|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อลูกค้ามี"ตัวเลือก"มากขึ้น สินค้า"ไม่แตกต่างกัน" ผลที่ตามมาคือ ความภักดีต่อแบรนด์สินค้ามีลดน้อยลง จึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ให้เจ้าของสินค้า นักการตลาดต่างมุ่งค้นหาคำตอบ เพื่อเข้าไปเป็นแบรนด์ในใจและรักษาลูกค้าไว้อย่างยาวนาน
อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้บริโภคในปัจจุบันมีความภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์ต่างๆลดลง อาจเนื่องมากจากการที่ผู้บริโภคมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นและผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ไม่ได้มีข้อแตกต่างกันมาก
มือถือ ประกันชีวิต
แบรนด์รอยัลตี้สูง
ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของเหตุผลในการเลือกซื้อหรือในแง่ของประโยชน์ใช้สอย ตัวอย่างเช่น สบู่แบบไหนที่จะชำระล้างและทำความสะอาดได้มีประสิทธิภาพกว่า ซึ่งเหตุผลเหล่านี้อาจเป็นเพราะผู้บริโภคปัจจุบันไม่ได้เชื่ออะไรง่ายๆอีกต่อไปแล้วโดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีการศึกษาและในกลุ่มที่มีอายุน้อย
จากการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล 3D ของมายด์แชร์ เครือข่ายการตลาดและการสื่อสาร เอเยนซี่ มายด์แชร์ โดย ปัทมวรรณ สถาพร ได้นำเสนอผ่านบทความ "สงครามชิงรัก" พบว่ากลุ่มผู้หญิงในเมืองอายุระหว่าง 20- 39 ปีและมีรายได้ประมาณเดือนละ 20,000 บาทขึ้นไป โดยเฉลี่ยมีเพียงประมาณ 1 ใน 4 คนที่ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์เพียงแบรนด์เดียว โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทดูแลผิว (25%) ยาระงับกลิ่นกาย (27%) ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (20 %) ยาสีฟัน (38 %)
ส่วนกลุ่มที่มีความภักดีต่อตราสินค้าสูงขึ้นมาอีกหน่อยคือสินค้าในกลุ่ม มือถือ (37%) ประกันชีวิต (42%) และกลุ่มที่มีความภักดีต่อตราสินค้าต่ำที่สุดคือสินค้าในกลุ่ม น้ำดื่ม (2%) น้ำมัน ( 2%) ทั้งนี้แนวโน้มตัวเลขความภัคดีต่อตราสินค้านั้นลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับในปี พ.ศ. 2551
ตัวอย่างที่นับเป็นการยืนยันสถานการณ์นี้พบได้จากรายงานของ Trend watching หนึ่งในเทรนด์ที่จะเป็นแนวโน้มหลักในปีหน้าคือ EXPECTATION ECONOMYกล่าวคือ “ผู้บริโภคในปัจจุบันล้วนเป็นผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ ได้รับข่าวสารอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่มีความคาดหวังอย่างสูงต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่สินค้าต่างๆหยิบยื่นให้
“ ความคาดหวังเหล่านี้จะมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ผู้บริโภคฝึกฝนตนเองในการบริโภคสินค้าเหล่านั้นอย่างเต็มที่ สไตล์ใหม่ๆที่จะออกมา และ ที่มาหรือข้อมูลต่างๆที่พร้อมที่จะให้บริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลและมีความคาดหวังไม่เพียงเรื่องคุณภาพสินค้าแต่คือการเฟ้นหา สินค้าที่ดีเป็นที่สุดของที่สุดที่เดียว”
ไม่น่าแปลกใจถ้าหากกิจกรรมการตลาดที่เราจะจัดขึ้นจะต้องคำนึงถึงและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค
เลิกเป็นผู้บุกรุก ปรับเป็นเพื่อนที่ดี
ทั้งนี้ด้วยข้อมูลที่มากมายที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาได้ในปัจจุบัน แบรนด์จะต้องทำการบ้านหนักขึ้น การสร้างการรับรู้และกระตุ้นความสนใจอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะชักจูงผู้บริโภคให้เลือกซื้อสินค้าอีกต่อไป กลุ่มผู้บริโภคปัจจุบันมองหาประสบการณ์ที่ จับต้องได้ เข้าใจได้ และรู้สึกได้
ดังนั้นการสื่อสารของเราก็ต้องปรับตัวเช่นกัน โดยต้องเลิกเป็น “ผู้บุกรุกพื้นที่” ผ่านสื่อปรกติ แต่ปรับตัวให้ “เป็นเพื่อนที่ดี หรือ เป็นผู้อยู่ในฝั่งเดียวกันกับผู้บริโภค” และกลมกลืนอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้
ทั้งนี้ตราสินค้าที่จะได้เปรียบคือตราสินค้าที่สามารถปรับตัว หยุดเป็นฝ่ายตั้งรับ โดยมอบการผจญภัย และความน่าตื่นเต้น รวมถึงให้โอกาสเรื่องของการพัฒนาตนเอง หรือสร้างโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและสังคม
|
|
|
|
|