Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553
ศึกชิงเจ้าแบตเตอรี่รถพลังงานไฟฟ้า             
 


   
search resources

Battery




แบตเตอรี่สำหรับรถพลังงานไฟฟ้ายังคงมีราคาแพงและประสิทธิภาพต่ำก่อให้เกิดศึกชิงความเป็นเจ้าในการพัฒนาแบตเตอรี่

น้ำกรดแบตเตอรี่ดื่มได้ ไม่ใช่เรื่องที่เกินความจริง ในยุคของการแข่งขันอันดุเดือด เพื่อพัฒนาแบตเตอรี่ที่ดีที่สุดสำหรับใช้กับรถพลังงานไฟฟ้าในอนาคต Wang Chuanfu อภิมหาเศรษฐีจีน ผู้ก่อตั้งบริษัทรถยนต์ BYD ลงทุนโชว์การดื่มน้ำยาอิเล็กโตรไลท์ไร้พิษ หรือน้ำกรดแบตเตอรี่แบบสดๆ ต่อหน้านักข่าว ในการแถลง อวดความคืบหน้าการผลิตแบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100%

ฟังดูดีทีเดียว หวังว่ารสชาติของน้ำกรดนั่นคงจะไม่เลวนัก แต่ว่าแบตเตอรี่ที่ BYD กำลังพัฒนาในขั้นทดลองนี้ จะดีพอสำหรับ การเป็นแหล่งพลังงานของรถพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ในอนาคตได้หรือไม่ ยังต้องดูกันต่อไป

รถพลังงานไฟฟ้าแบบ plug-in คือเสียบปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่ ได้ทันที รุ่นแรกที่กำลังจะออกสู่ตลาดในอีกไม่นานนี้ ถูกตั้งความหวังไว้สูงมาก อย่างเช่น Chevy Volt และ Toyota Prius แบบ plug-in เต็มรูปแบบรุ่นใหม่ กำลังจะออกจำหน่ายปลายปีนี้

แต่การพัฒนาประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานของรถเหล่านี้ กลับยังไม่ไปถึงไหน ทุกวันนี้ แบตเตอรี่ของรถพลังไฟฟ้ายังคงใช้เทคโนโลยีลิเทียมไอออนเหมือนเมื่อ 20 ปีก่อน ตั้งแต่เริ่มพัฒนาแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนครั้งแรกในยุคต้นทศวรรษ 90 ซ้ำยังมีราคาแพงเหมือนเดิม แต่ประสิทธิภาพต่ำ ราคาของแบตเตอรี่คิดเป็นต้นทุนถึง 1 ใน 3 ของต้นทุนการผลิตรถทั้งคัน แต่กลับวิ่งได้ระยะทางเพียงปานกลางเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของรถไฮบริด Toyota Prius ซึ่งได้กลายเป็นรถที่ยกระดับสถานภาพในแคลิฟอร์เนียและอีกหลายแห่งในสหรัฐฯ ได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงฮึดครั้งใหม่ ในการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถพลังงานไฟฟ้าในช่วง 2-3 ปีมานี้ เป้าหมายคือการผลิตแบตเตอรี่ที่มีราคาถูก

นักวิเคราะห์ชี้ว่า หากแบตเตอรี่มีราคาถูกลงจากราคาเฉลี่ย 16,000 ดอลลาร์ เหลือประมาณ 6,000 ดอลลาร์ จะทำให้คนเปลี่ยนใจหันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 30% ทันที

ความเป็นไปได้ที่จะเกิดตลาดใหม่ของผู้ใช้รถพลังงานสะอาด บวกกับแรงหนุนจากรัฐบาลประธานาธิบดี Obama ซึ่งยอมทุ่มงบประมาณ 2,400 ล้านดอลลาร์ ให้กับการวิจัยแบตเตอรี่ สำหรับรถพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้บริษัททั้งหลายต่างแข่งกันทุ่มเททรัพยากรไปกับการวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่

ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหน้าใหม่อย่าง A123 และ Ener1 จากนิวยอร์ก ไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Johnson Controls-Saft บริษัทร่วมทุนสหรัฐฯ-ฝรั่งเศส และเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด รวมถึงยักษ์ใหญ่จากเอเชียอย่าง BYD ของจีน เจ้าของน้ำกรดแบตเตอรี่ที่ดื่มได้

บริษัทเหล่านี้ยังมีการจับมือเป็นพันธมิตรกันด้วย อเมริกัน ตกลงจับมือพัฒนาแบตเตอรี่ร่วมกับค่ายรถตะวันตกด้วยกันอย่าง GM และ BMW ส่วนเอเชียก็จับมือกันเองอย่าง Toyota, Nissan และ Honda ซึ่งเป็นหัวหอกบุกเบิกรถไฮบริด รถลูกครึ่งที่ใช้ผสม กันทั้งน้ำมันและไฟฟ้า

BYD ซึ่งมีทุนหนาและได้รับแรงหนุนจากรัฐบาลจีนเต็มที่ เป็นหนึ่งในบริษัทที่แข็งแกร่งที่สุด และมุ่งมั่นจะพัฒนาแบตเตอรี่รถพลังงานไฟฟ้าที่ดีที่สุดโลก

ก่อนหน้านี้ BYD สามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลที่ ระดับประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี จากการผลิตโทรศัพท์ มือถือแบบใช้แล้วทิ้ง และการผลิตรถราคาประหยัด

หากประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ BYD แหวกโมเดลธุรกิจของจีนที่ มักอาศัยการมีแรงงานราคาถูกเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลของการวิจัย

BYD ลงทุนว่าจ้างวิศวกรระดับปริญญาตรีกว่า 10,000 คน มาทำงานในสายการวิจัยและพัฒนา และในปี 2008 BYD ก็กลายเป็นผู้ผลิตรถพลังงานไฟฟ้าแบบ plug-in เชิงพาณิชย์คันแรก ของโลก

ขณะที่เมื่อไม่นานมานี้ BYD ยังได้อ้างว่าพวกเขาค้นพบ ความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่รถพลังไฟฟ้า ด้วยการพัฒนาสารลิเทียมไอออนเฟอร์รัสฟอสเฟต (lithiumion ferrous phosphate) ซึ่งทำให้ชาร์จแบตเตอรี่ได้เร็วขึ้นและใช้แบตเตอรี่ได้นานขึ้น

แม้คำกล่าวอ้างของ BYD ยากจะพิสูจน์ แต่คนหนึ่งที่ "ซื้อ" คำกล่าวอ้างนี้คือ Warren Buffet นักลงทุนชื่อก้องโลก ซึ่งเพิ่งซื้อหุ้น 10% ใน BYD ไปหมาดๆ

อย่างไรก็ตาม แม้จีนจะออกตัวแรง แต่สหรัฐฯ ยังคงนำหน้าในการวิจัยพื้นฐาน Argonne National Laboratory ในอิลลินอยส์ เพิ่งจดสิทธิบัตรทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายใบ ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถพลังไฟฟ้าในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์จาก Stanford เพิ่งค้นพบเมื่อปีที่แล้วว่า หากแทนที่กราไฟต์ อิเล็คโตรดในแบตเตอรี่ที่ทำจากลิเทียมด้วยซิลิกอนนาโนทูบ จะทำให้แบตเตอรี่เก็บกักพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึง 10 เท่า

ส่วนบริษัทเกิดใหม่อย่าง Better Place ในเมือง Palo Alto ในแคลิฟอร์เนีย หาทางเลี่ยงปัญหารถพลังไฟฟ้าวิ่งได้ไม่ไกล เนื่อง จากแบตเตอรี่หมดเร็ว ด้วยการสร้างเครือข่ายสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ในอิสราเอลและฮาวาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่และขับรถต่อไปได้ทันที

โครงการนี้ยังอยู่ในขั้นทดลอง และไม่ต้องถึงกับลงทุนโชว์การดื่มน้ำกรดแบตเตอรี่ต่อหน้านักข่าว

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ไทม์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us