|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แนวคิดเรื่องสายการบินไทย ไทเกอร์ ในรูปแบบของ Low Cost Airline เป็นการสร้างรูปแบบของการแบ่งตลาดบริการการบินอย่างแท้จริงของการบินไทย ในยุคที่ "ใครๆ ก็บินได้" ด้วยราคาค่าตั๋วที่ต่ำ
สายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์สมีสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส ถือหุ้นใหญ่ 33.7% การตัดสินใจให้การบินไทยเข้าร่วม ทุนตั้งสายการบินใหม่กับไทย ไทเกอร์ ในเชิงกลยุทธ์ธุรกิจที่รวดเร็ว เพราะความเห็น ชอบจากคณะกรรมการบริหารกลยุทธ์ เอส เอสซี วันที่ 13 กรกฎาคม 2553 เสนอให้คณะกรรมการบริหารงานนโยบายอีเอ็มเอ็ม พิจารณา 29 กรกฎาคม และเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการบินไทย เป็นวาระพิเศษ 31 กรกฎาคม 2553
ความรวดเร็วของการเกิดขึ้นของโครงการที่กระทรวงคมนาคมเอง ในตอนแรกก็บอกว่าไม่ทราบเรื่อง เมื่อถูกซักถามทั้งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือแม้แต่การซักถามปิยสวัสดิ์และต้องการรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อที่จะชี้แจงได้ถูกต้องในฐานะที่เป็นกระทรวงที่ดูแลหน่วยงานด้านการบิน
แต่เมื่อการบินไทยในยุคของปิยสวัสดิ์ต้องเดินหน้าตามแนวนโยบายที่ผู้บริหารองค์กรต้องการให้เกิดการแข่งขันในเชิงธุรกิจอย่างแท้จริง ตามเหตุผลที่เชื่อมั่นว่าสามารถชี้แจงได้ต่อสาธารณชนตามหลักธรรมาภิบาล นโยบายที่มาจากทาง การเมืองบางเรื่องหากไม่สอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ก็ต้องมีการชี้แจงตามอำนาจหน้าที่ แต่ในทางกลยุทธ์ทุกอย่างต้องเดินหน้าต่อไป
ไทเกอร์ แอร์เวย์สมีเส้นทางบินครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย และออสเตรเลีย โครงสร้างผู้ถือหุ้นเดิม ประกอบด้วย 1. สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส 33.7% 2. ดาห์เลีย อินเวสท์เมนท์ (เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์) 7.7% 3. ผู้ก่อตั้งไรอัน แอร์ และอเมริกัน เวสต์ 26.2% และ 4. อื่นๆ 32.4% ด้วยกลยุทธ์หลายตรา ผลิตภัณฑ์ หรือ MULTI-BRAND STRATEGY แข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ พร้อม กับเป็นการรักษาส่วนแบ่งการตลาดเส้นทาง แบบ POINT TO POINT ในภูมิภาค
เป็นการปรับโครงสร้างการตลาดทางธุรกิจของการบินไทยจากกลยุทธ์การตลาดแบบ TWO-BRAND STRATEGY ที่มีนกแอร์เป็น LEADING REGIONAL BUDGET AIRLINES แต่นกแอร์ต้องการวางตำแหน่งทางธุรกิจเป็นสายการบินที่มีความคุ้มค่าหรือ VALUE FOR MONEY ไม่ได้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ตามนิยามเดิมที่ผู้ใช้บริการยุคแรกเข้าใจกัน
ปิยสวัสดิ์มักพูดติดตลกในการแสดง วิสัยทัศน์ตามงานต่างๆ หรือแม้แต่เกี่ยวกับกลยุทธ์การร่วมทุนตั้งสายการบินแห่งนี้ กับทางการรายงานต่อหน้านายกรัฐมนตรีว่า "ไทย ไทเกอร์จะเป็นสายการบินต้นทุน ต้ำ ต่ำ หรือโคตรต่ำ" เพราะเมื่อเทียบกับ นกแอร์ที่การบินไทยถือหุ้นอยู่แล้ว 39% ก็ยังไม่ถือว่าเป็นสายการบินต้นทุนต่ำอย่างแท้จริง
ในยุคแรกสำหรับนกแอร์นั้น อาจถูกวางให้เป็นคู่แข่งของไทย แอร์ เอเชียที่ กลุ่มชินคอร์ปเข้าไปถือหุ้น แต่ข้อต่างของนกแอร์ตรงที่จำกัดตัวเองให้บินเฉพาะเส้นทางบินในประเทศเป็นหลัก ขณะที่แอร์เอเชีย สายการบินตัวแม่ ซึ่งฐานที่มั่นอยู่มาเลเซีย เปิดทำการบินสายการบินต้นทุนต่ำแบบข้ามประเทศข้ามทวีป
"ที่ผ่านมาก็เห็นชัดว่านกแอร์ไม่สามารถที่จะยับยั้งไทย แอร์ เอเชียได้และนกแอร์ก็ไม่พร้อมที่จะไปต่างประเทศ นกแอร์จะบินอยู่แต่ในประเทศไทย และแผนอีก สี่ปีข้างหน้าก็ไม่มีแผนที่จะไปต่างประเทศ"
การร่วมทุนกับไทเกอร์ สายการบิน ใหม่ต้นทุนต่ำของสิงคโปร์ เป็นแนวคิดใหม่ ในการเปิดตลาดการบินที่แยกกลุ่มลูกค้าชัดเจนระหว่างการบินไทยที่วางตัวเป็นสายการบินระดับพรีเมียม ขณะที่นกแอร์เป็นสายการบิน Budget Airline ที่บินเส้นทางบินเฉพาะในประเทศไทย ส่วนสาย การบินไทย ไทเกอร์รับลูกค้าที่ต้องการบินโลว์คอสต์ระหว่างประเทศ
ตามแผนงานที่เคยมีการแถลงไว้จากแผนการร่วมทุน 3 ปีแรก ไทย ไทเกอร์ จะเปิดให้บริการเดือนมีนาคม 2554 เครื่องบินที่ใช้เป็นวิธีการเช่าจากไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด เป็นเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 จำนวน 10 ลำ
ปีแรกจะใช้เครื่องบิน 3 ลำ ให้บริการใน 8 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพฯ-ปีนัง กรุงเทพฯ-มาเก๊า กรุงเทพฯ-เสิ่นเจิ้น ภูเก็ต-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-มัทราส
ปีที่ 2 จำนวนเครื่องบินจะเพิ่มเป็น 5 ลำ ให้บริการเพิ่มเป็น 12 เส้นทาง เพิ่มอีก 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง กรุงเทพฯ-กัลกัตตา และกรุงเทพฯ-ดานัง
ส่วนในปีที่ 3 เครื่องบินจะเพิ่มเป็น 10 ลำ ให้บริการเพิ่มเป็น 19 เส้นทาง เส้นทางที่เพิ่มขึ้น 7 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-กระบี่ กรุงเทพฯ-ไหโข่ว กรุงเทพฯ-โฮจิมินห์ กรุงเทพฯ-บรูไน กรุงเทพฯ-เกาสง ภูเก็ต-กัวลาลัมเปอร์ และกรุงเทพฯ-ตริวันดรัม
แม้โครงการนี้ของปิยสวัสดิ์ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพราะการ ร่วมทุนระหว่างการบินไทย และไทเกอร์ แอร์เวยส์เหมาะสมหรือไม่? จำเป็นแค่ไหน ที่การบินไทยต้องมีผู้ร่วมทุนเป็นสายการบิน โลว์คอสต์?
แต่เหตุผลที่ได้รับจาก DD การบิน ไทยก็คือ ความจำเป็นทางการตลาดที่บังคับ ให้การบินไทยต้องโตแล้วแตกเพิ่มสายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในทุกตลาด แม้จะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ปัจจุบันคู่แข่งที่มาแรง เช่น สายการบินจากตะวันออกกลาง ก็เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดของการบินไทย ดังนั้นการที่การบินไทยจะติดอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย และ 1 ใน 5 ของโลกก็มีความสามารถแข่งขันได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยน แปลงไป ทั้งในตลาดพรีเมียมและส่วนของตลาดสายการบินต้นทุนต่ำที่โตเร็วมาก หากไม่เข้าไปเล่นก็จะเสียส่วนแบ่งไปเรื่อยๆ
และการที่จะไปได้เร็วที่สุดก็คือร่วม ทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ เพื่อที่จะเป็นไทย ไทเกอร์
"การบินไทยช้าเกินไปมากที่จะปรับตัวที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง เราเป็นสายการบินที่เรียกว่าอยู่ในระดับพรีเมียมแข่งขัน ในตลาดลูกค้าชั้นบน ลูกค้าชั้นบนก็มีคู่แข่ง เข้ามาจากสายการบินในตะวันออกกลาง จากการที่รัฐบาลต่างๆ มีการเปิดเสรีทาง การบิน นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น"
ทุกวันนี้ ความสามารถของการบิน ไทยในการแข่งขันเมื่อเทียบกับสายการบินคู่แข่งอย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์ คาเธ่ย์แปซิฟิก หากเทียบกับจำนวนเครื่องบิน จำนวนผู้โดยสาร ตัวเลขไม่ได้อยู่ห่างกันมาก บางที ปิยสวัสดิ์ก็ยอมรับว่าอาจจะยังแย่กว่าสิงคโปร์แอร์ไลน์ คาเธ่ย์แปซิฟิกได้
แต่จุดแข็งของการบินไทยคือพนักงานที่มีทักษะสูงและได้รับผลตอบแทนที่ช่วยให้ต้นทุนเชิงเปรียบเทียบน้อยกว่าคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์แอร์ไลน์ ทำให้รายจ่ายของพนักงานทั้งหมดต่อเครื่องบินหนึ่งลำ หรือต่อผู้โดยสารของการบินไทยอยู่ในระดับแข่งขันได้เมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่ง สิงคโปร์ แอร์ไลน์และคาเธ่ย์แปซิฟิกได้ และดีกว่าสายการบินในอเมริกา
ขณะที่รายได้ผู้โดยสารต่อกิโลเมตร การบินไทยยังต่ำกว่าสิงคโปร์ประมาณร้อยละ 10 เพราะการบินไทยมีนักท่องเที่ยว ร้อยละ 60 นักธุรกิจร้อยละ 40 ซึ่งสลับกับสายการบินคู่แข่งที่มีรายได้สูงจากผู้โดยสารนักธุรกิจมากกว่าทั่วไป ส่วนที่เป็นประเด็นเปรียบเทียบมากคือ เรื่องของผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น ที่นั่งและบริการ สื่อมีเดียบนเครื่อง ที่การบินไทยยังสู้เขาไม่ได้ จึงต้องให้มีการปรับปรุงในเรื่องนี้
ถึงกระนั้นก็ตาม โครงการสายการบินไทย ไทเกอร์ ยังเป็นบทพิสูจน์ของปิยสวัสดิ์ที่ต้องฝ่าขวากหนามทางการเมืองให้ฝันไว้ไกลไปให้ถึง ก่อนสถานการณ์โลกและในประเทศจะบังคับให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้นระหว่างการดำรงตำแหน่ง DD ที่ต้องขี่หลังเสือคนนี้!?
|
|
|
|
|