Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553
นครด่าหลาต             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International
Vietnam




ด่าหลาต เป็นนครขึ้นตรงจังหวัดและเป็นเมืองเอกจังหวัดเลิมโด่ง ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเลิมเวียน ความสูง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเนื้อที่ธรรมชาติ 393.29 ตร.กม. นายกรัฐมนตรีเวียดนามรับรองให้ด่าหลาตเป็นนครประเภทที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 เป็น 1 ใน 6 นครประเภทที่ 1 สังกัดจังหวัด

ด้วยทัศนียภาพสวยงาม ด่าหลาตเป็นนครท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเวียดนามในสมัยอาณานิคมฝรั่งเศส ชื่อภาษาละตินคือ Dat Aliis Laetitiam Aliis Temperiem มีความหมายว่า "ให้คนเหล่านี้เบิกบานใจและให้คนเหล่าอื่นสดชื่น" ด่าหลาตได้รับสมญานามว่า "นครดอกไม้ นครแห่งความรัก นครฤดูใบไม้ผลิ นครใน หมอก"

ภูมิศาสตร์-ที่ตั้ง
นครด่าหลาตตั้งอยู่ในที่ราบสูงลางเบียง ตอนบนจังหวัดเลิมโด่ง ทิศเหนือ ติดกับอำเภอหลากเยือง ทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ติดกับอำเภอเดินเยือง ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอำเภอเลิมห่า และอำเภอดึ๊กตร่อง

หลายร้อยปีก่อน ด่าหลาตเป็นพื้นที่ อยู่อาศัยของชนเผ่าหลาจ เดิมเป็นชนพื้นเมืองของทั่วทั้งที่ราบสูงลางเบียง ด่าหลาต มีเนื้อที่กว่า 400 ตร.กม. ห้อมล้อมด้วยยอดเขาสูงและเทือกเขาต่อเนื่องคือ

ทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ถูกจำกัดด้วยเทือกเขาจอเรอมุยโอะดามีต (1,816 เมตร)

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พิงกับเชิงเขาจือเอียงแก (1,921 เมตร) อยู่ในกลุ่มลางเบียง โดยยอดเขาสูงสุดคือจือเอียงซิญ (1,408 เมตร)

ทิศตะวันออก เป็นเชิงเทือกเขาบียอป (2,278 เมตร) ลาดลงที่ราบสูงยราน

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวางกั้นโดยเทือกเขาจอปรอลิแน (1,629 เมตร)

ทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือก เขาวอย (1,754 เมตร) และเทือกเขาเอี่ยงเซอแรง โอบล้อม

นครด่าหลาต มี 12 ย่าน (ได้รับหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 12) และ 4 ตำบลคือ ตำบลต่านุง ตำบลเซวินเตรื่อง ตำบลเซวินเถาะ ตำบลตร่ามห่าญ

ภูมิประเทศ
ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเล 1,500 เมตร สถานที่สูงสุดในใจกลางนคร คือพื้นที่หญ่าบ๋าวต่าง (1,532 เมตร) ส่วนสถานที่ต่ำสุด คือหุบเขาเหงียนตรีเฟือง (1,398.2 เมตร)

ด้านในที่ราบสูง ภูมิประเทศด่าหลาต แบ่งเป็นสองระดับชัดเจน คือระดับภูมิประเทศต่ำเป็นเขตใจกลาง มีรูปร่างเหมือน แอ่งกระทะ ประกอบด้วยเทือกเขาเป็นวงรอบลาดเอียงมีระดับสูง 25-100 เมตร

รอบบริเวณแอ่งกระทะนี้เป็นยอดเขา ด้วยระดับสูงประมาณ 1,700 เมตร สร้างเป็นเข็มขัดปิดกั้นพายุให้กับเขตใจกลาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีภูเขาต่ำสองลูก คือภูอง (1,738 เมตร) และภูโบะ (1,709 เมตร) ทางทิศเหนือครอบคลุมด้วยที่ราบสูง ลางเบียง คือเทือกเขาบ่า (ลางเบียง) สูง 2,169 เมตร ยืดยาวตามแกนตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ลำธารดาซาร (ไหลเข้าดาญิม) ถึงดาแม (ไหลเข้า ดะเดิ่ง) ทิศตะวันออกขวางทางด้วยยอดเขา ย้อฮู้ (1,644 เมตร) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาหันเข้าต่านุงกลางเทือกเขา เอี่ยงเซอแรง คือยอดเขา Pin Hatt (1,691 เมตร) และยอดเขา You Lou Rouet (1,632 เมตร)

ด้านนอกที่ราบสูงเป็นลาดเขาสูงตั้งแต่กว่า 1,700 เมตร ลาดลงที่ราบสูงด้านล่าง มีระดับสูงตั้งแต่ 700-900 เมตร

อุณหภูมิ
เนื่องจากอิทธิพลของภูเขาสูงและป่าสนล้อมรอบ ด่าหลาตจึงมีลักษณะพิเศษ ของพื้นที่โซนร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 18-21 ํC อุณหภูมิสูงสุดยังไม่เคยเกินกว่า 30 ํC และต่ำสุดไม่เคยต่ำกว่า 5 ํC ด่าหลาตมี 2 ฤดูชัดเจน ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูร้อนระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ฤดูร้อนปกติมีฝนในตอนบ่าย บาง ครั้งมีฝนลูกเห็บ

ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีคือ 1,562 มม. และความชื้น 82%

ด่าหลาตไม่เคยมีพายุ มีเพียงลมแรง เนื่องจากอิทธิพลพายุจากทะเลพัดเข้ามาเพราะทางด้านตะวันออกไม่มีภูเขาปิดบังลม

ประวัติศาสตร์
ที่ราบสูงลางเบียง ก่อนปี 2436 เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าชาวเขา คนเวียดนามคนแรกที่มีความตั้งใจค้นคว้าเขตป่าเขาภาคกลางตอนล่างคือเหงียน ทง แต่เนื่องจากเหตุผลหลายอย่าง ดังนั้นจนถึงบั้นปลายชีวิตของเขาจึงยังปฏิบัติตามความตั้งใจของตนเองไม่ได้ เข้าสู่ปี 2423-2424 นายแพทย์กองทัพเรือฝรั่งเศส Paul Neis และเรือโท Albert Septans เข้าไปสำรวจหลายเที่ยวในเขตชาวเขาที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคกลางตอนล่าง พวกเขาได้พบเห็นบ้านชาวเขาสองหลังแรกบนที่ราบสูงลางเบียง การบุกเบิกของ Paul Neis และ Albert Septans ได้เปิดทางให้กับคนอื่นๆ เช่น A.Gautier (ปี 2425), L.Nouet (ปี 2425), พันตรี Humann (ปี 2427)

วันที่ 3 สิงหาคม 2434 นายแพทย์ Alexandre Yersin ดำเนินการสำรวจครั้งแรกด้วยความตั้งใจหาถนนบนภูเขาจากญาตรางเข้าไซ่ง่อน แต่การเดินทางเที่ยวนี้ไม่สำเร็จ ตั้งแต่ 28 มีนาคม ถึง 9 มิถุนายน 2435 Yersin ดำเนินการสำรวจจากญาตราง ตัดผ่านเขตที่ราบสูงดั๊กลัก เพื่อไปยังสตรึงเตรง ซึ่งตั้งอยู่ข้างฝั่งแม่น้ำโขง (ในดินแดน กัมพูชา)

เดือนมกราคม 2436 Yersin รับหน้าที่จากผู้สำเร็จราชการ Jean Marie Antoine de Lanessan ตรวจสอบเส้นทาง ทางบกตั้งแต่ไซ่ง่อนเจาะลึกเข้าเขตชาวเขา และสิ้นสุดที่จุดเอื้ออำนวยบนฝั่งทะเลเวียดนามกลาง Yersin ยังต้องหาความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรภายในเขต เช่นของป่า สินแร่ ความสามารถเลี้ยงสัตว์... ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2436 Yersin ได้เดินทางถึง 3 เที่ยว โดยเมื่อเวลา 15.30 น.ของวันที่ 21 มิถุนายนนั้น Yersin ได้ค้นพบที่ราบสูงลางเบียงในบันทึกการเดินทางเขาได้เขียนสั้นๆ ว่า "3h30 : grand plateau denude mamelonne" (เวลา 03.30 ที่ราบสูงใหญ่ เตียนโล่ง เนินเขาเป็นคลื่น)

ด้วยความต้องการค้นหาเขตเนินเขา ที่มีภูมิอากาศเย็นสบายคล้ายกับยุโรป เพื่อ ก่อสร้างเขตพักผ่อนตากอากาศ ดูแลรักษา และช่วยพักฟื้น ผู้สำเร็จราชการ Paul Doumer เขียนจดหมายถามความเห็นของ Yersin และ Yersin ตอบว่าคือเขตที่ราบสูงลางเบียง เดือนมีนาคม 2442 Yersin พร้อมด้วยผู้สำเร็จราชการ Doumer เดินทางขึ้นที่ราบสูงลางเบียง และการไปครั้งนี้ มีความหมายต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการก่อตั้งสถานีดูแลรักษา และช่วยพักฟื้นที่นี่

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2442 Doumer ลงนามกฤษฎีกาก่อตั้งที่เวียดนามกลางคือจังหวัดโด่งนายเถื่อง (Haut-Donnai) และก่อตั้งสถานีบริหาร 2 แห่งที่ต๊าญลิญ และบนที่ราบสูงลางเบียง

วันที่ 20 เมษายน 2459 กษัตริย์ยุยเตินออกพระราชโองการก่อตั้งเมือง (centre urbain) ด่าหลาต เมืองเอกจังหวัด เลิมเวียน พระราชโองการฉบับนี้ผู้ปกครอง ชาวฝรั่งเศส J.E.Charles ลงนามรับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2459

ในทศวรรษ 2443-2453 คนฝรั่งเศส ได้ก่อสร้างถนนสองสายจากไซ่ง่อน และจากฟานเทียตขึ้นด่าหลาต ระบบคมนาคม สะดวกช่วยให้ด่าหลาตพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดูเหมือนว่าปี 2436 เขตด่าหลาตรกร้างว่างเปล่า ถึงต้นปี 2459 ด่าหลาตยังเป็นเขตเมืองเล็กๆ ด้วยบ้านไม้ 8 หลังอยู่ตาม สองข้างฝั่งแม่น้ำกามลี มีโรงแรมบริการนักท่องเที่ยวเพียง 9 ห้อง ถึงปลายปีนั้นจึงเพิ่มขึ้นเป็น 26 ห้อง ปลายปี 2466 มีการออกแบบแผนผังสมบูรณ์ครั้งแรก ด่าหลาตมีประชากร 1,500 คน

วันที่ 31 ตุลาคม 2463 ผู้สำเร็จราชการอินโดจีนออกกฤษฎีกา รับรองพระราชโองการวันที่ 11 ตุลาคมปีเดียวกันของกษัตริย์ขายดิ่ญ ว่าด้วยการก่อตั้งนครประเภทที่ 2 (commune) ด่าหลาตได้รับก่อตั้งพร้อมกับจังหวัดโด่งนายเถื่อง มุ่งหมายเปลี่ยนด่าหลาตเป็นศูนย์พักผ่อนตากอากาศในอินโดจีนแห่งหนึ่ง จึงได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพักตากอากาศเลิมเวียนและท่องเที่ยวภาคกลางตอนล่าง หัวหน้านครคือนายกเทศมนตรีคนหนึ่ง เป็นตัวแทนของผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ปี 2471 ย้ายเมืองเอกจังหวัดโด่งนายเถื่องไปยังด่าหลาต ปี 2479 ได้มีการเลือกตั้งสภานครชุดหนึ่ง ปี 2484 ด่าหลาตกลายเป็นเมืองเอกจังหวัดเลิมเวียน (ลางเบียง) อีก โดยนายกเทศมนตรีด่าหลาตเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลิมเวียนด้วย

ในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวฝรั่งเศสไม่สามารถกลับไปประเทศแม่ได้ พวกเขาจึงรวมตัวกันขึ้นไปพักอยู่ที่ด่าหลาต ด่าหลาตก็ได้จัดหาผักผลไม้หลายอย่างให้ชาวฝรั่งเศส วันที่ 10 พฤศจิกายน 2493 กษัตริย์บ๋าวด่ายลงนามพระราชโองการที่ 4-QT/TD กำหนดเขตพื้นที่เมืองด่าหลาต

ตามเอกสารด่าหลาต (Monographie de Dalat) ปี 2496 เมืองด่าหลาตเป็นนครบาลของอาณาจักรสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีเนื้อที่ 67 ตารางกิโลเมตร ประชากร 25,041 คน

ภายหลังอนุสัญญาเจนีวา ปี 2497 ประชากรด่าหลาตเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะปริมาณคนย้ายถิ่นจากภาคเหนือเข้าภาคใต้ ภายใต้รัฐบาลเวียดนามใต้ ได้มีการพัฒนา ด่าหลาตเสมือนหนึ่งเป็นศูนย์การศึกษาและวิทยาศาสตร์ ปี 2500 ด่าหลาตกลายเป็นเมืองเอกจังหวัดเตวียนดึ๊ก เมืองด่าหลาต มี 10 เขตถนน

มีการก่อตั้งโรงเรียนและศูนย์วิจัยหลายแห่ง คือมหาวิทยาลัยด่าหลาต (ปี 2500) โรงเรียนนายร้อยแห่งชาติด่าหลาต (ปี 2505) หอสมุดด่าหลาต (ปี 2503)...มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บริการนักท่องเที่ยว และซ่อมแซมแถวบ้านพักโดยบรรดาข้าราชการไซ่ง่อน รวมทั้งก่อสร้างวัด โบสถ์ สำนักสงฆ์ หลายแห่ง ด่าหลาต ก็เป็นจุดดึงดูดศิลปินทั้งหลายด้วย

หลังปี 2518 ด้วยการถอนตัวของกองทัพและกลไกรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้รับเพิ่มเติมด้วยปริมาณเจ้าหน้าที่และกองทัพภาคเหนือ ตัวเลขประชากรด่าหลาต มีประมาณ 86,000 คน การท่องเที่ยวด่าหลาตดูเหมือนถูกลืมเลือน ในช่วงปลายทศวรรษ 2523 และต้นทศวรรษ 2533 แถวโรงแรม ร้านค้าได้รับการซ่อมแซมบ้านพักหลายหลังเปิดบริการนักท่องเที่ยว ด่าหลาตจึงกลับมาเป็นนครท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเวียดนาม ด้วยการจัดงานเทศกาลหลายอย่าง

ปลายปี 2518 กรมการเมือง คณะกรรมการบริหารกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มีมติจะให้ด่าหลาตเป็น 1 ใน 4 นครขึ้นตรงส่วนกลาง แต่ต่อมาเรื่องนี้กลับเงียบไป

เดือนกุมภาพันธ์ 2519 รัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้ออกมติให้รวมจังหวัดเลิมโด่ง จังหวัดเตวียนดึ๊ก และเมืองด่าหลาต เป็นจังหวัดเลิมโด่ง เมืองด่าหลาตกลายเป็นนคร และเป็นเมืองเอกของจังหวัดเลิมโด่ง

พลเมือง-การพัฒนาประชากร
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรด่าหลาตน้อยที่สุด นอกจากพลเมืองพื้นถิ่น ก็มีชาวยุโรปจำนวนหนึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ที่นี่

ปัจจุบันนครด่าหลาตมีประชากร 301,243 คน (พฤษภาคม 2553) ความหนาแน่น 469 คน ต่อ ตร.กม.

ที่มา: สารานุกรมเปิด Wikipedia (ปรับปรุงล่าสุด 27 กันยายน 2553)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us