Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์15 ธันวาคม 2553
วัฒนธรรมการโค้ชงาน…สร้างขึ้น (จริงๆ) ได้อย่างไร             
 


   
search resources

Innovation




การโค้ชงานแบบสมัยใหม่เป็นเครื่องมือพัฒนาบุคลากรที่ถูกกล่าวขานและนำมาใช้เป็นอันดับสูงสุดตัวหนึ่งโดยหลายองค์กรที่ต้องการให้พนักงานของตนปลดปล่อย “ศักยภาพ” ที่มีอยู่อีกมากมายมาเป็น “ผลการปฏิบัติงาน” อันเป็นเลิศได้

ความท้าทายประการแรกของเครื่องมือตัวนี้อยู่ที่ “ความหมาย” ของการโค้ชงานที่ไม่ใช่แค่การสอนหรือการแนะนำงาน แต่เป็นการที่โค้ชสามารถใช้กระบวนการโค้ชงานให้ผู้รับการโค้ชสามารถ “ค้นหาทางออกได้ด้วยตนเอง”

ความท้าทายประการที่สอง คือการสร้าง “วัฒนธรรมการโค้ชงาน” ซึ่งก็คงคล้ายกับการสร้างวัฒนธรรมประเภทอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้คน “ยอมรับ” ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เขาต้องใช้ปฏิบัติเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในองค์กรนั้นๆ ลองมาดูตัวอย่างการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชงานดังต่อไปนี้

• กำหนดให้ระบบการโค้ชงานเป็นนโยบายขององค์กรโดยที่ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้เชื่อมั่นในการนำเอาเทคนิคการพัฒนาบุคลากรประเภทนี้เข้ามาอยู่ในแผนกลยุทธ์ขององค์กร ผู้นำต้องเป็นต้นแบบในการโค้ชงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของตน ผู้นำที่เป็นโค้ชย่อมเป็นผู้นำที่มีลักษณะนำเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากการเป็น “หัวหน้าของลูกน้อง” มาเป็น “โค้ชสำหรับลูกน้อง”

• การจัดระบบองค์กรมีการกำหนดให้เป็นรูปธรรมชัดเจนโดยการกำหนดเป็นนโยบายการโค้ชงาน จัดทำคู่มือการโค้ชงาน สร้างมาตรฐานการโค้ชงาน สำหรับที่ใช้อ้างอิงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการจัดการต้องสอดคล้องไปในแนวเดียวกันกับเป้าหมายหลักทางธุรกิจขององค์กร

• สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศขององค์กรให้มี “ความไว้วางใจ” กันโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาในฐานะโค้ชและผู้รับการโค้ช ความไว้วางใจกันนี้ควรเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมองค์กรและคุณสมบัติของผู้นำองค์กร หัวหน้างานควรมีความเชื่อมั่นและมอบหมายให้พนักงานของตนเป็นเจ้าของงานและความรับผิดชอบหน้าที่ของตน

• พัฒนาหัวหน้างานให้เป็นโค้ชเริ่มต้นด้วยการกำหนดในใบบรรยายลักษณะงานของระดับหัวหน้างานขึ้นไปในเรื่องการ
ทำหน้าที่เป็นโค้ช กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบของการเป็นโค้ชตามที่องค์กรคาดหวัง กำหนดเรื่องการโค้ชงานเป็นหนึ่งในเป้าหมายประจำปีของระดับหัวหน้างานขึ้นไปโดยใช้เป็นดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงาน

• การออกแบบโครงการพัฒนาผู้นำขององค์กรต้องเน้นทั้งด้านการเรียนรู้ทางสติปัญญาและการเรียนรู้ทางด้านทางอารมณ์

• เชื่อมโยงผลการทำการโค้ชงานสู่ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานและระบบค่าตอบแทน หัวหน้างานที่เป็นโค้ชที่ดี
ควรได้รับผลตอบแทนเช่นการปรับเงินเดือน โบนัส ฯลฯและการยอมรับจากองค์กร และในทางตรงกันข้ามหัวหน้างานที่เป็นโค้ชที่ไม่มีประสิทธิภาพก็ควรที่จะได้รับการพูดคุยเพื่อปรับปรุงอย่างเอาจริงเอาจัง

• กำหนดและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นวัฒนธรรมของการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งเรียนรู้โดยการลงมือทำ เรียนรู้โดยการถ่ายทอด และ เรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน เพื่อจะได้เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้มากับประสบการณ์ชีวิตส่วนตัว นำมาถ่ายทอด เพื่อโค้ชให้เรามีการติดต่อสื่อสารที่ดี การโค้ชงานในองค์กรจะต้องมีตำแหน่งอยู่ในหลายๆทิศทาง ตั้งแต่บนลงล่างหรือล่างขึ้นบน หรือจากซ้ายไปขวา กับผู้มีส่วนได้เสียในทุกๆ กลุ่มที่จะสร้างเครือข่ายการโค้ชงานให้ทั่วทั้งองค์กร ในที่นี้การสื่อสารให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในการโค้ชงานย่อมเป็นสิ่งสำคัญ

• ส่งเสริมให้การโค้ชงานเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ เช่น จัดให้มีการพบปะกันระหว่างชุมชนนักปฏิบัติเกี่ยวกับการโค้ชงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเห็น มุมมอง ความท้าทายในการเป็นโค้ชทุกๆ ไตรมาส

• ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลจะต้องมีการบูรณาการเชิงกลยุทธ์เพื่อที่จะเชื่อมโยงการดึงดูดและธำรงรักษาดาวเด่นขององค์กร การปฐมนิเทศพนักงาน การพัฒนาบุคลากร การประเมินการปฏิบัติงาน การเลื่อนขั้น โครงการการยอมรับและให้รางวัลเข้ากับระบบการโค้ชงาน

สิ่งที่ท้าทายประการที่สาม คือ การทำให้วัฒนธรรมการโค้ชงานที่ถูกริเริ่มถูกขึ้นมาด้วยความยากลำบากเกิดการปฏิบัติที่ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอเป็นไปตามธรรมชาติ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us