Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์16 ธันวาคม 2553
สงคราม “หม้อแดง” เดือด!             
 


   
search resources

เอ็มเค เรสโตรองต์, บจก.
Restaurant
นีโอสุกี้ ไทยเรสเทอรองส์, บจก.
ฮอท พอท, บจก.




ความสนุกแบบล้นหม้อสุกี้เริ่มขึ้นอีกครั้ง “เอ็มเค” ยึดโมเดล Organic Growth เปิดประตูบุกต่างประเทศ นำร่องญี่ปุ่น-เวียดนาม ตั้งเป้า 5 ปี ก้าวสู่ “รีจินัลแบรนด์” เต็มตัว ด้วยสาขากว่า 500 แห่ง ใน 6-7 ประเทศ ส่วนตลาดเมืองไทยพุ่งสู่โซเชียล เน็ตเวิร์ก สร้างวัฒนธรรมการกินเสริมแกร่งแบรนด์ เตรียมเสนอบริการรูปแบบใหม่นำไอแพดวางประจำโต๊ะให้ลูกค้าสั่งอาหารได้เอง ล่าสุดปล่อยแคมเปญ “สุ(ข)กี้ ความสุขความอร่อยไม่มีที่สิ้นสุด” ดึงกำลังซื้อช่วงปีใหม่ ด้านแบรนด์รอง “ฮอท พอท” ทุ่ม 50 ล้านบาท ปรับโพซิชันนิ่งขยายตลาดสุกี้ชาบู สู่ “ฮอท พอท บุฟเฟ่ต์ แวลู” ย่อยเซกเมนต์พร้อมชูเมนูอาหารกว่า 100 รายการ ดักลูกค้าวัยรุ่น-บุกตลาดภูธร ฝั่ง “นีโอ สุกี้” ปิ๊งไอเดียผุดบริการ “แคเทอริ่ง” เสริมรายได้ พร้อมรุกแฟรนไชส์ต่างประเทศ

แม้วันนี้แชมป์ในตลาดสุกี้จะยังไม่มีการเปลี่ยนมือ โดย “เอ็มเค” คงตำแหน่งผู้นำด้วยส่วนแบ่งกว่า 80% จากตลาดมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงถึงสูงมาก เรียกว่าโอกาสการโค่นตำแหน่งแชมป์แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่แช่แค่ส่วนแบ่งตลาดที่ “เอ็มเค” ถือครองอยู่เท่านั้น ทว่า จำนวนสาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 แห่ง เมื่อเทียบกับสาขาของ “ฮอท พอท” ที่มีอยู่ประมาณ 80 แห่ง หรือ “นีโอ สุกี้” ที่ตอนนี้เหลือเพียง 2 แห่ง หลังจากสาขาเซ็นเตอร์วันโดนเผาไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็เป็นอีกหนึ่งความชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของผู้นำรายนี้

ทว่า ณ เวลานี้ การแข่งขันในสมรภูมิดังกล่าวกลับทวีความร้อนแรงสูงขึ้น สูงขึ้น เพราะนอกจากแชมป์เอ็มเคต้องทุ่มสรรพกำลังเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อบุกตลาดต่างประเทศและก้าวขึ้นเป็น “รีจินัลแบรนด์” ให้ได้ภายใน 5 ปีแล้ว ด้านแบรนด์รองทั้ง “ฮอท พอท” “นีโอ สุกี้” ก็ออกมาวาดลวดลายใส่กันแบบไม่ยั้งเช่นกัน ถึงจะไม่ใช่เป้าหมายเพื่อการโค่นแชมป์ แต่ก็เพื่อรักษาและขยายพื้นที่ของตนเองให้มากขึ้น

แชมป์ “เอ็มเค”
ก้าวสู่รีจินัลแบรนด์

“เอ็มเค” แบรนด์ไทยที่อยู่ในตลาดสุกี้มากว่า 25 ปี แม้จะอยู่ในฐานะแชมป์ที่มีส่วนแบ่งทิ้งห่างคู่แข่งแบบหลายช่วงตัวก็ตาม แต่วันนี้เอ็มเคก็ไม่ได้หยุดนิ่งในการทำตลาด ในทางกลับกันเรายังจะได้เห็นการเปิดเกมรุกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ไม่ใช่แค่เพื่อเสริมแกร่งความเป็นแชมป์สุกี้ในบ้านเราเท่านั้น แต่เพื่อบุกสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่การเป็น “รีจินัลแบรนด์” ให้ได้ใน 5 ปีนับจากนี้

“ก้าวต่อไปของเอ็มเค คือ การเป็นรีจินัลแบรนด์ ซึ่งเราตั้งเป้าทำให้ได้ภายใน 5 ปีนับจากนี้ แต่ถ้าจะพูดให้ได้เต็มปากกับการเป็นแบรนด์ระดับภูมิภาคก็คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี และต้องมีสาขาไม่น้อยกว่า 500 แห่ง ใน 6-7 ประเทศ รวมทั้งรายได้จากต่างประเทศต้องมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 25%” เป็นคำกล่าวของ ฤทธิ์ ธีระโกเมน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเคเรสโตรองต์ จำกัด

เข้าสู่กระบวนการติดปีกโกอินเตอร์ของแบรนด์เอ็มเค กรรมการผู้จัดการค่ายเอ็มเคเรสโตรองต์ บอกว่า เอ็มเคต้องการเติบโตแบบยั่งยืน ซึ่งการโตแบบธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า Organic Growth คือ โมเดลที่เรายึดมาโดยตลอด ซึ่งการจะผลักดันแบรนด์เอ็มเคสุกี้ให้ก้าวไปเป็นรีจินัลแบรนด์นั้น หากประเมินกันด้วยจำนวนสาขา แน่นอนว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 500 แห่งทั่วภูมิภาคนี้ ทว่า เพื่อให้เป็นการเติบโตแบบยั่งยืนและคงคอนเซ็ปต์การขยายตัวของแบรนด์ ในช่วงแรกเอ็มเคจึงเลือกเข็นแบรนด์ออกไปเพียง 2 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น และเวียดนาม แม้ว่าจะมีศักยภาพมากกว่านั้นก็ตาม

สำหรับการเลือกพื้นที่บุกของเอ็มเคในสเตปแรก “ญี่ปุ่น” คือ ประเทศแรกที่แบรนด์ไทยรายนี้สนใจเข้าไปปักธง ซึ่งมีการกระจายสาขาไปแล้วกว่า 20 แห่ง เช่น ย่านกินซ่า ชิบูย่า ทั้งนี้ ฤทธิ์ บอกว่า เป็นเพราะได้มีการเจรจากับกลุ่มบริษัท เพิลนัส ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักที่มีแนวคิดในการบุกอาเซียนร่วมกัน โดยเป็นกลุ่มที่ร่วมทุนกับบริษัทมานานกว่า 15 ปีแล้ว และทางเอ็มเคก็ได้ร่วมทุนนำเอาแบรนด์ยาโยอิของบริษัทนี้มาเปิดบริการในไทยด้วย ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการ 52 สาขา ส่วน “โฮจิมินห์” ประเทศเวียดนาม” คือ แห่งที่ 2 ที่เอ็มเคเริ่มเข้าไปทดลองตลาดเมื่อราว 6 เดือนก่อน ในลักษณะแฟรนไชส์ โดยมีรูปแบบการทำตลาดและการให้บริการเหมือนสาขาในเมืองไทย รวมทั้งการมี MK DANCE ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเอ็มเคไปแล้วด้วย

ขณะที่ประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง แชมป์รายนี้มองว่าการเข้าไปขยายตลาดจะเน้นไปรูปแบบแฟรนไชส์เป็นหลัก แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาและความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ที่อาจเข้าในลักษณะการร่วมลงทุน โดยใน 5 ปีนับจากนี้ก็จะเริ่มเห็นภาพการเติบโตของเอ็มเคในต่างประเทศที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะแต่ละประเทศมีรสชาติการกินที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าอย่างไร สิ่งที่เป็นจุดขายและเป็นจุดแข็งในการบุกครั้งนี้ คงหนีไม่พ้น “บริการ+อาหาร” อย่างแน่นอน

แม้ก้าวต่อจากนี้เอ็มเคจะเปิดประตูสู่รีจินัลแบรนด์ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่แผนการตลาดในปี 2554 แม่ทัพใหญ่ของเอ็มเค ประกาศชัดเจนว่า เมืองไทยก็ยังเป็นสมรภูมิที่ยังให้ความสำคัญเช่นเดิม โดยจะเน้นการขยายสาขาให้ครบ 500 แห่งภายใน 5-7 ปีนี้ จากตอนนี้ที่มีอยู่ 300 แห่ง ซึ่งปีหน้าเตรียมขยายเพิ่ม 22 จุด ไม่แค่นั้น เพื่อเข้าถึงและตอบไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้ดียิ่งขึ้น “โซเชียล เน็ตเวิร์ก” คือ เครื่องมือที่แชมป์รายนี้เลือกมาใช้แบบเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเฟซบุ๊ก www.facebook.com/mkrestaurants สะท้อนความทันสมัยของแบรนด์ หรือการเตรียมนำไอแพดเข้ามาให้บริการในบางสาขาเพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้ด้วยตนเอง ซึ่งได้นำร่องในสาขาญี่ปุ่นไปแล้ว

ไม่แค่นั้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เอ็มเคยังส่งท้ายปีด้วยแคมเปญ “สุ(ข)กี้” ความสุข ความอร่อย ไม่มีที่สิ้นสุด เปิดให้ลูกค้าเข้ามีส่วนร่วมด้วยการส่งเคล็ดลับว่า สุ(ข)กี้ของคุณเป็นแบบไหนผ่านทางเฟซบุ๊ก เพื่อแชร์สูตรการกินสุกี้

“เราเชื่อว่าแคมเปญนี้จะทำให้เอ็มเคเป็นสนามให้คนมาแชร์ไอเดียกัน ซึ่งจะทำให้แบรนด์เอ็มเคมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น”

และนี่คือมุมการรุกทั้งในและนอกบ้านของแชมป์สุกี้ ที่ครั้งนี้แม่ทัพมั่นใจว่าในสิ้นปีนี้จะปิดยอดขายได้ที่ 9,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ทำรายได้กว่า 8,000 ล้านบาท

เบอร์รองปรับโพซิชันนิ่ง
Add Value ชิงส่วนแบ่ง

แม้โอกาสการโค่นแชมป์จะดูริบหรี่ แต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิการเดือดในหม้อสุกี้ของบรรดาแบรนด์รองทั้งหลาย เพราะถึงเป้าหมายจะเปลี่ยนไป แต่การรักษาพื้นที่ยืนของตนเองรวมทั้งการขยายไปสู่พื้นที่ของคู่แข่งยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะ “ฮอท พอท” รองแชมป์ที่ครองส่วนแบ่งอยู่ 10% คือ ผู้เล่นที่มีการขยับชัดเจนและพูดได้ว่าดุดันมากในระยะนี้ เริ่มตั้งแต่การปรับโพซิชันนิ่งของตนเอง ด้วยการเปลี่ยนภาพลักษณ์ทั้ง 80 สาขา จาก “ฮอท พอท สุกี้ ชาบู” ที่เป็นร้านสุกี้ธรรมดา มาเป็น “ฮอท พอท บุฟเฟ่ต์ แวลู” “เพรสทีจ บาย ฮอท พอท” และ “ฮอท พอท ราเมน บุฟเฟ่ต์” ร้านสุกี้แบบบุฟเฟต์ที่มีเมนูอาหารนานาชาติให้เลือกกว่า 100 เมนู ซึ่งเป็นการแยกย่อยเซกเมนต์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มในราคาที่เหมาะสม ทั้งกลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน และกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่สูงมาก ซึ่งถือเป็นจุดขายใหม่ที่ผู้เล่นรายนี้นำมาใช้ดึงดูดลูกค้า

ขณะเดียวกันก็เป็นจุดเปลี่ยนทางธุรกิจครั้งสำคัญของ ฮอท พอท ในการยกระดับองค์กร การสร้างแบรนด์ และเพื่อให้บริษัทมีเพอร์ฟอร์แมนซ์ที่ดีก่อนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะดำเนินการได้ในปีหน้า ซึ่งการเปิดเกมรุกในรูปแบบนี้ทางฮอท พอท ได้วางเป้าการเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 30% จากรายได้ในปี 2552 ที่ 880 ล้านบาท เป็น 1,000 ล้านบาทในปีนี้ จากสาขาที่มีอยู่ในปัจจุบัน 80 สาขา

ด้าน “นีโอ สุกี้” แบรนด์ที่เหลือเพียง 2 สาขา คือ สาขาพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน และทาวน์อินทาวน์ หลังจากสาขาที่ทำรายได้หลักคิดเป็นสัดส่วน 40% อย่างเซ็นเตอร์วันได้รับความเสียหายจากสถานการณ์การเมืองเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผู้เล่นรายนี้ก็แก้เกมด้วยการผุดบริการรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ เช่น งานแต่งงาน งานปาร์ตี้ งานสัมมนา ทดแทนรายได้ที่หายไป โดยการเพิ่มบริการรับจัดเลี้ยงครั้งนี้ ทางผู้บริหารของนีโอ สุกี้คาดว่าจะช่วยสร้างรายได้และทำให้บริษัทมีรายได้ 30 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากธุรกิจร้านอาหาร 20 ล้านบาท และน้ำจิ้มสุกี้ 10 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดขายสำคัญที่เรียกว่าเป็นจุดแข็งของแบรนด์นี้เลยก็ว่าได้

ส่วนการทำตลาดในต่างประเทศ แบรนด์นี้ก็ถือว่าไม่น้อยหน้า เพราะหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้เล่นรายนี้ก็มีแผนทำตลาดในอาเซียนมากขึ้น หลังจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (อาฟตา) ระหว่างกัน และจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะเน้นต่อยอดธุรกิจที่ได้เข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันมีสาขาแฟรนไชส์ใน 3 ประเทศหลัก คือ อินโดนีเซีย 1 แห่ง กัมพูชา 1 แห่ง และเวียดนาม 2 แห่ง โดยมีแผนจะเพิ่มสาขาอีกไม่ต่ำกว่า 3 แห่งในประเทศเหล่านี้ด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us