอง จากการสำรวจพบว่า ธนาคารต่างๆ ยังไม่มีการพัฒนาบัญชีเหล่านั้นให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดมากนัก ลูกจ้างใช้ประโยชน์เพียงแค่การรับเงินเดือน ถอน และโอนสำหรับธุรกรรมต่างๆ เท่านั้น แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วจะพบว่า ในแต่ละเดือนมีการทำธุรกรรมจำนวนมากผ่านบัญชีเหล่านี้ บางส่วนสามารถสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารได้เป็นอย่างดี จากขนาดตลาดที่ใหญ่มากพอและการมองเห็นช่องว่างตลาดดังกล่าว ทำให้ทีเอ็มบีเลือกที่จะใช้บัญชีเงินเดือนรูปแบบใหม่ชื่อว่า “TMB 3D Salary” เป็นผลิตภัณฑ์อีกตัวนอกเหนือจากบัญชีเงินฝากประจำเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการเพิ่มฐานลูกค้ารายย่อย
TMB 3D Salary เป็นการเปลี่ยนวิธีคิดจากการทำตลาดเฉพาะในฝั่งลูกค้าองค์กร มาสู่ฝั่งลูกค้ารายย่อย ด้วยการสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของมนุษย์เงินเดือน ผ่านบัญชีเงินฝาก 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.TMB Saving Care Account ให้วงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุสูงถึง 20 เท่า หรือสูงสุด 1 ล้านบาท โดยไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน เพียงมีเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่า 5,000 บาท 2.TMB No Worry Saving Account ให้วงเงินฉุกเฉินพร้อมใช้สูงสุด 50% ของเงินเดือน หรือสูงสุด 30,000 บาท 3.TMB No Fee Saving Account ฟรีค่าธรรมเนียมเมื่อทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบสามารถใช้ร่วมกับบริการ SMS Alert แจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ฟรี รวมถึงสามารถถอนเงินด้วยบัตรเดบิต TMB No Limit Next ผ่านเครื่องเอทีเอ็มทุกธนาคาร ทุกจังหวัด โดยไม่มีค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ผู้ถือบัญชียังได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษในการใช้บริการอื่นๆ ของธนาคาร เช่น สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน เป็นต้น
สำหรับบัญชี TMB No Worry Account ถือเป็นครั้งแรกในตลาดที่ธนาคารมีการให้วงเงินโอดีแก่ผู้ถือบัญชีเงินเดือน โดยจากการศึกษาพฤติกรรมตลาดพบว่า จะมีคนกลุ่มใหญ่ที่มีปัญหาเงินขาดมือในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นเดือนที่จะเป็นช่วงเงินเดือนออก ดังนั้นธนาคารจึงมีการให้วงเงินโอดีสำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน สามารถกดเงินผ่านตู้เอทีเอ็มได้ทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย 0.7% ต่อวัน สามารถชำระคืนได้ก่อนเวลา หรือหักจากเงินในบัญชีที่จะเข้ามาในเดือนถัดไป เป็นการคิดดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อบุคคลทั่วไป
อย่างไรก็ตามการจะเปลี่ยนตลาดทันทีไม่ใช่เรื่องง่าย กาญจนา โรจวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้เสนอกับบริษัทให้พนักงานทั้งองค์กรเปลี่ยนมาใช้ทีเอ็มบีทั้งหมด แต่จะเสนอตัวเข้าไปเป็นตัวเลือกหนึ่งของพนักงาน ซึ่งในระยะหลังองค์กรหลายองค์กรเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเลือกธนาคารได้เองแล้ว ปัจจุบันทีเอ็มบีมีลูกค้าบัญชีเงินเดือนรวม 8 แสนราย เป็นลูกค้าใหม่เดือนละ 20,000 ราย สัดส่วนบัญชีออมทรัพย์ 45% ของพอร์ต มีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดบัญชีเงินเดือน 5% ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนบัญชีเงินเดือนในปีหน้าอีก 30-40% และจะขยับมาร์เก็ตแชร์เป็น 10% ภายใน 5 ปี
|
|
|
|
|