|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Agreement) อาเซียนกับจีนได้ลงนามกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (Framework Agreement on ASEAN-China Comprehensive Economic Cooperation) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 เพื่อเป็นกรอบและแนวทางสำหรับการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ
ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้สรุปการเจรจาและลงนามในความตกลงด้านการค้าสินค้า ระหว่างอาเซียน-จีน (Agreement on Trade in Goods of the Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between the ASEAN and China) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
การเปิดเสรีการค้าสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การลดภาษีสินค้าบางส่วน ทันที (Early Harvest Program) และการลดภาษีสินค้าทั่วไป
การลดภาษีสินค้า Early Harvest Program จะครอบคลุมสินค้าเกษตร เช่น เนื้อสัตว์ และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้ ปลา ผลิตภัณฑ์นม ไข่สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ต้นไม้ พืชผักที่บริโภคได้ และผลไม้และลูกนัตที่บริโภคได้)
อาเซียนและจีนรวมทั้งไทยมีกำหนด จะร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะใน 5 สาขา ได้แก่ เกษตรกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลงทุน และการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง และความร่วมมือด้านต่างๆ อาทิ ศุลกากร การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การจัดตั้ง ศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้าและการลงทุน การพัฒนาความตกลงให้มีการยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRA) การดำเนินการตามแผนงานในกรอบความร่วม มืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ศูนย์วิจัยข้อมูลกสิกรไทย เปิดเผยว่าความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอาเซียน-จีนที่เกิดขึ้น จะทำให้การส่งออกของไทยไปจีนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับลดภาษีสินค้า ปกติภายใต้กรอบ FTA อาเซียน-จีน เหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553
นอกจากนี้แรงขับเคลื่อนสำคัญจากเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนจะมีตัวจักรสำคัญมาจากความต้องการภายในจีน เนื่องจากความอ่อนแรงของภาคการบริโภคในตลาดต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ทางการจีนยังคงดำเนินนโยบายการคลังเชิงรุกเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนต่อไปในปี 2553 ซึ่งในระยะยาวคาดว่าความต้องการภายใน ของจีนจะมีน้ำหนักต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนมากขึ้น
ขณะที่ภาคส่งออกต้องเผชิญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่หันไปเน้นการออมมากขึ้น ทำให้แรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออกของจีนต้องอ่อนแรงลงไป เศรษฐกิจจีนที่เน้นการเติบโตของภาคการบริโภคภายในตามการขยายตัวของเขตเมืองและการขยายความเจริญเข้าไปในพื้นที่ชนบทและพื้นที่มณฑลตอนใน ซึ่งถือว่ายังมีศักยภาพการเติบโตอีกมาก จะเป็นฐานการบริโภคที่สำคัญของจีนในระยะต่อไป
ส่วนมณฑลทางชายฝั่งตะวันออกและใต้ที่เป็นฐานการผลิตส่งออกที่มีระดับการพัฒนาสูงตามการเติบโตของภาคส่งออกในช่วงที่ผ่านมาเริ่มถึงจุดอิ่มตัว ระดับรายได้ของประชาชนจีนที่สูงขึ้นจะส่งผลให้พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและความต้องการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยจะเน้น ความสะดวกสบายมากขึ้น และคำนึงถึงรูปแบบของสินค้าที่มีการออกแบบอันทันสมัย รวมถึงเน้นคุณภาพสินค้ามากขึ้น ปัจจัยด้านราคาอาจลดความสำคัญลงไป ทำให้สินค้าที่ตอบสนองรายได้ระดับกลาง-บนน่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น
สินค้าส่งออกของไทยที่ได้อานิสงส์จากการลดภาษีของจีนเป็นร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 และ
การเติบโตของความต้องการภายใน ของจีนในปี 2553 และในระยะยาว ได้แก่ สินค้าอาหาร/เครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ (องุ่น) ผลไม้กระป๋อง (เชอร์รี่ พีช) ไวน์ ไอศกรีม ของใช้ เช่น กระเป๋า เครื่องหนัง เสื้อผ้า สิ่งทอ อัญมณี/เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอางและน้ำหอม
ส่วนธุรกิจภาคบริการของไทยที่มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนในจีนได้สะดวก มากขึ้นจากการเปิดตลาด
ภาคบริการในรอบที่ 2 ที่ครอบคลุม กิจกรรมสาขาบริการที่กว้างขึ้น และโอกาส ของธุรกิจบริการไทยในจีนที่น่าจะมีศักยภาพ ได้แก่ โรงแรม ธุรกิจสปา/นวดแผนไทย ร้านอาหาร โรงพยาบาล คลินิกเฉพาะทาง ศูนย์ Day Care และการศึกษาด้านวิชาชีพ
ขณะเดียวกันแนวโน้มธุรกิจที่จีนจะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นในภาคบริการ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ภาคธนาคาร โรงแรม ศูนย์บริการด้านสุขภาพ ธุรกิจสปา
ส่วนภาคการผลิต ได้แก่ เกษตรแปรรูป/อาหาร เครื่องดื่ม ยานยนต์ พลังงานทางเลือก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ยาง
อย่างไรก็ตาม ไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขัน กับประเทศอาเซียนอื่นๆ ในตลาดจีนซึ่งประเทศอาเซียนอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีภาคการค้าสินค้าและบริการภายใต้ FTA อาเซียน-จีน เช่นเดียวกับไทย รวมทั้งการเผชิญกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในประเทศจากการที่ไทยต้องเปิดตลาดสินค้าและภาคบริการให้จีนภายใต้ความตกลง FTA เช่นกัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า อัญมณี/เครื่องประดับ
นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งออกสินค้าของไทยไปจีนจะได้อานิสงส์จากการปรับลดภาษีเป็นร้อยละ 0 การลดเงื่อนไขการเข้าไปจัดตั้งธุรกิจภาคบริการหลายสาขาในจีน แต่ผู้ประกอบการไทยยังอาจต้องเผชิญอุปสรรคหลายด้าน เช่น ด้านการส่งออก ผู้ส่งออกอาจต้องถูกเรียกเก็บภาษีท้องถิ่น ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในจีนถือว่าค่อนข้างสูง รวมทั้งมาตรการทางการค้า ของจีนที่กำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าที่เข้มงวด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอาหาร ส่วนธุรกิจบริการอาจต้องประสบกับกฎระเบียบภายในของจีนที่เข้มงวดเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการและมาตรฐานแรงงาน
|
|
 |
|
|