
จนถึงวันนี้ เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือที่เราเรียกย่อๆ ว่า เว็บ นั้นมีอายุมาถึง 20 ปีแล้ว แต่ในวาระ 20 ปีนี้ เว็บกำลังอยู่ในช่วงขาลง โดยมีแนวโน้มว่าคนใช้งานจะเปลี่ยนจากการค้นหาไปสู่การรอรับข้อมูลในรูปของแอพพลิเคชั่น (Application) หรือเรียกสั้นๆ ว่า แอพ (app) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่เรามีเครื่องมือในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหลากหลายมากขึ้น ความจำเป็นในการต้องพึ่งพิงเว็บก็ลดน้อยลงเช่นกัน
ทุกวันนี้ เราตื่นขึ้นในตอนเช้า เช็ก อีเมลผ่าน iPad ซึ่งถือเป็น app อันหนึ่ง ระหว่างรับประทานอาหารเช้า เราก็เข้าไปอัพเดตข้อมูลใน Facebook, Twitter และ The New York Times นี่คือ app อีกสาม อัน ระหว่างเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ เรา ก็ฟังข่าวสารจาก podcast ซึ่งเป็นอีก app หนึ่งผ่านสมาร์ทโฟน ในที่ทำงาน เราติด ตามข่าวสารผ่าน RSS และพูดคุยผ่าน Skype และ MSN ซึ่งล้วนเป็น app ทั้งสิ้น แล้วก่อนจะสิ้นสุดวัน เรากลับบ้าน เตรียมอาหารเย็นขณะที่ฟังวิทยุผ่าน Pandora เล่นเกมผ่าน Xbox Live และดูหนังผ่านบริการภาพยนตร์ออนไลน์ของ Netflix
กล่าวได้ว่า ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตบน อินเทอร์เน็ตแต่ไม่ได้ใช้งานผ่านเว็บอีกแล้ว นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณ คนเดียว แต่มีคนทำแบบนี้กันอีกมากมาย
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่กลายเป็นเรื่อง ธรรมดาสามัญไปแล้ว ช่วงหลายปีที่ผ่าน มา การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ที่สุดอันหนึ่งในโลกดิจิตอล ที่เกิดขึ้นคือ การโยกย้ายจากเว็บ ซึ่งถือเป็นระบบเปิดกว้างไปสู่แพลทฟอร์ม แบบกึ่งปิดที่อาศัยอินเทอร์ เน็ตเป็นช่องทางในการส่งผ่านข้อมูล แต่ไม่ต้องอาศัยบราวเซอร์เปิดหน้าเว็บขึ้นมาอีกแล้ว
เราอาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้ถูกผลักดันครั้งสำคัญผ่านการใช้งาน iPhone ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่กูเกิลไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ นั่นคือ HTML ไม่มีบทบาทใดๆ นี่เป็นโลกที่ผู้บริโภค เป็นผู้เลือกมากขึ้น การเลือกครั้งนี้ไม่ได้เกิด จากการปฏิเสธไอเดียของเว็บ แต่เกิดจากการที่แพลทฟอร์มที่ใช้งานนี้ทำงานได้ดีกว่า หรือทำงานได้สอดคล้องกับวิธีการใช้งานมากกว่า โดยเป็นแพลทฟอร์มที่ข้อมูลจะวิ่งเข้าหาคนใช้งาน โดยพวกเขาไม่ต้องเข้า ไปหาหน้าจออีกต่อไป
กล่าวจนถึงที่สุดแล้ว นี่คือช่องทางที่บริษัทต่างๆ จะสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ ในการทำเงินได้มากที่สุด ซึ่งแนวโน้มนี้เป็น ทิศทางที่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคล้วนตกลงเห็นชอบด้วยกันแล้วว่า เว็บไม่ใช่จุดสูงสุดของการปฏิวัติด้านดิจิตอลอีกต่อไป
เมื่อย้อนไปดูสถิติในรอบสิบปีที่ผ่าน มา การใช้งานบราวเซอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ถือ เป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงของโลก คอมพิวเตอร์ที่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม นี่ดูเหมือนจะเป็นเพียงจังหวะหนึ่งในรอบวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงที่เว็บ เข้ามาแทนที่แอพพลิเคชั่นบนพีซีเป็นการลดบทบาทระบบปฏิบัติการ (Operating System) ลงไป หลังจากนั้นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้ามามีบทบาทของ Java, Flash, Ajax ไปจนถึง HTML5 ทำให้โลกออนไลน์เพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนใช้งานกับแอพพลิเคชั่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ผลพวงของการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยีบนอินเทอร์เน็ตก็นำไปสู่การผลักเอา app ไปไว้ใน Cloud และแทนที่ desktop ด้วย webtop
ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในระบบเปิด, เป็นของฟรี และไม่สามารถควบคุมมันได้
อย่างไรก็ดี เราพบว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีตัวเลือกใหม่ๆ ในอินเทอร์ เน็ตมาให้เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา แม้เราจะเคยมองว่า เว็บเป็นเครื่องมือที่ล้ำค่าแต่เว็บก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของเรา โดยเฉพาะตั้งแต่การถือกำเนิดของเทคโนโลยีแบบ Push ซึ่งในตอนนั้นหลายคนมองว่า ถึงเวลา โบกมือลาเว็บกันได้แล้ว ณ เวลานั้นได้เกิด ข้อถกเถียงใหม่ขึ้นมาว่า แอพพลิเคชั่นที่ใช้ เทคโนโลยี Push ไม่ว่าจะเป็น PointCast หรือ Active Desktop ของไมโครซอฟท์กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการใช้สื่ออื่นนอกเหนือจากเว็บ ซึ่งถือ ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ปัจจุบันถือได้ว่า เทคโนโลยี Push ได้ฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง โดยกลายเป็น API เป็น app และไปอยู่ในรูปของสมาร์ทโฟนยี่ห้อต่างๆ ทุกวันนี้เรายังมีผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ไม่ว่าจะเป็น iPhone หรือ iPad ซึ่งเป็นตัวผลักดันที่สำคัญอยู่เบื้องหลังการเติบโตของเทคโนโลยี Push อย่างสำคัญ โดยปัจจุบันมีคนใช้งาน iPhone หลายสิบล้านคนทั่วโลก
เมื่อมองการใช้งานเว็บแล้ว ก็อาจจะมองว่า เว็บก็เป็นเพียงแอพหนึ่งในบรรดา แอพมากมายที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ใช้โปรโตคอล IP และ TCP ในการส่งผ่านแพ็กเกจไปในที่ต่างๆ ปัจจุบันเนื้อหาต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เราดูผ่านบราวเซอร์นั้น ส่วนใหญ่ข้อมูลที่เป็น HTML จะถูกส่งผ่านโปรโตคอล http ผ่านพอร์ต 80 โดยข้อมูล เหล่านี้คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของข้อมูลที่ส่งกันบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน (ดูกราฟปริมาณการส่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ประกอบ) ที่สำคัญปริมาณการส่งกำลังลดลงเรื่อยๆ โดยจำนวนที่ลดลงนี้ถูกแทนที่ด้วยการใช้งานแอพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพ สำหรับการส่งข้อมูลหรือไฟล์ระหว่างสองจุด ที่เรียกว่า peer-to-peer, อีเมล, VPN, Skype รวมถึงเกมออนไลน์ต่างๆ, Xbox Live, iTunes, IP Phone, iChat และ Netflix
ที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงจากการใช้งานบนเว็บไปสู่แอพที่ให้บริการผ่านช่องทางต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากโครงการของ Morgan Stanley ที่จำนวนผู้ใช้งานเว็บโดยการเชื่อมต่อเข้าระบบผ่านโทรศัพท์มือถือกำลังจะแซงจำนวนผู้ใช้งาน เว็บผ่านเครื่องพีซีภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี แรงกระตุ้นที่สำคัญเกิดจากหน้าจออินเตอร์เฟซที่เล็กและมีอย่างจำกัดของโทรศัพท์มือถือ ทำให้จำเป็นต้องสร้างเป็นแอพเฉพาะขึ้นมา โดยมากจะอยู่ในรูปของแอพที่ออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการใช้งานเฉพาะบนอุปกรณ์นั้นๆ เท่านั้น เรียกได้ว่า ผู้ใช้งานได้มองข้ามบราวเซอร์ที่สามารถเปิดเว็บไซต์ทั่วๆ ไปได้ ไปสู่การใช้แอพพิเศษสำหรับใช้งานเฉพาะ
พวกเขาใช้เน็ต แต่ไม่ใช้เว็บ นั่นคือ ความเร็วสำคัญกว่าความหลากหลาย
เราอาจจะกล่าวได้ว่า นี่คือบทสรุปของทุนนิยม นี่คือวงจรปกติของทุนนิยม การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาสู่การครอบครองทรัพยากรที่มีอยู่ และใช้มันเพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุด เทคโนโลยีใหม่ๆ เมื่อถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจะนำเอาไปใช้อย่าง แพร่หลาย จากนั้นทุกหัวระแหงของโลกจะถูกปกคลุมด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ จากนั้นทุกคนจะพยายามทำอย่างไรก็ได้เพื่อจะควบคุม ความเป็นไปของเทคโนโลยี เพื่อที่จะสามารถครอบครองอุตสาหกรรมนั้นได้ จากนั้นก็จะผลักดันทุกคนให้หลุดออกจากการครอบครองอุตสาหกรรมแล้วจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทน เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ ได้มากที่สุดไปเรื่อยๆ
เหมือนเมื่อครั้งที่เว็บเริ่มแพร่หลาย Netscape พยายามที่จะครอบครองตลาด โฮมเพจ อะเมซอนพยายามผูกขาดการค้าปลีก และ Yahoo! พยายามครอบครองช่องทางเข้าสู่เว็บต่างๆ (Portal) แต่คำตอบ สุดท้ายกลับกลายเป็นกูเกิล ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กูเกิลได้เข้าไปอยู่ในทุกหัวระแหง และควบคุมความเป็นไปของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตเอาไว้
อย่างไรก็ดี กรณีของกูเกิลก็เป็นแค่วัฏจักรช่วงหนึ่งเท่านั้น มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ใครสักคนหนึ่งจะสามารถผูกขาดทุกสิ่งทุกอย่างได้ โดยเฉพาะในตลาดที่ค่อนข้างเสรีและเป็นทุนนิยมจ๋าอย่างอินเทอร์เน็ต
แต่เราอาจจะกล่าวได้ว่า กูเกิลได้ครอบครองอุตสาหกรรมเว็บไว้ได้เกือบสมบูรณ์แบบในชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เมื่อเข้าสุ่ยุคสมัยของเฟซบุ๊ก นี่คือแอพหนึ่งที่สร้างไว้ในระบบปิด มีกฎกติกา มารยาทมากมายในการเข้าใช้งานเฟซบุ๊ก แม้ในช่วงแรกการเข้าใช้งานเฟซบุ๊กก็ยังเป็นรูปร่างหน้าตาแบบเว็บภายใต้อาณาจักร ที่กูเกิลครอบครอง แต่เมื่อเฟซบุ๊กมีการพัฒนาเกมและแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมาย ซึ่งทำให้เป็นปัจจัยหลักๆ ในการดึงดูดสมาชิกให้มีเพิ่มขึ้นอย่างถล่มทลาย เฟซบุ๊ก ก็เหมือนหลุดออกจากอาณาจักรเว็บของกูเกิล และเริ่มสร้างโลกของตัวเองขึ้น โลกที่ไม่ต้องพึ่งพิงเว็บอีกต่อไป
หลังจากเฟซบุ๊ก เราก็น่าจะได้เห็นแอพใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ซึ่งทุกอย่าง ก็เป็นไปตามวัฏจักรของสินค้าหรือวัฏจักรของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
เว็บอาจจะตายแล้ว แต่อินเทอร์เน็ต จงเจริญ!!
อ่านเพิ่มเติม:
1. Anderson, C. and Wolff, M. (2010), 'The Web is Dead. Long Live the Internet,' http://www.wired.com/magazine/2010/08/ff_webrip/all/1
2. Netflix, http://www.netflix.com/
3. Pandora, http://www.pandora.com/
4. Xbox Live, http://www.xbox.com/en-US/live
5. Web Desktop, http://en.wikipedia.org/wiki/Web_desktop
|