Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2533
ไอทีเอฟ             
 


   
search resources

ไอทีเอฟ, บงล
Financing




บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินเตอร์เนชั่นแนลทรัสต์แอนด์ไฟแนนซ์ จำกัด หรือไอทีเอฟ เป็นสถาบันการเงินเก่าแก่อายุยาวนานเกือบ 18 ปี ผู้ก่อตั้งคือ "จ่าง เม่ง เทียน" นักธุรกิจชาวฮ่องกงเจ้าของธนาคารโอเวอร์ซีทรัสต์หรือโอทีบี

แต่จ่าง เม่ง เทียนก็ประสบคราวเคราะห์ โอทีบีประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน จนถูกธนาคารชาติของฮ่องกงเข้ายึดกิจการ ผลครั้งนี้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไอทีเอฟ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเข้าไปกอบกู้สถานะ ส่งคนของทางการเข้าไปบริหารและฟ้องล้มละลาย ธานี บรมรัตนธน ลูกชายจ่าง เม่ง เทียน ซึ่งเป็นผู้บริหารไอทีเอฟในขณะนั้น เป็นจำนวนเงิน 430 ล้าน

ปัจจุบันผู้ถือหุ้นของไอทีเอฟมีสองรายคือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินจำนวน 47.74% และธนาคารโอเวอร์ซีทรัสต์ที่ธนาคารชาติฮ่องกงเข้าไปยึดแล้ว จำนวน 48.97% ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนหลังการเพิ่มทุนล่าสุด 811.45 ล้านบาท

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ สถานะของไอทีเอฟดีขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดี และไอทีเอฟก็มีเก้าอี้โบรกเกอร์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกำลังคึกคักอย่างต่อเนื่อง ทำรายได้ให้แก่ไอทีเอฟไม่น้อย อีกทั้งมีสาขาถึง 6 สาขา และยังมีคอนโดมิเนียมที่ทำไว้แต่ดั้งเดิมขายทำกำไร ล่าสุดยังสร้างตึกไอทีเอฟทาวเวอร์ที่สีลมเข้าไปอีก ล่าสุดผลประกอบการในปี 2532 กำไรสะสม 17 ล้านบาท สินทรัพย์ 3,900 ล้านบาท ไอทีเอฟจึงกลับมาเป็น "สาวเนื้อหอม" อีกครั้งหนึ่ง

ไพศาล กุมาลย์วิสัย เคยกล่าวขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูไม่มีนโยบายที่จะถือหุ้นโดยไม่มีที่สิ้นสุด แต่จะปล่อยหุ้นในรูปใดก็ขึ้นอยู่กับราคาซื้อที่พอใจ

ตุลาคม 2530 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สิโนทัยเจรจาขอร่วมทุน แต่ไม่สำเร็จเพราะตกลงราคาหุ้นไม่ได้

หลังจากนั้นก็มีการเจรจาขอซื้อหุ้นจากสถาบันการเงินเอกชนอีกหลายแห่ง คือ ซีพี ธนาคารเอเชีย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเครดิตลีอองเนส์ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมรายล่าสุดคือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ก็ขอร่วมวงไพบูลย์กับเขาด้วย แต่ทุกรายก็มีอันต้องถอยทัพกลับไปหมด เหตุเพราะตกลงเรื่องราคาหุ้นที่จะซื้อขายกันไม่ได้

กรณีตัวอย่างก็เช่น ซีพีเคยเสนอซื้อในราคาหุ้นละ 9.50 บาท ขณะที่กองทุนต้องการขายในราคา 15 บาท

ด้วยปัจจัยที่ผลประกอบการของไอทีเอฟดีขึ้นและเป็นที่หมายปองของสถาบันการเงินหลายแห่ง ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของไอทีเอฟจึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จน ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2533 ราคาปิดที่ 57.50 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ครั่นคร้ามถอยหนีไปหมดแล้ว

ปัญหาก็คือว่า หากเป็นไปตามนโยบายของทางการที่ว่าไม่ต้องการเข้าไปถือหุ้นในสถาบันการเงินที่เข้าไปฟื้นฟูในระยะยาวและแหล่งข่าวในธนาคารชาติเองก็กล่าวว่า ทางโอทีบีมีเจตจำนงที่จะขายหุ้นในส่วนของตน เพราะปัจจุบันก็ไม่มีเครือข่ายธุรกิจอะไรในไทย ผู้ถือหุ้นในไอทีเอฟก็จะต้องเปลี่ยนมือไปอย่างแน่นอนเพียงแต่ว่าเป็นใคร ด้วยวิธีการใดและเมื่อใดเท่านั้น ที่สำคัญราคาซื้อขายที่กองทุนพอใจควรจะเป็นเท่าไรไม่มีใครรู้

คำถามที่ค้างคากันอยู่คือ ผู้บริหารกองทุนจะตัดสินอย่างไรก็ว่ากันมา แต่ยังไม่มีคำตอบ

ผู้สันทัดกรณีในตลาดหลักทรัพย์กล่าวว่า พีอีของไอทีเอฟจัดว่าสูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินด้วยกันคือประมาณ 78 ราคาหุ้นที่น่าจะตกลงกันได้น่าจะอยู่ราว 25-30 บาทเท่านั้น อีกทั้งสำทับว่าคนที่จะเข้าไปฟื้นฟูต่อจากทางการก็ต้องลงแรงลงเงินอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่ทุกอย่างจะดีไปเสียทั้งหมดตามความเข้าใจของนักลงทุน

แต่ที่ราคาหุ้นของไอทีเอฟขึ้นเอาๆ จนปาเข้าไปเกือบๆ จะ 60 บาทนั้น ผู้สันทัดกรณีท่านเดิมได้ส่ายหัวด้วยความมึนงง!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us