|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เมื่อกว่า 50 ปีก่อน สหรัฐฯ ได้ก่อตั้งสำนักวิจัยที่มีชื่อว่า Defense Advanced Research Projects Agency หรือเรียกย่อๆ ว่า DARPA เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านอวกาศ การป้องกันประเทศและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ผลงานที่โดดเด่นของ DARPA ที่รับรองว่าไม่มีใครไม่รู้จักก็คือ Internet
ในปี 2007 รัฐสภาสหรัฐฯ ก่อตั้งสำนักวิจัยแห่งใหม่ Advanced Research Projects Agency-Energy หรือ ARPA-E หวังเลียนแบบความสำเร็จของ DARPA เพื่อให้แน่ใจว่าสหรัฐฯ ยังคงครองตำแหน่ง ผู้นำโลกในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไปตราบนานเท่านาน
Arun Majumdar ผู้อำนวยการของ ARPA-E จะกล่าวถึงอนาคตของสำนักวิจัยแห่งใหม่นี้และโครงการต่างๆ ที่ทำอยู่ จะช่วยกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานสะอาดได้อย่างไร
เราควรรุกหนักเพียงใดกับการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้า
หนึ่งในภารกิจเป้าหมายของเราคือ เพิ่มพูนความมั่นคงด้านพลังงานและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการลดการนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งเป็นพลังงานที่เราต้องซื้อจากต่างประเทศมากที่สุด ผมคิดว่าเราควรรุกหนักในการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม คิดว่าเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในก็คงจะยังใช้กันอยู่ต่อไป อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้า ก็คือแบตเตอรี่ที่จะเป็นแหล่งพลังงานแทนน้ำมัน ปัญหาอยู่ที่ความหนาแน่นของพลังงานในแบตเตอรี่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ความหนาแน่นของพลังงานแบตเตอรี่ หมายถึงแบตเตอรี่มีความสามารถเก็บกักพลังงานได้มากเพียงใดในจำนวนที่แน่นอนและแบตเตอรี่ที่ทำจากลิเทียมไอออนยังคงมีราคาแพง ถ้าเปรียบกับการเตะบอล แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนก็เปรียบเหมือน การเล่นแบบเลี้ยงลูกไปเรื่อยๆ แต่คุณจำเป็นต้องส่งต่อบอล
จะส่งต่อบอลได้อย่างไร
เรากำลังลงทุนวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่สารพัดแบบ ตั้งแต่แบตเตอรี่แบบ zinc-air แบบแม็กนีเซียมไอออน แบบ lithium-air แบบลิเทียม-กำมะถัน และอื่นๆ เรายังไม่รู้ว่าแบบไหนที่จะใช้ได้จริงๆ จึงเสี่ยงเกินไปที่จะให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน รัฐจึงต้องลงทุนเองและหวังว่าจะสามารถพัฒนาแบตเตอรี่ที่พร้อมสำหรับธุรกิจ แล้วจึงให้ภาคเอกชนมานำไปต่อยอด
เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานสะอาด สหรัฐฯ จัดอยู่ในระดับใด เมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำ
อื่นๆ
จีนกำลังรุกหนักในเรื่องนี้ และกำลังวางโครงสร้างพื้นฐานด้าน พลังงานสะอาดอย่างขะมักเขม้น แต่ผมยังเชื่อว่า สหรัฐฯ ยังนำหน้าอยู่ในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาและการสร้างนวัตกรรม แต่ในแง่ของการนำไปใช้แล้ว จีนอาจนับว่าเป็นประเทศที่นำเทคโนโลยีพลังงาน สะอาดไปใช้อย่างจริงจังมากที่สุดในโลก แต่ผมกลับเห็นว่า การที่จีนกำลังวางโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดนั้น เป็นการสร้างโอกาส อันใหญ่หลวงให้สหรัฐฯ เราควรจะคว้าโอกาสนั้นเอาไว้ ด้วยการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านพลังงานสะอาด โดยสำนักวิจัย ARPA-E จะรับหน้าที่นั้น และผลิตเทคโนโลยีใหม่เหล่านั้นในสหรัฐฯ เพื่อขายให้ประเทศอย่างจีน อินเดีย บราซิลและแอฟริกาใต้
ถ้าเป็นอย่างนั้น จะสามารถช่วยผู้ผลิตในสหรัฐฯ และจะช่วยสร้าง งานในสหรัฐฯ ได้มากน้อยเพียงใด
นี่เป็นโอกาสที่ใหญ่มาก ถ้าเราสามารถสร้างแบตเตอรี่ที่ดีกว่า 10 เท่า ทั้งในด้านราคาและประสิทธิภาพ แล้วผลิตในประเทศของเรา นี่ก็คือโอกาส ก็เหมือนกับที่เราเคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับอุตสาหกรรมชิปคอมพิวเตอร์ ตอนนี้ทุกคนมีชิป Intel อยู่ในคอมพิวเตอร์ แทบทุกเครื่องในโลก แบตเตอรี่ก็เช่นกัน เราสามารถจะมีแบตเตอรี่ของเราอยู่ในรถยนต์พลังไฟฟ้าในอนาคต นี่คือตลาดที่ใหญ่มากระดับ โลก และยังไม่มีใครเลยที่มีแบตเตอรี่แบบนั้น
งานเหล่านั้นจะอยู่ในสหรัฐฯ หรือไม่
นี่เป็นคำถามที่ยาก ผมไม่เคยห่วงว่าเราจะสร้างนวัตกรรม ได้สำเร็จหรือไม่ ผมรู้ว่าเราทำได้ ที่ผมวิตกมันจะแพร่ไปยังที่อื่นๆ ในโลกด้วย เราจะต้องเก็บรักษานวัตกรรมเหล่านั้นไว้ในประเทศของเรา และใช้มันสร้างงานใหม่ในด้านพลังงานสะอาด รัฐบาลของเราเป็นผู้ซื้อพลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก ถ้าเราเอาเงินส่วนนี้ ที่หมดไปกับการซื้อพลังงาน มาสร้างเป็นฐานสำหรับดึงพลังงานสะอาดเข้ามาสู่ตลาดและสร้างความต้องการบริโภคขึ้นมา นั่นจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะทำให้บริษัทที่กำลังอุตสาหะสร้างสรรค์ นวัตกรรมอยู่ในขณะนี้ สร้างโรงงานขึ้นที่สหรัฐฯ
รัฐสภาสหรัฐฯ ควรจะลงทุนในสำนักวิจัยของท่านมากน้อยเท่าใด จึงจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ ARPA-E ก่อตั้งขึ้นมาตามอย่าง DARPA ซึ่งเริ่มก่อตั้งในปี 1958 แต่กว่าจะได้รับงบประมาณครั้งแรกก็ถึงปี 1962 DARPA ได้รับงบประมาณ 246 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าเทียบเป็นเงินตอนนี้ก็คงมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์
แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ไทม์
|
|
 |
|
|