Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553
“ด่าหลาต” เมืองที่ครั้งหนึ่งเกือบได้เป็น “นครหลวงแห่งอินโดจีน”             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International
Vietnam




ตั้งแต่เพิ่งจะถือกำเนิด ชาวฝรั่งเศสได้วางผังเมือง "ด่าหลาต" ด้วยความตั้งใจจะเปลี่ยนสถานที่แห่งนี้เป็นนครหลวงของ "สหพันธ์อินโดจีน" ในตลอดความยาวของประวัติศาสตร์ แม้ว่าต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่คนฝรั่งเศสแสดงออกค่อนข้างกระตือรือร้นเสมอกับการวางผังนครแห่งนี้

ปี 2436 ภายหลังช่วงเวลายาวช่วงหนึ่ง นายแพทย์ Yersin ค้นพบด่าหลาต ด้วยความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ราบสูง และบรรดาเนินลาดเล็กน้อย เปิด กว้างออกไปทางเชิงเขาลางเบียง อากาศเย็นสบายตลอดปี เป็นคุณลักษณะพิเศษที่อาจจะตอบสนองปัจจัยทุกอย่างเกี่ยวกับความต้องการที่พักตากอากาศ สถานที่แห่งนี้หลุดเข้าสู่สายตาของชาวฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี ขณะเพิ่งจะ "กำเนิด" ตามเอกสารต่างๆ ที่บันทึกไว้ ระบุว่าบริเวณซานเกีย (ห่างด่าหลาตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กม.) เป็นสถานที่ซึ่งคนฝรั่งเศสได้วางผังเพื่อก่อสร้างสถานที่ พักผ่อนตากอากาศไว้ก่อนแล้ว แต่ภายหลัง 4 ปีที่ค้นพบด่าหลาต นายแพทย์ Yersin ได้รายงานข้อดีต่างๆ ของด่าหลาตต่อผู้สำเร็จราชการ P.Doumer โดยระบุว่าไม่มี สถานที่ใดในเวียดนามเทียบได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานั้น P.Doumer ก็กำลังมีนโยบายก่อสร้างเขตพักผ่อนตากอากาศแห่งหนึ่งให้กับบรรดาข้าราชการฝรั่งเศส ดังนั้นจึงได้ตกลงกับแผน การลงทุนสถานพักตากอากาศแห่งหนึ่งในอินโดจีนบนที่ราบสูงเลิมเวียน Yersin เสนอ แนะ P.Doumer ให้สร้างเขตพักตากอากาศ ที่ซานเกีย

ตั้งแต่ปี 2441-2443 P.Doumer ได้ส่งผู้แทน 2 คณะขึ้นที่ราบสูงเลิมเวียนตรวจสอบเพื่อหาจุดก่อสร้างสถานที่พักตากอากาศ หน้าที่อันดับแรกของพวกเขา คือหาถนนที่สะดวกที่สุดเพื่อขึ้นเขตผืนดินที่ค้นพบใหม่นี้ ทั้งสองคณะต่างเลือกจุดหยุด สุดท้ายคือบริเวณซานเกีย

ตามความเป็นจริงคนฝรั่งเศสลงทุน ก่อสร้างโครงการ 2-3 แห่งที่ซานเกีย เมื่อปี 2441 ในนั้นมีสำนักงานอุตุนิยมวิทยาและโครงการนำร่องเกษตรกรรม

ต้นปี 2443 นายแพทย์ Etienne Tardif ได้รวบรวมเรียบเรียงรายงานวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงข้อดีต่างๆ ของด่าหลาตเปรียบเทียบกับซานเกีย เอกสารรายงานนี้ส่งถึงมือผู้สำเร็จราชการ P. Doumer ทำให้ P.Doumer ลังเลอย่างยิ่ง เพราะก่อนหน้านั้น Yersin เสนอแนะให้ก่อสร้างเขตพักตากอากาศให้ชาวฝรั่งเศส ที่ซานเกีย

ประมาณเดือนมีนาคม 2443 P.Doumer เดินทางขึ้นด่าหลาตด้วยตัวเอง จากการเปรียบเทียบจุดพิเศษเกี่ยวกับภูมิประเทศ สภาพอากาศ พื้นดิน โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ระหว่างด่าหลาตกับซานเกีย ผู้สำเร็จราชการ P.Doumer ได้ตัดสินใจเลือกด่าหลาตเพื่อวางแผนผังสถานที่พักตากอากาศ

นครหลวงอินโดจีน
หลังจากผู้สำเร็จราชการ P.Doumer อนุมัติ เริ่มก่อสร้างโครงการสำคัญมากมาย ที่ด่าหลาต ในนั้นให้ความสำคัญกับระบบคมนาคมเป็นอันดับแรก พร้อมกับการเลือก และก่อสร้างถนนสั้นที่สุดเพื่อให้สามารถไปจากไซ่ง่อนขึ้นด่าหลาตได้ ในช่วงเวลานี้ มีการส่งเสริมให้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างก่ายก่อน-ด่าหลาต P.Doumer เลือกทางแยกรถไฟไซ่ง่อน-ค้าญหว่า เพื่อขึ้นด่าหลาตตามแยกทางซ้ายจากฟานรางขึ้นไป

ปี 2444 ขณะที่เพิ่งจะเริ่มก่อสร้างเขตพักตากอากาศของฝรั่งเศสในอินโดจีน ผู้สำเร็จราชการ P.Doumer ก็ถูกปลดออก จากตำแหน่ง P.Doumer ได้นำโครงการ ก่อสร้างในด่าหลาตทั้งหมดกลับประเทศไปด้วย

โครงการของ P.Doumer เค้าโครงส่วนใหญ่ประกอบด้วยระบบที่อยู่อาศัยของข้าราชการใหญ่โต บริการสำหรับการพักร้อนของข้าราชการระดับสูง โรงเรียน ค่าย ทหาร แต่แผนผังทั้งหมดต้องหยุดชะงักภายใต้การบริหารของบรรดาผู้สำเร็จราชการคนต่อๆ มา ถึงกระนั้นระบบคมนาคมยังคงมีการก่อสร้างต่อไป ถึงแม้มีการประเมินว่าล่าช้าเนื่องจากขาดแคลนค่าใช้จ่าย และขาดแผนผังเดิม

ตั้งแต่ปี 2458 จนหลังจากสงคราม โลกครั้งที่สองได้ระเบิดขึ้น คนฝรั่งเศสในเวียดนามไม่มีคุณสมบัติเพื่อกลับบ้านเกิด จึงหลั่งไหลขึ้นไปสุมกันอยู่ที่ด่าหลาต ในเวลานั้นโครงการใหญ่ๆ เช่น Hotel du Langbiang Palace ทะเลสาบด่าหลาต (ปัจจุบันคือทะเลสาบเซวินเฮือง) โรงงานผลิตน้ำประปา โรงงานไฟฟ้า โรงเรียน Nazareth อาคารการคลัง ได้มีการก่อสร้างขึ้นเพื่อให้ทัน กับความต้องการพัฒนาด่าหลาต

ต่อการ "ตื่นขึ้น" อย่างรวดเร็วของผืนดินนี้ ต้องการให้มีแผนผังโดยรวมเพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาให้กับด่าหลาต ปี 2466 ผู้สำเร็จราชการ M.Long มอบหมายให้ KTS Hé’brard วางแผนผังให้กับเมืองด่าหลาต

ตามผังเมืองนี้ คนฝรั่งเศสจะก่อสร้างด่าหลาตให้เป็นนครหลวงของสหพันธ์อินโดจีน ด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานทันสมัย ด้วยความคิดคือ "ป่าในนครและนครในป่า" ดังนั้น จึงเห็นความสำคัญของปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ขนาดประชากรในช่วงนี้คาดว่าเกิน 300,000 คน

ระบบคมนาคมแบ่งเป็นถนน 6 สาย ถนนสายหลักและกว้างที่สุดของนคร คือสายหญ่ากา-กามลี ระยะทาง 20 กม. แคบที่สุดคือระบบถนนระดับ 3 ด้วยระยะทาง 8 เมตร

เนื่องจากความต้องการใช้ที่ดินก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากชาวฝรั่งเศสหลั่งไหลขึ้นด่าหลาตและบรรดา ชาวเวียดนามค้นพบที่นี่และเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพื่อปฏิบัติตามกระบวนการอย่างมีเอกภาพในการก่อสร้าง ผู้สำเร็จ ราชการอินโดจีนได้ให้รวบรวมกฎหมาย ก่อสร้างในด่าหลาต เริ่มตั้งแต่ปี 2466 ได้บังคับใช้กฎหมายนี้อย่างเป็นทางการ โดยใช้คู่กับข้อกำหนดว่าด้วยการใช้ถนน และข้อกำหนดว่าด้วยการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง

นอกจากนั้น ก็ได้เร่งรีบดำเนินการวางแผนผังเกี่ยวกับที่ดิน โดยที่ดินหลายเขต ได้สงวนให้เฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ได้รับการแบ่งที่ดินก่อสร้างบ้านพักเป็นแปลงๆ รวมตัวอยู่บนสนามเตริ่นฮึงด่าว สนามหู่งเวือง สนามกวางตรุง... ปัจจุบัน ที่ดินแต่ละแปลง ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างบ้านพักห่างกันตั้งแต่ 20-30 ถึง 100 เมตร ส่วนที่ดินของคน เวียดนามได้รับการวางผังอยู่ทางตอนล่างของทะเลสาบด่าหลาต

เนื่องจากได้มีการวางผังก่อสร้างด่าหลาตให้เป็นนครหลวงของอินโดจีน ดังนั้นมิติการออกแบบของ KTS Hé’brard จึงมีขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ปี 2476 KTS Pineau เสนอแผนผังใหม่ให้กับด่าหลาต ตามแผนผังนี้ เฉพาะหน้าด่าหลาตยังไม่อาจเป็นนครหลวงของอินโดจีนได้ บทบาทของเมืองจึงหยุดไว้เป็นเพียงเขตพักตากอากาศเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us