Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2533
โปรแกรมกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศสมัยใหม่             
 


   
search resources

International
Law
กระทรวงยุติธรรม




นักกฎหมายไทยเริ่มตื่นตัวมากขึ้นต่อบทบาทของตัวเองกับสังคมธุรกิจเมืองไทยที่พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว การค้าขายระหว่างประเทศกลายเป็นเรื่องที่พวกเขาจะต้องเรียนรู้ติดตามให้ทันตลอดทั้งข้อกฎหมายและเทคนิคต่างๆ ในการประกอบวิชาชีพก็จำเป็นจะต้องพัฒนาให้ทันกับคู่ค้าจากทั่วสารทิศที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาในเมืองไทยในปัจจุบัน

สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการและสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรมได้ขยายบทบาทของตัวเองเพิ่มขึ้นอีก โดยการจัดอบรมพิเศษ TRAINING FOR LAWYERS OF INTERNATIONAL PRACTICE & ALERNATIVE DISPUTE RESOLUTION หรือการอบรมผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่ต้องติดต่อกับชาวต่างประเทศและการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ

หรือถ้าจะเรียกว่าโครงการ MINI LL.M (MASTER OF LAW) อย่างที่เจ้าของโครงการนี้เรียกขานกันก็ดูจะไม่น่าเคอะเขินมากนัก

"เมื่อเราค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งคู่ค้าของเราส่วนใหญ่ใช้สัญญาและระบบอนุญาโตตุลาการเป็นเครื่องมือในการทำการค้าและช่วยชี้ขาดข้อพิพาท ซึ่งสัญญานั้นก็เป็นสัญญาที่ทำกันในระหว่างประเทศ บางครั้งมีคู่สัญญามากกว่า 2 ประเทศกติตาตามสัญญาต่างก็ต้องออกมาแบบสากล ในขณะเดียวกันตัวเราเองจะมาใช้สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งแต่เพียงอย่างเดียวนั้นก็เลยเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ จะขึ้นศาลแพ่งอย่างนี้ก็คงไม่มีใครต้องการ เพราะเขาต้องการระงับข้อพิพาทด้วยระบบอนุญาโตตุลาการ นักกฎหมายบ้านเราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้ให้มาก" วิชัย อริยะนันทกะ ผู้อำนวยการสำนักงานอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการจัดการอบรมคราวนี้กล่าวถึงที่มาของโครงการ

เพราะว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดที่จัดการให้ความรู้แก่นักกฎหมายไทยในลักษณะเช่นนี้ เว้นแต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็สอนระดับปริญญาโทด้านกฎหมายธุรกิจ สำหรับปริญญาโทกฎหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะเน้นทางด้านกฎหมายสังคม หรือกฎหมายมหาชนเป็นส่วนใหญ่ "หลักสูตรระยะสั้นๆ เช่นนี้ยังไม่เคยมี" วิชัยกล่าว

หลักสูตร MINI LL.M เปิดสอนครั้งแรกระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน ถึง 1 สิงหาคม 2533 วิชาที่สอนเป็นพวกกฎหมายธุรกิจล้วนเช่น กฎหมายลิขสิทธิ์และการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ สัญญาประกันภัยรวมทั้งการประกันภัยทางทะเล สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การศึกษากฎหมายและวิชาชีพกฎหมายในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา กฎหมายระหว่างประเทศที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายควรทราบ หลักกฎหมายคอมมอนลอว์เกี่ยวกับสัญญา เกี่ยวกับการละเมิดเกี่ยวกับกฎหมายอาญา หลักกฎหมายภาษี แรงงาน การลงทุน และตลาดหลักทรัพย์

อีกส่วนหนึ่งเป็นการเรียนเพื่อให้นักกฎหมายได้รู้จักและสามารถใช้วิธีการระงับข้อพิพาททางแพ่งพาณิชย์ นอกจากการพิจารณาพิพากษาโดยศาล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การร่างข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการในสัญญา ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการที่สำคัญๆ ของโลก

ในการเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด หลักสูตรที่สร้างกันขึ้นมาอิงส่วนผสมระหว่างอเมริกากับอังกฤษ โดยให้ทนายความอาวุโสที่ประสบความสำเร็จในด้านการประกอบวิชาชีพกฎหมายระหว่างประเทศ และอาจารย์มหาวิทยาลัยกับตุลาการในกระทรวงยุติธรรมที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นผู้บรรยาย

หัวใจอันหนึ่งของหลักสูตรนี้ นอกจากหลักและวิธีปฏิบัติทางด้านกฎหมายต่างประเทศโดยตรงแล้ว ยังได้เน้นถึงการมีจริยธรรมของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในระดับสากล รวมไปถึงการฝึกฝนบุคลิกภาพของนักกฎหมายเข้าไปด้วย

มีการปาฐกถาพิเศษในหัวเรื่อง "A GOOD LAWYER" ซึ่งพูดถึงการประกอบวิชาชีพกฎหมายและการเป็นนักกฎหมายที่ดี โดย ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี

"อาชีพนักกฎหมายเป็นอาชีพที่มีเกียรติในสังคมเพราะฉะนั้นบุคลิกพื้นฐานต่างๆ ในการออกสังคม ตลอดทั้งการแสดงบทบาทของตัวเองในวาระต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่นักกฎหมายสมัยใหม่จะต้องพัฒนาด้วยเช่นกัน เราจึงได้บรรจุเรื่องนี้เข้าไปในหลักสูตรด้วย" ผู้อำนวยการสำนักงานอนุญาโตตุลาการกล่าว

ความตื่นตัวของนักกฎหมายที่สนใจจะพัฒนาตัวเองสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายระดับสากลมีมากเกินกว่าที่ผู้จัดโครงการนี้คาดไว้ เพราะปกติถ้ามีการเปิดบรรยายเกี่ยวกับกฎหมายจะมีคนให้ความสนใจน้อยมาก ทั้งนี้เพราะว่าคนส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก

จากที่กำหนดจะรับคนเข้าเรียนในหลักสูตรนี้เพียง 80 คน แต่ปรากฏว่ามีคนมาสมัครเข้าเรียนถึง 180 คน ส่วนที่เหลือก็เลยต้องตัดออกมาซึ่งเป็นดัชนีชี้ให้เห็นถึงความตื่นตัวของบรรดานักกฎหมายในเมืองไทยที่มีมากขึ้น

ผู้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้นอกจากจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับกลางๆ ของสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วในเมืองไทย ยังประกอบไปด้วยนักกฎหมายและทนายความอิสระหนุ่มๆ ที่เริ่มจะหาลู่ทางเป็นผู้ลงทุนทำสำนักงานเอง อีกส่วนหนึ่งเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ก้าวขึ้นสู่การค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออก นำเข้า และผู้รับเหมาก่อสร้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่สมัครใจเข้ามาเรียนเอง

"ถ้าเทียบกับทางด้านบริหารธุรกิจหรือ MINI MBA แล้วยังดูห่างไกลกันมากในด้านความสนใจของผู้คนที่จะเข้าเรียน แต่ถ้าพิจารณาว่าหลักสูตรนี้มันเป็นเรื่องกฎหมาย ซึ่งมีความเป็นการเฉพาะของมันสูงและเทียบกับไปสู่จำนวนนักกฎหมาย และอดีตที่ผ่านมาก็นับว่านักกฎหมายของเราตื่นตัวมากขึ้น และก็เป็นนิมิตอันดีที่ทางสำนักงานส่งเสริมตุลาการได้ริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมา" อเนก ศรีสนิท นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย และนักกฎหมายไทยที่ประสบความสำเร็จด้านกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศค่อนข้างสูงและเป็นผู้บรรยายในหลักสูตรนี้กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us