|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กลยุทธ์การพัฒนาด้านการสร้างแบรนด์ระดับสากลภายใต้แนวคิด Branding Taiwan กำลังจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้ไต้หวันก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ขณะเดียวกันยังกำหนดเป้าหมายที่จะก้าวเป็นอันดับสามของโลกในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย
จัสติน ไท ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทย ระบุว่าไต้หวันถือเป็นประเทศผู้ผลิตนวัตกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยยอดการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลของไต้หวันมีส่วนแบ่งในตลาดโลกมากถึงเกือบร้อยละ 75 ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลไต้หวันได้ทำข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ระหว่างไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนสำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกลของไต้หวัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-สิงหาคม 2553) ประเทศไทยนำเข้าสินค้าเครื่องมือเครื่องจักรจากไต้หวันสูงขึ้น 69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดการนำเข้าคิดเป็น 74.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเครื่องกลึงและเครื่องตัดเหล็กถือเป็นสินค้าที่มียอดการเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 224%
"กระทรวงเศษรฐกิจไต้หวันมุ่งมั่นผลักดันอุตสาหกรรมของไต้หวันให้มีการพัฒนาด้านการสร้างแบรนด์ระดับสากลและสร้างบรรยากาศในการเจริญเติบโตแก่ภาคอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี 2549 ภายใต้แนวคิด Branding Taiwan ได้การตอบรับอย่างดี"
การเปิดตัวผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลของผู้ประกอบการไต้หวันในงาน METALEX 2010 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องจักรจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรแห่งไต้หวัน ปัจจุบันมีสมาชิก 2,376 ราย ในทุก กลุ่มธุรกิจหลัก รวมถึงผู้แทนจำหน่ายและผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องมือและเครื่องจักรกลของไต้หวันที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกคือเครื่องตัดเหล็ก เครื่องกลึง และเครื่องตั้งศูนย์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมกันถึง 70% ของยอดส่งออกทั้งหมด ซึ่งเครื่องกลึงเติบโต 23% เครื่องตั้งศูนย์เติบโต 16.5% ต่อปีตามลำดับ
"ในระหว่างปี 2553-2558 ไต้หวันคาดว่าจะสามารถส่งออกเครื่องตั้งศูนย์ได้ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องกลึง 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เครื่องหล่อโลหะ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเครื่องเจาะแบบหลายแฉก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ" จัสติน ไท ระบุ ทั้งนี้ในปี 2553 นี้ คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเครื่องมือและเครื่องจักรกลของไต้หวันจะมีมูลค่ารวมการผลิตสูงถึง 4 พันล้าน เหรียญสหรัฐ หรือเติบโตประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวได้เกินร้อยละ 20 ซึ่งจะส่งผลให้ไต้หวันเป็นประเทศ ผู้ผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก
นอกจากนี้ ไต้หวันยังตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2558 จะสามารถผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกลให้ได้มูลค่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบได้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากญี่ปุ่นและเยอรมนี ทั้งนี้ในระหว่างปี 2553-2558 คาดว่าจะสามารถส่งออกผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกลไปยังประเทศจีนได้ 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากจีนถือเป็น ตลาดใหญ่ที่สุดของไต้หวัน
ส่วนการส่งออกไปยังยุโรปตะวันตกถือเป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับสองโดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน ขณะที่ทางกลุ่มประเทศในแถบยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือและประเทศทางแถบภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย ก็ถือเป็นตลาดสำคัญที่จะสามารถส่งออกสินค้าไปได้โดยมีมูลค่ากว่า 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
|
|
|
|
|