Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553
Land Bridge ทวาย-อันดามัน             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

International
Greater Mekong Subregion




ผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553 เขียนเรื่อง "ประตูสู่ความเป็น Land Bridge" (www.gotomanager.com) ที่บ่งชี้ถึงแนวคิดในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า และเส้นทางเชื่อมต่อมาถึงช่องทางบ้านน้ำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรี-ท่าเรือแหลมฉบัง เชื่อมทะเลอันดามัน-ทะเลจีนใต้ผ่านอ่าวไทย อย่างมีนัยสำคัญมาแล้ว

ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 สภาพัฒน์ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมกับตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนของไทย ญี่ปุ่นและพม่าได้ลงสำรวจศักยภาพเมือง "ทวาย มะริด"

ซึ่งโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและอุตสาหกรรมทวาย และมะริดที่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ได้ยกร่าง Project Development Agreement (PDA) เสนอต่อรัฐบาล พม่าตั้งแต่ปี 2552 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการ อนุมัติจากรัฐบาลพม่า

ทั้งนี้ตาม PDA ของบริษัทอิตาเลียน ไทยวางแผนพัฒนาพื้นที่ห่างจากสนามบินทวายไปทางเหนือประมาณ 35 กม. มูลค่า การลงทุนเฉพาะระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานรวม 3.3 แสนล้านบาท บนพื้นที่ 250 ตร.กม. หรือ 61,775 เอเคอร์

ภายในโครงการนี้จะมีการพัฒนาถนนเชื่อมโยงทวาย-บ้านน้ำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรีระยะทาง 160 กม. เป็น 4 ช่องจราจร วงเงินประมาณ 5 พันล้านบาท, ท่าเรือน้ำลึกที่ได้มีการพิจารณากำหนดจุดเหมาะสมที่นาบูเล (Nabule) ห่างจากทวาย 35 กม. ซึ่งมีระดับน้ำลึก 15 เมตร จำนวน 2 ท่า สามารถรองรับเรือขนาด VLCC และ ULCC จำนวน 22 ลำในเวลา เดียวกันได้

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมได้กำหนดพัฒนาบนพื้นที่ 250 ตร.กม.หรือประมาณ 4 แสนไร่ แบ่งเป็น 6 โซน เช่น โซนท่าเรือ และอุตสาหกรรมหนัก, โซนอุตสาหกรรมน้ำมัน-แก๊ส เป็นต้น รวมไปถึงพื้นที่ส่วนราชการแบบ One Stop Service

โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 ปี 2554-2558 ดำเนินโครงการถนนเชื่อมโยงทวาย-ชายแดนไทย/พม่า 4 ช่องจราจร, ด่านพรมแดน, ถนนเชื่อมสนามบินทวาย, ท่าเรือด้านใต้, อ่างเก็บน้ำ, ถนนในนิคมฯ และระบบระบายน้ำ, โรงบำบัดน้ำประปา/น้ำเสีย และพื้นที่พักอาศัย-ส่วนราชการ

ระยะที่ 2 ปี 2556-2561 พัฒนาสาธารณูปโภคในนิคมฯ เพิ่มเติม รวมทั้งขยายถนนทวาย-ชายแดนไทย พม่า เป็น 8 ช่องจราจร สร้างศูนย์การค้าและสถานที่ พักผ่อน

ระยะที่ 3 ปี 2559-2563 พัฒนาท่าเรือแห่งที่ 2 ด้านทิศเหนือ ทางรถไฟ สายส่งไฟฟ้าและท่อก๊าซ-น้ำมัน เชื่อมโยง ประเทศไทย

ปัจจุบันบริษัทอิตาเลียนไทยตั้งฐาน ที่ทวายและบ้านน้ำพุร้อน เริ่มกรุยทางจาก 2 ฝั่งประมาณ 100 กม. และปรับระดับให้สูงจากน้ำทะเล 160 เมตร เหลือช่วงที่เป็น ป่าทึบประมาณ 60 กม.

ทั้งนี้มีการประเมินกันว่าโครงการนี้จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิง logistic ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมของไทยในพื้นที่ภาคกลาง-ตะวันตก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us