Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
ผู้บริหารต่างชาติคนแรกของ กสิกรไทย             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
วิลเลียม จอห์น ฟอนตานา
Banking and Finance




ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญกำลังเกิดขึ้นที่ธนาคารกสิกรไทย ภายใต้การบริหารงานของบัณฑูร ล่ำซำ ในการนำบุคลากรระดับผู้บริหารจากต่างประเทศเข้ามาร่วมงาน เป็นการปฏิวัติเชิงโครงสร้างแม้จะไม่กระทบกระเทือนอะไรมากมาย แต่ถือได้ว่านี่เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งในอนาคตอาจจะเห็นผู้บริหารต่างชาติเดินกันเต็มตึกบัญชาการแบงก์รวงข้าว บนถนนราษฎร์บูรณะ

ผู้บริหารต่างชาติคนแรกที่ได้รับความไว้วางใจจากบัณฑูรให้เข้ามาทำงานร่วมกับผู้บริหารคนไทยอื่นๆ ได้แก่ วิลเลียม จอห์น ฟอนตานา โดยเข้ามารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานด้านทรัพยากรบุคคล

ที่ผ่านมา สายงานดังกล่าวว่างลงมาเกือบ 2 ปี แต่บัณฑูรได้ให้อภิชัย บุญยเกียรติ รองกรรมการผู้จัดการดูแลไปชั่วคราวก่อนจะหาบุคคลที่เหมาะสมได้ และก็มาลงเอยที่ฟอนตานา

ภารกิจของฟอนตานา คือ การเข้ามาพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกสิกรไทยทั้งหมด เพื่อยกระดับศักยภาพการทำงานให้กับพนักงานเพื่อทัดเทียมกับคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นงานที่หินพอสมควร โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทย

อย่างไรก็ตาม หากได้ชื่อว่าเป็นคนที่ถูกคัดสรรและเป็นที่ยอมรับของคนกสิกรไทยแล้ว โดยเฉพาะการที่บัณฑูรยอมลงมาสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ฟอนตานาจึงไม่ใช่คนหน้าใหม่แห่งวงการทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ปัจจุบัน ฟอนตานาอายุ 55 ปี สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยซิตี้ สหรัฐอเมริกา ผ่านประสบการณ์กับองค์กรระดับโลก อาทิ ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคลจากบริษัทแคนนอน ในอเมริกา,ซิตี้คอร์ป จากนิวยอร์ก และ National Foreign Trade Council จากนิวยอร์ก แต่เขามีปัญหาอยู่อย่างเดียว คือ ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์การทำงานในประเทศไทย นี่คือ โจทย์ที่ฟอนตานาต้องตอบให้กับคนของธนาคารกสิกรไทย

แม้ว่า ฟอนตานาจะเป็นฝรั่งคนแรกที่เข้ามาทำงานแบบเต็มเวลา แต่ที่ผ่านมาหากมองเข้าไปบนสำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกรไทย พบว่าบรรดาที่ปรึกษาล้วนแล้วแต่เป็นคนต่างชาติทั้งนั้น เช่น โรนัล สไตร๊ค์ ที่มาจากบริษัทที่ปรึกษาบูซ อัลเลน แอนด์ ฮามิลตัน อีกทั้งยังเป็นธนาคารท้องถิ่นแรกๆ แห่งหนึ่งที่ยังไม่ได้ถูกต่างชาติครอบงำที่มีคนต่างชาติเข้ามานั่งในคณะกรรมการถึง 2 คน คือ ชาร์ล โคลแมน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงและตลาดเงิน ปัจจุบันเขาเป็นรองประธาน First Union Corporation

กรรมการอีกคน คือ วิลเลียม อีวานส์ ในอดีตเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงโกลด์แมน แซคส์ ดูแลงานด้านวาณิชธนกิจ ปัจจุบันเป็น Entrepreneur in Residence Benchmark Capital, Menlo Park ในแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ บัณฑูรกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนต่างประเทศในแต่ละด้าน เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับตนเอง และผู้บริหารที่จะเดินเข้ามาต่อจากฟอนตานา จะเข้ามาดูแลสายงานด้านการตลาด

การนำผู้บริหารต่างชาติเข้ามา ดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ลึกๆ แล้วปัจจุบันการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์กำลังเข้มข้น โดยเฉพาะกับธนาคารลูกครึ่งอย่างธนาคารเอเชีย สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน และดีบีเอสไทยทนุ ที่มีความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการตลาด ดังนั้นธนาคารท้องถิ่นที่ยังไม่ปรับตัวอาจจะถูกคู่แข่งทิ้งห่าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us